• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 14 เมษายน 2563

    14 เมษายน 2563 | Economic News

สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

-จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 1,926,235 ราย

-จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 119,730 ราย

-จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

-จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อรวมที่ 587,173 ราย (+232) และยอดผู้เสียชีวิตที่ปรับตัวขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 ของโลกด้วยจำนวนทั้งหมด 23,644 ราย (+4)

-จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 170,099 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 17,756 ราย

-จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 159,516 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 20,465 ราย

-จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 34 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,613 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1 ราย รวมสะสม 41 ราย

- เยอรมนีรายงานยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายวันออกมาที่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์วันนี้ โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 2,082 ราย รวมเป็น 125,098 ราย ขณะที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 180 ราย สูงกว่ายอด 116 รายของวันพฤหัสบดีที่แล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 2,969 ราย สำหรับผู้ที่ได้รับการรักษาหายดีแล้วมีประมาณ 68,200 ราย

- เจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรอนามัยโลกหรือ WHO ระบุว่ายังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 เมื่อได้รับรักษาจนหายดีแล้ว จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการติดเชื้อเป็นครั้งที่ 2 ได้แต่อย่างใด

โดยการศึกษาจากผู้ติดเชื้อในกรุงเซี่ยงไฮ้ พบว่าผู้ป่วยบางคนไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อป้องกันไวรัสได้เลย ขณะที่ผู้ป่วยบางคนกลับสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ค่อนข้างชัดเจน ดังนั้นจึงยังไม่สามารถตอบได้แน่ชัดผู้ป่วยทุกคนจะสามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อเป็นรอบที่ 2 ไปได้


· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ขณะที่ดอลลาร์ออสเตรเลียและค่าเงินที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆแข็งค่าขึ้นในวันนี้ ตามหลังการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่ออกมาสดใสกว่าที่คาดการณ์ ตลาดบางส่วนจึงกลับมามีมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาที่กดดันภาพรวมเศรษฐกิจโลก

โดยยอดส่งออกของประเทศจีนในเดือน มี.ค. ประกาศออกมาลดลง 6.6% เทียบกับปีก่อน แต่น้อยกว่าคาดการณ์ที่คาดไว้ว่าจะลดลง 14% ขณะที่ยอดนำเข้าชะลอตัวลงเพียง 1% เทียบกับคาดการณ์ที่มองว่าจะชะลอตัว 9.5%

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่า 0.7% แถว 0.6432 ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่า 0.6% แถว 0.6131 ดอลลาร์ ส่วนค่าเงินปอนด์แข็งค่า 0.4% แถว 1.2562 ดอลลาร์/ปอนด์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่กลางเดือน มี.ค.

ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ แถวระดับ 107.70 เยน/ดอลลาร์ ด้านค่าเงินยูโรฟื้นตัวชดเชยที่อ่อนค่าลงเมื่อคืนนี้สู่ระดับ 1.0939 ดอลลาร์/ยูโร ด้านค่าเงินหยวนแข็งค่า 0.1% แถว 7.0428 หยวน/ดอลลาร์

สำหรับดัชนีดอลลาร์ อ่อนค่าลงประมาณ 0.2% แถว 99.195 จุด


· EUR/USD Price Analysis: ยูโรยืนเหนือ 1.09, แต่เป็นการ Breakout ที่ล้มเหลว

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินยูโรในช่วงสายวันนี้ เคลื่อนไหวแถวระดับ 1.0918 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากปรับขึ้นจากระดับ 1.0890 ดอลลาร์/ยูโรได้เมื่อวาน

อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์ประเมินว่าค่าเงินมีแนวโน้มจะเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากกราฟราย 4 ช.ม. จะเห็นได้ว่าค่าเงินล้มเหลวในการยืนเหนือเส้นเทรนแนวโน้มขาลงตั้งแต่ 8 – 29 มี.ค. โดยค่าเงินทำระดับสูงสุดที่ 1.0940 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนจะย่อตัวลงจากระดับ 1.0968 ดอลลาร์/ยูโร มาที่ 1.0918 ดอลลาร์/ยูโร

นอกจากนี้ กราฟ 4 ช.ม. ยังก่อตัวเป็นลักษณะ Rising wedge breakdown ซึ่งเป็นสัญญาณของการกลับตัวเป็นขาลง และบ่งชี้ว่าการรีบาวน์ขึ้นจากระดับ 1.0768 ดอลลาร์/ยูโรกำลังจะจบลง

ดังนั้นจึงประเมินว่าค่าเงินแนวโน้มย่อตัวลงไปถึงระดับ 1.0768 ดอลลาร์/ยูโรค่านข้างสูง แต่ในขณะเดียวกัน หากค่าเงินสามารถยืนเหนือ 1.10 ดอลลาร์/ยูโรได้ ก็จะเป็นการลบล้างสัญญาณของฝั่งขาลงได้


· GBP/USD: เงินปอนด์เคลื่อนไหวแดนบวกเหนือ 1.2550 แม้อังกฤษอาจประกาศขยายมาตรการ Lockdown

บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าค่าเงินปอนด์ในช่วงก่อนเปิดตลาดอังกฤษวันนี้เคลื่อนไหวแดนบวกแถว 1.2560 ดอลลาร์/ปอนด์ แม้จะยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาในประเทศ และแนวโน้มที่รัฐบาลอังกฤษจะประกาศขยายมาตรการ Lockdown ประเทศเร็วๆนี้ ตามรายงานจาก The Guardian แต่ค่าเงินสามารถเคลื่อนไหวแดนบวกตามตลาดหุ้นเอเชีย เนื่องจากตลาดมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าสถานการณ์ไวรัสจะเริ่มทรงตัวในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

Technical analysis

ค่าเงินปอนด์สามารถยืนเหนือระดับ 61.8% Fibonacci retracement วัดจากระดับต่ำของเดือน มี.ค. ที่ 1.2520 ดอลลาร์/ปอนด์ได้ ดังนั้นค่าเงินจะมีเป้าหมายถัดไปที่ระดับ 1.2580 และ 1.2660 ดอลลาร์/ปอนด์ แต่หากค่าเงินหลุดต่ำระดับ Fibonacci ดังกล่าว จะมีแนวโน้มปรับลดลงไปยังระดับ 1.2485 ดอลลาร์/ปอนด์ ที่เป็นเส้นเทรนขาขึ้นระยะ 3 สัปดาห์แทน


· นิวยอร์ก, แคลิฟอเนียร์, และรัฐอื่นๆเล็งกลับมาเปิดเศรษฐกิจใหม่ตอบรับทรัมป์

รายงานจาก Reuters ระบุว่าผู้ว่าของรัฐทั่วสหรัฐฯประมาณ 10 รัฐเริ่มมีการหารือกันเกี่ยวกับการกลับมาเปิดเศรษฐกิจในแต่ละรัฐและผ่อนคลายมาตรการควบคุมไวรัสโคโรนา เนื่องจากอัตราการระบาดดูจะเริ่มชะลอตัวลง

การหารือของบรรดาผู้ว่ารัฐ ซึ่งนำโดยผู้ว่าของนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย รัฐโอเรกอน รวมถึงนครวอชิงตัน ดูจะเป็นการตอบรับถ้อยแถลงของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ระบุไว้เมื่อคืนที่ผ่านมา ว่ากำลังพิจารณากลับมาเปิดเศรษฐกิจใหม่ในเร็วๆนี้

นอกจากบรรดารัฐที่กล่าวมาแล้ว ยังมีตัวแทนของรัฐนิวเจอร์ซีย์ คอนเนคติคัท เดลลาแวร์ เพนซิลวาเนีย และเกาะโรด เข้าร่วมการหารือเพื่อร่างแผนเปิดเศรษฐกิจที่ยังคงให้ความสำคัญกับการ Work from home และผลักดันเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมๆไปกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีกด้วย


· รายงานจาก CNBC ระบุว่าชาวอเมริกันส่วนหนึ่งเริ่มได้รับเช็คเงินช่วยเหลือตามนโยบายเยียวยาเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯเป็นวงเงิน 2.2 ล้านล้านเหรียญ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นระลอกแรกแล้ว ขณะที่ชาวอเมริกันกลุ่มที่เหลือถูกคาดว่าจะเริ่มทยอยได้รับเงินช่วยเหลือในช่วงสัปดาห์ถัดไป


· S&P คาดโอกาส 33% ที่ออสเตรเลียจะถูกลดความน่าเชื่อถือลงจาก AAA

สถาบัน S&P Global Ratings ประเมินโอกาส 33% หรือ 1 ใน 3 ที่ออสเตรเลียจะถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือในความสามารถชำระหนี้สินลงจากระดับ AAA ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ทั้งนี้การปรับลดความน่าเชื่อถือไม่ได้สะท้อนความสามารถในการใช้จ่ายของรัฐบาล แต่สะท้อนถึงปริมาณหนี้สินที่จะเพิ่มสูงขึ้นและสร้างความยากลำบากในการบริหารหนี้ให้กับรัฐบาล หมายความว่าความสามารถในการบริหารงบประมาณของรัฐบาลออสเตรเลียยังคงมีความน่าเชื่อถือ แต่ผลกระทบจากภายนอกจะปัจจัยกดดันภาพรวมดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าสภาพการเงินของออสเตรเลียจะยังคงอยู่ในระดับอ่อนแอไปอีก 2 ปีข้างหน้า และจะเริ่มฟื้นตัวได้ในปี 2022


· กระทรวงการคลังฝรั่งเศสปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ โดยล่าสุดคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะหดตัว 8% เทียบกับคาดการณ์เดิมที่ 6% และนับเป็นการปรับคาดการณ์อย่างทางการครั้งที่สองของประเทศ


· รายงานจากเกาหลีใต้ระบุว่า เกาหลีเหนือมีการยิงวัตถุที่ต้องสงสัยว่าเป็นขีปนาวุธพิสัยระยะสั้นจำนวนหนึ่ง ลงสู่น่านน้ำระหว่างเกาหลีและเกาะญี่ปุ่น


· รายงานจากแหล่งข่าววงในของ Reuters เปิดเผยว่าทางธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจกำลังมีการหารือกันเกี่ยวกับการผ่อนคลายนโยบายการเงินให้กับภาคบริษัทในประเทศที่กำลังเผชิญยอดขายที่ตกต่ำลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และมีแนวโน้มที่ทางบีโอเจจะประกาศนโยบายเพิ่มภายในการประชุมเดือนนี้


· ราคาน้ำมันปรับขึ้นได้ประมาณ 1% หลังหน่วยงานด้านพลังงานของสหรัฐฯ หรือ EIA เผยคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯน่าจะปรับลดลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ภายในเดือนนี้ เมื่อรวมกับข้อตกลงเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม กลุ่ม OPEC++ จึงคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันที่มีสูงเกินไปได้

โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปรับขึ้น 0.40 เหรียญ หรือประมาณ 1.3% แถว 32.14 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากเมื่อวานปิด +0.8% ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 0.15 เหรียญ หรือประมาณ 0.7% แถว 22.56 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากเมื่อวานปิด -1.5%

หน่วยงาน EIA ของสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯจะปรับลดลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ภายในเดือน เม.ย. โดยอัตราการผลิตที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายเดือนที่ผ่านมา คาดว่าจะชะลอตัวลงมากที่สุดในเดือน เม.ย. นี้ ประมาณ 200,000 บาร์เรล/วัน


· Morgan Stanley เพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมัน Q3

Morgan Stanley ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบทั้ง WTI และ Brent สำหรับไตรมาสที่ 3 ปีนี้ โดยคาดว่า WTI จะอยู่แถวระดับ 30 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ Brent จะอยู่แถว 27.50 เหรียญ/บาร์เรล เทียบกับคาดการณ์เดิมที่ 25 และ 22.50 เหรียญ/บาร์เรล ตามลำดับ

พร้อมระบุว่าราคาน้ำมันจะได้รับแรงหนุนหลักมาจากข้อตกลงปรับกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ ซึ่งจะสามารถช่วยลดปริมาณสต็อกน้ำมันที่มีสูงมากเกินไปในภาพรวมทั่วโลกลงได้ โดยอาจเริ่มเห็นผลที่ชัดเจนขึ้นได้ภายในครึ่งหลังของปี 2020 เป้นต้นไป


· น้ำมัน WTI ปิดบวกเมื่อวานนี้ แต่ยังต่ำกว่า 23.00 เหรียญ/บาร์เรล


บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าราคาน้ำมัน WTI สามารถรีบาวน์ขึ้นจากระดับต่ำสุดของวันที่ 2 เม.ย. ขึ้นมาที่ 22.75 เหรียญ/บาร์เรล และกำลังเคลื่อนไหวแดนประมาณ +1.95% ในช่วงตลาดเอเชียวันนี้ ท่ามกลางแรงหนุนจากการทำข้อตกลงด้านการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+

Technical analysis

ราคาน้ำมัน WTI จะมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่บริเวณ 23.95 – 24.05 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 200 ช.ม. และระดับ 50% Fibonacci retracement มาบรรจบกัน แต่หากราคาเคลื่อนไหวต่ำกว่าแนวรับที่ระดับ 22.30 เหรียญ/บาร์เรล จะมีโอกาสย่อตัวลงโดยมีแนวรับถัดไปที่ 21.60 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 31 มี.ค.


· WTI Price Analysis: ราคาเผชิญเส้นค่าเฉลี่ยราย 10 วันเป็นแนวต้าน


บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่าราคาน้ำมัน WTI ในช่วงเที่ยงวันนี้ กำลังเคลื่อนไหวแดนบวกต่อจากเมื่อวานประมาณ 0.90% แถว 22.55 เหรียญ/บาร์เรล แต่ดูเหมือนว่าราคากำลังเผชิญแนวต้านที่เป็นเส้นค่าเฉลี่ยราย 10 วันกดดันไม่ให้ขึ้นไปมากกว่านี้

ดังนั้น หากราคาย่อตัวลง จะมีโอกาสกลับลงไปทดสอบแนวรับที่ระดับ 20.30 เหรียญ/บาร์เรล และจะมีแนวรับถัดไปที่ 20.00 เหรียญ/บาร์เรล

นอกจากนี้ สมมติว่าราคาสามารถผ่านแนวต้านดังกล่าวที่ระดับ 23.80 เหรียญ/บาร์เรล ขึ้นมาได้ ก็จะยังไม่นับว่าเป็นการกลับเข้าสู่ขาขึ้น เนื่องจากยังมีระดับ 23.6% Fibonacci retracement วัดจากทิศทางขาลงในช่วงเดือน ก.พ. – มี.ค. ที่ระดับ 27.25 เหรียญ/บาร์เรล ทำหน้าที่เป็นแนวต้านสำคัญอยู่

กรณีที่ราคาสามารถผ่านและปิดเหนือระดับ 27.25 เหรียญ/บาร์เรลได้ ก็จัมีโอกาสขึ้นต่อไปยังระดับ 28.90 และ 30.00 เหรียญ/บาร์เรล เป็นเป้าหมายต่อไป

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com