• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 16 เมษายน 2563

    16 เมษายน 2563 | Economic News


·         
สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 2,083,033

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 134,603 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 644,089 ราย และมีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของโลกที่ระดับ 28,529 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 180,659 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 18,812 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 165,155 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 21,645 ราย

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,643 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมสะสม 43 ราย


นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯได้ผ่านจุดที่พีคที่สุดของการระบาดของไวรัสโคโรนาไปแล้ว และมีประชาชนในสหรัฐฯติดเชื้อไปกว่า 632,000 ราย จึงค่อนข้างแน่ชัดว่าการใช้กลยุทธ์ที่เข้มงวดได้ผลลัพธ์ที่ดี ขณะที่ข้อมูลส่วนใหญ่ก็ยังบ่งชี้ไปทางเดียวกันว่านานาประเทศเริ่มมีการผ่านจุดสูงสุดสำหรับกรณีการติดเชื้อใหม่เป็นที่เรียบร้อย

นอกจากนี้ นายทรัมป์ ยังกล่าวถึงรัฐนิวยอร์กที่มีการปรับตัวลดลงด้วยเช่นกัน จึงถือเป็นสัญญาณที่ดีเป็นอย่างมาก และภาพรวมบางรัฐในสหรัฐฯก็ดูดีขึ้น  ไม่น้อยกว่า 20 รัฐ ซึ่งถือว่าดีเป็นอย่างมาก และจะนำไปสู่การกลับมาเปิดทำการทางเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยคาดจะเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนในคืนนี้

- องค์การอนามัยโลกหรือ WHO แสดงความเสียใจที่นายทรัมป์ตัดสินใจจะระงับการสนับสนุนกองทุน โดยระบุว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ทั่วโลกต้องสามัคคีกันเพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนา

- นางอังเกลาร์ แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เผยถึงความสำเร็จในการต่อสู้กับไวรัสโคโรนา ดังนั้นจึงมีแนวโน้มจะค่อยๆผ่อนปรนภาวะ Lockdown ของประเทศ โดยจะเริ่มกลับมาเปิดทำการในส่วนของร้านค้าบางส่วนในสัปดาห์หน้า และโรงเรียนจะเริ่มปิดทำการได้ตั้งแต่ 4 พ.ค. เป็นต้นไป ขณะที่นโยบาย Social Distancing จะยังคงมีอยู่ในเวลานี้จนถึง 3 พ.ค. และคณะรัฐบาลมีแผนจะประชุมร่วมกันในวันที่ 30 เม.ย.นี้ เพื่อทบทวนแนวทางการดำเนินการต่อไปหลังวันที่ 3 พ.ค.

- อังกฤษเองก็มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าจุดพีคไปแล้ว แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่างๆ พร้อมกล่าวเตือนหลายๆประเทศที่ต้องการยุติมาตรการดังกล่าวที่อาจทำให้อัตราการเสียชีวิตในยุโรปอาจยิ่งเลวร้ายมากกว่านี้จากการดำเนินการที่ล้มเหลวของภาครัฐ

- ธนาคารกลางแคนาดา กล่าวว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะสร้างผลกระทบครั้งใหญ่ต่อการเติบโตในระยะสั้นๆ แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะสามารถกลับมาขับเคลื่อนได้ในช่วงเดือนมิ.ย. นี้

- อียูเรียกร้องให้หลายๆประเทศค่อยๆปรับนโยบายในการถอนมาตรการ Lockdown ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในแถบยุโรปที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง

เนื่องจากคณะกรรมาธิการอียูมองว่า การจะยกเลิกหรือผ่อนปรนมาตรการใดๆที่ต่อกรกับไวรัสโคโรนาควรเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเป็นการทยอยเปิดทำการ ไม่ควรทำการเปิดพร้อมกันทั้งหมด สอดคล้องกับแถลงการณ์คำแนะนำของ WHO เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก The Economist Intelligence Unit กล่าวว่า มีจำนวนประเทศที่เพิ่มมากขึ้นที่จะเผชิญกับภาวะผิดนัดชำระหนี้ในช่วง 12-18 เดือนจากนี้ จากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพื่อพยุงเศรษฐกิจและผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะกลับมาเห็นยูโรโซนเผชิญกับวิกฤตหนี้สินอย่างที่เคยเกิดในกรีซหรืออิตาลี และดูเหมือนประเทศพวกนั้นจะกลับมาเป็นศูนย์กลางของเรื่องทั้งหมดเช่นเดิม

ขณะที่แอฟริกาใต้ รวมทั้งบราซิลเองก็มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

- Citigroup Inc. เผยรายงานผลประกอบการรายไตรมาสที่ร่วงลงไปกว่า 46% วานนี้ พร้อมคาดว่าจะยิ่งเห็นธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมบัตรเครดิตพบการขาดทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการใช้จ่ายของประชาชนที่ลดส่งผลให้ภาพทางเศรษฐกิจยิ่งไม่สดใส

- ญี่ปุ่นเรียกร้องให้ประชาชนกักตัวอยู่ในที่พักอาศัย พร้อมเตือนว่าอาจมีคนต้องเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาเกินกว่า 400,000 รายได้หากยังไม่ยอมที่จะทำตามมาตรการอย่างฉุกเฉิน

 

·         ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นแม้ว่าข้อมูลยอดค้าปลีกและการผลิตในเขตนิวยอร์กของสหรัฐฯจะไม่สดใส  ท่ามกลางนักลงทุนที่หันเข้าถือครองดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven จากกังวลไวรัสโคโรนาจะยิ่งบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก และอาจกินเวลานาน

ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.6% และไปทำสูงสุดเมื่อวานแถว 99.98 จุด จากช่วงเช้าที่อยู่เหนือระดับ 98.3 จุด

 

·         ยอดค้าปลีกสหรัฐฯในเดือนมี.ค. ออกมาแย่อย่างมากท่ามกลางผลผลิตภาคโรงงานที่ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1946 ส่งผลให้บรรดานักวิเคราะห์กล่าวเป็นเสียงเดียวกันถึงมุมมองทางเศรษฐกิจที่จะหดตัวหนักในไตรมาสแรกในรอบกว่า 10 ปี โดยได้รับผลกระทบหลักจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกสหรัฐฯหดตัวลงมากถึง -8.7% ถือเป็นการร่วงลงมากที่สุดตั้งแต่ที่เริ่มเก็บข้อมูลในปี 1992 โดยที่ยอดขายในเดือนมี.ค. ลดลงไปมากถึง 4.62 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งปรับตัวลงใกล้ช่วงที่เกิดวิกฤต Great Recession ที่มียอดขายร่วงลงมากถึง 4.91 หมื่นล้านเหรียญ

สำหรับเมื่อวานนี้ รายงาน Beige Book ของเฟด สะท้อนว่ากิจกรรมทางธุรกิจทั่วโลกเผชิญภาวะหดตัวลงอย่างหนัก ตลอดจนทั่วทุกภูมิภาคของสหรัฐฯ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

·         รายงานจาก CNBC ระบุว่า ข้อมุลเศรษฐกิจที่ออกมาแย่เป็นเท่าตัวในสหรัฐฯ สะท้อนเป็นอย่างดีถึงภาวการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนกลุ่มผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ออกมาแย่กว่าที่คาดอย่างมาก และน่าจะส่งผลถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆในเดือนเม.ย.ให้ไปในทิศทางเดียวกัน อันเนื่องจากการ Shutdown บางแห่งที่คิดเป็นกว่า 90% ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ


หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก MUFG Union Bank กล่าวว่า ค่อนข้างชัดเจนว่าเศรษฐกิจได้รับผลกระทบหนัก ขณะเดียวกันจะเห็นได้ถึงการไม่มีผู้ซื้อสินค้า ทำให้ยอดขายรถที่ร่วงลงไปกว่า 25.6% ยอดขายเฟอร์นิเจอร์ลดลง 26.8% ขณะที่อาหารและเครื่องดื่มปรับลงไป 26.5%

นอกจากนี้ ยังบ่งชี้ถึงการเริ่มต้นที่ไม่ดีในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ที่อาจลามไปยังไตรมาสที่ 2 จึงทำให้เราเห็นนักเศรษฐศาสตร์หลายรายคาดว่าจีดีพีไตรมาสที่ 2 อาจร่วงลงกว่า 30% ได้ นำโดย JPMorgan ที่คาดอาจเห็นจีดีพีสหรัฐฯร่วงลงไปกว่า 40% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งมากกว่าของช่วงไตรมาสแรกที่คาดว่าจะปรับลงกว่า 10%

·         ผลสำรวจจากรอยเตอร์ส ชี้ว่า ความเชื่อมั่นทางภาคธุรกิจของญี่ปุ่นไม่สดใสและทำระดับต่ำสุดใหม่ในรอบกว่า 10 ปีในเดือนเม.ย.นี้ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่คุกคามการเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้เศรษฐกิจโลกก้าวสู่ภาวะถดถอย อันเนื่องจากภาวะ Lockdown, อุปสรรคของห่วงโซ่อุปทาน และการระงับภาคบริการและการผลิตชั่วคราวที่เกิดขึ้นทั่วโลก

·         ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลงทำต่ำสุดในรอบกว่า 18 ปี ท่ามกลางรายงานาที่ไม่สดใสเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด ประกอบกับอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา และการ Lockdown ที่เป็นปัจจัยลบต่อราคาน้ำมัน

ท่ามกลาง IEA ที่เผยคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบสหรัฐฯจะอยู่ที่ 29 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบ 25 ปี พร้อมกล่าวว่าการปรับลดกำลังการผลิตที่เกิดก็อาจช่วยชดเชยการปรับลงของราคาในตลาดได้แค่ระยะสั้นๆ

น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับลง 1.91 เหรียญ หรือคิดเป็น -6.45% ที่ระดับ 27.69 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน WTI ปิดปรับลง 24 เซนต์ หรือ -1.19% ที่ 19.87 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งถือเป็นการปิดต่ำสุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2002

นอกจากนี้ IEA ยังเผยรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่พุ่งขึ้นเกินคาดกว่า 19.2 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com