• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 15 เมษายน 2563

    15 เมษายน 2563 | Economic News


สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 1,997,666

Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 126,597 ราย

Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 613,886 ราย (+26,945) และมีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของโลกที่ระดับ 26,047 ราย (+2,407)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 174,060 ราย (+3,961) ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 18,255 ราย (+499)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 162,488 ราย (+2,972) ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 21,067 ราย (+602)

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,613 ราย (+34) และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ราย รวมสะสม 41 ราย



- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แสดงความเชื่อว่าในบางรัฐของสหรัฐฯจะสามารถถอนมาตรการเว้นระยะทางสังคมได้เพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ก่อนสิ้นเดือนเม.ย. โดยแผนการกลับมาเปิดทำการในสหรัฐฯเข้าใกล้ขั้นสุดท้ายแล้ว และจากการพูดคุยกับผู้ว่าการรัฐทั้ง 50 แห่ง พบว่าแต่ละพื้นที่ก็พร้อมจะทำการกลับมาเปิดทำการ แม้ว่าบางแห่งจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันแต่ก็เชื่อว่าจะอาจเปิดทำการได้ก่อน 1 พ.ค. นี้

นอกจากนี้ นายทรัมป์ ยังเผยถึงการพิจารณาเรื่องการรับมือเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO โดยเขาอาจทำการระงับเงินแก่กองทุนดังกล่าว เนื่องจากมีการดำเนินการที่ผิดพลาดอันนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก และการระบาดกระจายไปทั่วโลก


- องค์การ IMF เผยถึงงบช่วยเหลือ 1 ล้านล้านเหรียญแก่ประเทศสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF เผยถึง ประเทศสมาชิก 100 ประเทศจาก 189 ประเทศ มีรายได้ต่ำดังนั้นอาจจำเป็นต้องมีการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจอาจจะยิ่งทำให้เกิดภาวะที่ยากลำบากมากขึ้น

ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจโลกปีนี้ดูจะได้รับผลกระทบของวิกฤตทางการเงินที่แย่ที่สุดตั้งแต่ที่เคยเกิดวิกฤตทางการเงิน Great Depression ในปี 1930 อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ดูจะทำให้เศรษฐกิจโลกปีนี้หดตัวลง 3% น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนม.ค. ว่าจีดีพีโลกจะโตได้ 3.3%

ทั้งนี้ เมื่อช่วงเดือนม.ค. IMF คาดว่า จีดีพีปี 2021 จะโตได้ 3.4% แต่ขณะนี้มีการปรับทบทวนมาที่ 5.8% แม้ว่าจะมองว่าปี 2020 เศรษฐกิจโลกจะหดตัวก็ตาม

อย่างไรก็ดี หลายๆสถาบันต่างออกมาคาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาจะเป็นปัจจัยที่สร้างความท้าทายต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แม้แต่ WTO เองในสัปดาห์ที่แล้ว ก็มองว่าการค้าโลกจะหดตัวลงไประหว่าง 13% - 32% ในปีนี้ และยังเตือนเรื่องเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบเป็นเวลานาน ท่ามกลางภาครัฐหลายแห่งทั่วโลกมีการประกาศใช้มาตรการ Lockdown ที่อนุญาตให้ประชาชนออกจากที่พักอาศัยตามจำเป็นเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนี้กลายเป็นสภาวะ Great Lockdown ไม่เหมือนในวิกฤตอื่นๆ จึงทำให้กระทบต่อภาวะกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไม่เคยมีมาก่อน

สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ IMF คาดว่าจะหดตัวลงไปถึง 5% ในปีนี้ แต่ยูโรโซนดูจะหนักกว่ามีโอกาสจีดีพีจะหดตัวลงมากถึง 7.5% ขณะที่จีนน่าจะโตได้แค่ 1.2% ปีนี้

ด้านสถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังคงเผชิญกับความลำบาก โดยเฉพาะในอิตาลีและสเปน ที่คาดว่าจีดีพีจะหดตัวลงไปมากถึง 9.1% และ 8% ตามลำดับ และถือเป็น 2 ประเทศที่ย่ำแย่ที่สุดในยูโรโซนด้วยอัตราการติดเชื้อเสียชีวิตที่มากเกินประเทศจีนไปแล้


- กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เผยว่า สายการบินหลักต่างๆในสหรัฐฯเห็นพ้องกับวงเงินช่วยเหลือ 2.5 หมื่นล้านเหรียญ เพื่อให้แรงงานภาคการบินยังคงได้รับเงินเดือนจนถึงต.ค. ขณะที่แรงงานภาคอุตสาหกรรมดูจะได้รับผลลัพธ์ที่ใหญ่ที่สุด

ทั้งนี้ ภาคการบินในสหรัฐฯมีอุปสงค์ลดลงไป 95% ท่ามกลางวิกฤตไวรัสดังกล่าว แต่คาดว่าจะสามารถเริ่มต้นกลับมาฟื้นตัวได้ดีในเดือนต.ค. แต่ก็ยังคงกังวลว่าเที่ยวบินอาจชะลอตัวจากมาตรการการจำกัดการเดินทางที่มีแนวโน้มจะขยายออกไปนานขึ้น


· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงวานนี้ท่ามกลางความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้นขานรับข้อมูลการค้าจีนที่ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ จึงช่วยลดความกังวลต่อผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาไปได้บ้าง และทำให้ความต้องการดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ลดลง

ข้อมูลยอดส่งออกจีนปรับตัวลง 6.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยออกมาดีขึ้นกว่าที่คาดว่าจะหดตัวลงไปมากถึง 14% ขณะที่ยอนนำเข้าลดลงกว่า 1% ดีกว่าที่คาดว่าจะร่วงลงไปมากถึง 9.5%

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงมา 0.5% ที่ระดับ 98.9 จุด ขณะที่ยูโรแข็งค่าขึ้น 0.62% ที่ 1.0981 ดอลลาร์/ยูโร และค่าเงินเยนแข็งค่ามากที่สุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 107.2 เยน/ดอลลาร์

มูลค่าการถือสถานะ Short ในดอลลาร์อยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านเหรียญในสัปดาห์ที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่มีการถือ Short ที่ 9.9 พันล้านเหรียญ และทำให้ภาพรวมสะท้อนถึงการที่นักเก็งกำไรเลือกถือ Short ในดอลลาร์ติดต่อกันมาแล้ว 4 สัปดาห์


· เจ้าหน้าที่เฟดเริ่มมีการแสดงความคิดเห็นต่อการกลับมาเปิดทำการของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ และการป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ดูจะยังไม่สามารถประสบผลสำเร็จในการยับยั้งการระบาดได้เท่าที่ควร

นายราฟาเอล บอสติค ประธานเฟดสาขาแอตแลนต้า ให้สัมภาษณ์กับ Yahoo Finance โดยระบุว่า ทางตอนใต้ของสหรัฐฯยังคงมีความหลากหลายของเงื่อนไขและการถอนภาวะ Lockdown

นายโธมัส บาร์กิน ประธานเฟดสาขาริชมอนด์ กล่าวว่า ภาคธุรกิจโดยส่วนใหญ่พร้อมที่จะเปลี่ยนแผนในการดำเนินการเพื่อรับมือกับวิกฤตทางด้านสุขภาพ โดยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับการระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ดูจะมีแนวโน้มในการหาวิธีที่สอดคล้องกับมาตรการ Social Distancing ในกระบวนการดำเนินการ ทั้งปรับปรุงเพิ่มในเรื่องความสะอาดและกรรมวิธีด้านสุขภาพ


· ผลสำรวจจากรอยเตอร์ส ชี้ว่า จำนวนชาวอเมริกาที่ให้การสนับสนุนนายทรัมป์ ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยสองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 5% แต่โดยส่วนใหญ่จะชื่นชอบต่อ นายโจ ไบเดน ผู้ท้าชิงจากพรรคเดโมแครตมากกว่า โดยประชาชนส่วนใหญ่กำลังจับตากับเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาที่มีผลต่อเศรษฐกิจ, ด้านสุขภาพ และการอพยพย้ายถิ่น ที่ดูเหมือนพวกเขามองว่า นายไบเดน น่าจะมีวิธีจัดการและรับมือกับวกิฤตได้อย่างเหมาะสมมากกว่านายทรัมป์


· ราคาน้ำมันดิบทรุดตัวลงกว่า 10% ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ไม่มั่นใจว่าการปรับลดอุปทานน้ำมันเป็นประวัติการณ์ของกลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรนั้นจะช่วยสร้างสมดุลให้แก่ตาดได้ในเร็วๆนี้ ท่ามกลางการะบาดของไวรัสโคโรนา

น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับลง -10.26% ที่ 20.11 เหรียญ หรือปรับลง 1.5 เหรียญ ทางด้าน Brent ปิดลดลง 2.14 เหรียญ หรือ -6.7% ที่ 29.6 เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันทั่วโลกถูกคาดว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตโดยรวมร่วมกันประมาณ 19.5 ล้านบาร์เรล/วัน หรือเกือบ 20% จากอุปทานน้ำมันทั่วโลก แต่การปรับลดดังกล่าวดูจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ดังนั้นจึงดูเหมือนจะไม่เพียงพอในการช่วยลดอุปทานน้ำมันโลก และภาพรวมราคาน้ำมันปีนี้ปรับตัวลงมาแล้วกว่า 50%


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com