• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 17 เมษายน 2563

    17 เมษายน 2563 | Economic News

สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 2,185,938 ราย

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 146,969 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 678,210 ราย (+640) และมีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของโลกที่ระดับ 34,641 ราย (+24)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 184,948 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 19,315 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 168,941 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 22,170 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,700 ราย (+28) และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึนรวมสะสม 47 ราย (+1)



·       ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงท่ามกลางรายงานข่าวเกี่ยวกับการทดสอบตัวยารักษา COVID-19 ที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงแนวโน้มที่รัฐบาลสหรัฐฯจะกลับมาเปิดเศรษฐกิจในเร็วๆนี้ จึงหนุนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงให้ฟื้นกลับมาอีกครั้ง

การแข็งค่าของสินทรัพย์เสี่ยงนำโดยค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ที่แข็งค่าขึ้นกว่า 1% ขณะที่ค่าเงินปอนด์และยูโรก็สามารถฟื้นตัวขึ้นปิดส่วนที่อ่อนค่าลงในช่วง 2 วันที่ผ่านมาได้

ตลาดมีมุมมองต่อสถานการณ์ไวรัสดีขึ้น หลังจากมีรายงานว่ามีกระบวนการทดลองทางคลินิกด้วยการให้ยา Remdesivir ของสถาบัน Gilead’s กับผู้ป่วยจำนวน 125 ราย และผู้ป่วยเกือบทั้งหมดสามารถฟื้นตัวและออกจากโรงพยาบาลได้

ด้านค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินยูโรและปอนด์ อ่อนค่าลงแถว 1.0874 ดอลลาร์/ยูโร และ 1.2500 ดอลลาร์/ปอนด์ ตามลำดับ ขณะที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินเยนแถว 107.70 เยน/ดอลลาร์

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์แข็งค่าแถว 0.6367 และ 0.6019 ดอลลาร์ ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.1% แต่ภาพรวมรายสัปดาห์มีแนวโน้มปิดแดนบวกได้ 0.3% จึงอาจนับเป็นการเคลื่อนไหวรายสัปดาห์ที่น้อยที่สุดตั้งแต่เดือน ก.พ.

 

·       EUR/USD short-term technical outlook

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรมีการปรับขึ้นเหนือระดับ 61.8% Retracement วันจากกรอบขาขึ้นในเดือน มี.ค. ที่ระดับ 1.0830 ดอลลาร์/ยูโร ล่าสุดกำลังเคลื่อนไหวเหนือระดับดังกล่าวขึ้นเล็กน้อย แต่ค่าเงินมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลง โดยในกราฟราย 4 ช.ม. ค่าเงินกำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยทั้งหมด โดยที่เส้นราย 20 วันดูจะมีทิศทางขาลงที่แข็งแกร่งขึ้น ขณะที่เครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆต่างเคลื่อนไหวในแดนลบ ส่วนเส้น RSI อยู่ในแดน Oversold เมื่อพิจารณาจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น จึงสรุปได้ว่าค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนค่าลงภายในวันนี้

แนวรับ: 1.0830 1.0800 1.0765

แนวต้าน: 1.0860 1.0890 1.0925

 

·       GBP/USD short-term technical outlook

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่า ค่าเงินปอนด์ในช่วงสานวันนี้กำลังเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 1.2515 ดอลลาร์/ปอนด์ และเริ่มมีแนวโน้มของทิศทางขาลงที่แข็งแกร่งขึ้น ขณะที่กราฟราย 4 ช.ม. แสดงให้เห็นว่าราคาเคลื่อนไหวค่อนข้างใกล้เส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วัน แต่ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวกว่าได้ ทางด้านสัญญาณทางเทคนิคเริ่มชี้ไปในฝั่งขาลงมากขึ้น แต่การเคลื่อนไหวในฝั่งขาลงวันนี้อาจเป็นไปอย่างจำกัด โดยคาดว่าหากค่าเงินย่อตัวหลุด 1.2405 ดอลลาร์/ปอนด์ อาจทำให้ค่าเงินย่อตัวลงแรง

แนวรับ: 1.2405 1.2370 1.2320

แนวต้าน: 1.2465 1.2515 1.2550

 

·       ปธ.เฟดมินนีแอโปลิส เห็นด้วยกับแนวคิดเปิดเศรษฐกิจสหรัฐฯ

นายนีล คาชคาริ ประธานเฟดสาขามินนีแอโปลิส กล่าวว่าแนวคิดที่จะกลับมาเปิดเศรษฐกิจเศรษฐกิจภายในปลายเดือนนี้ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีความเป็นไปได้ เนื่องจากช่วงเวลาที่รัฐบาลตั้งใจจะกลับมาเปิดเศรษฐกิจมีความสอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ และทางสหรัฐฯก็มีวิธีในการกลับมาเปิดเศรษฐกิจอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาด ของไวรัสเป็นระลอกที่ 2

 

·       รายงานจาก Reuters ระบุว่ารัฐบาลญี่ปุ่นกำลังเล็งเริ่มต้นนโยบายจ่ายเงินเยียวยาประชาชนภายในเดือนหน้า หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศขยายเวลา Shutdown ออกไปก่อนหน้านี้ โดยเบื้องต้นรัฐบาลได้พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ ครัวเรือนละ 300,000 เยน ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะพิจารณานโยบายใหม่และตกลงที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนทุกคนคนละ 100,000 เยน

 

·       ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวผสมผสานกันหลังการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาอ่อนกว่าที่คาดอันเป็นผลกระทบมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แม้ในช่วงต้นตลาดราคาน้ำมันจะฟื้นตัวขึ้นได้เนื่องจากความหวังว่าสหรัฐฯจะกลับมาเปิดเศรษฐกิตตามถ้อยแถลงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 0.66 เหรียญ หรือประมาณ +2.4% แถว 28.48 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบวันที่ 21 เดือน เม.ย. ปรับลง 0.47 เหรียญ หรือประมาณ -2.4% แถว 19.40 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบวันที่ 21 เดือน มิ.ย. ที่มีปริมาณซื้อขายหนาแน่นกว่า ปรับขึ้น 0.74 เหรียญ หรือประมาณ +2.9% แถว 26.27 เหรียญ/บาร์เรล

 

·       WTI ร่วง หลังจีนรายงานยอด GDP หดตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1992

ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 30 เซ็นต์ หลังจากจีนรายงานยอด GDP ในไตรมาสที่ 1/2020 หดตัว 6.8% ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ GDP รายไตรมาสหดตัวนับตั้งแต่ปี 1992 ขณะที่การรายงานอัตราการผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกในประเทศก็ออกมาไม่สดใสเช่นกัน

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จาก FX Street ประเมินว่าราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะเผชิญแรงกดดันต่อ เนื่องจากภาพรวมอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกยังคงอ่อนแอจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส ขณะที่ทางกลุ่ม OPEC+ นำโดยรัสเซียและซาอุดิอาระเบียสามารถหาข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตลง 9.7 ล้านบาร์เรล/วันได้ แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างมองว่า มาตรการดังกล่าวจะไม่เพียงพอสำหรับการปรับสมดุลในตลาดน้ำมัน

Technical levels

แนวรับ: $19.53 (แนวรับของกราฟราย ช.ม.), $19.16 (ระดับต่ำสุด 15 เม.ย.)

Resistance: $20.32 (จุดสูงยกต่ำในกราฟราย ช.ม.), $20.66 (แนวต้านและระดับสูงสุดของวันที่ 15 เม.ย.).


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com