• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 14 เมษายน 2563

    14 เมษายน 2563 | Economic News

· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

-จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 1,924,635

-จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 119,686 ราย

-จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

-จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 586,941 ราย และมีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 ของโลกที่ระดับ 23,640 ราย

-จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 170,099 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 17,756 ราย

-จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 159,516 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 20,465 ราย และยังถือว่าอิตาลียังมียอดผู้เสียชีวิตที่มากที่สุดในโลก

-จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดรวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,579 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3 ราย รวมสะสม 40 ราย


- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า ทีมบริหารของนายทรัมป์ใกล้จัดเตรียมแผนอย่างเสร็จสมบูรณ์สำหรับการกลับมาเปิดทำการใหม่ของสหรัฐฯ ที่เกิดการ Shutdown เพื่อสกัดการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เริ่มชะลอตัว และเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าความพยายามของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมประสบความสำเร็จ


- เมื่อวานนี้รัฐบาลสเปนเผยการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown บางแห่ง โดยให้ภาคก่อสร้างและโรงงานกลับมาทำงานได้ในเมื่อวานนี้เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อได้ แม้จะมีเสียงคดค้านถึงการให้ใช้ความระมัดระวังต่อการผ่อนปรนดังกล่าว


- องค์การอนามัยโลกหรือ WHO กล่าวเตือนนานาประเทศทั่วโลกว่าอย่าเพิ่งชะล่าใจผ่อนปรนมาตรการ Lockdown เร็วเกินไป เนื่องจากไวรัสโคโรนาค่อนข้างแพร่ระบาดได้รวดเร็ว และมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าการระบาดของไข้หวัดในปี 2009 มากถึง 10 เท่า

ทั้งนี้ แม้จะมีรายงานการชะลอการระบาดของไวรัสเพิ่มขึ้น แต่การชะลอดังกล่าวก็อาจกลับมาเพิ่มขึ้นอีกได้อย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่ามาตรการควบคุมต่างๆยังคงมีความจำเป็นไม่เช่นนั้นอาจไม่สามารถทำได้อีกครั้ง


- รายงานจากนิวซีแลนด์เผยว่าอัตราว่างงานอาจพุ่งทะลุสูงกว่า 26% โดยมองกรอบการขยายตัวที่ 17.5% - 26% หากมาตรการ Lockdown ยังคงขยายเวลาออกไป ซึ่งในปัจจุบันถือว่าสถานการณ์อยู่ในระดับที่ 4 ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงที่จะเห็นอัตราว่างงานสูงขึ้น

แต่หากมาตรการ Lockdown ผ่อนคลายลงได้ในเดือนนี้ อัตราว่างงานก็น่าจะอยู่ที่ราวๆ 13% ได้


- G20 นัดแถลงการณ์สัปดาห์หน้าเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัสโคโรนาต่อเศรษฐกิจโลกและสังคม โดยจะเป็นการแถลงรายงานผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ในวันที่ 19 เม.ย.

· หน่วยงาน CRFB ของสหรัฐฯ เผยว่า จากการใช้งบประมาณช่วยเหลือเศรษฐกิจจากภาวะขาลงที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะทำให้ยอดขาดดุลของสหรัฐฯในปีงบประมาณ 2020 เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3.8 ล้านล้านเหรียญ จากภาวะผลผลิตทางเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง 18.7%

นอกจากนี้ CRFB ยังคาดว่า ปีงบประมาณ 2021 จะเห็นยอดขาดดุลพุ่งสูงไปแตะ 2.1 ล้านล้านเหรียญได้ และจะมียอดขาดดุลเฉลี่ยที่ 1.3 ล้านล้านเหรียญตลอดจนปี 2025 จากภาวะเศรษฐกิจที่ค่อยๆฟื้นตัวขึ้น


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นเหนือ 0.74% ตอบรับการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างกลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตร ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะยาวอายุ 30 ปีก็ปรับขึ้นมาได้แถว 1.3%


· ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบางจากการที่ตลาดยุโรปยังคงปิดทำการในวันหยุดเทศกาล โดยดัชนีดอลลาร์ทรงตัวแถว 99.348 จุด หลังทำสูงสุดเหนือ 99.5 จุดได้เมื่อคืนนี้ ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลง 0.35% ที่ 1.090 ดอลลาร์/ยูโร

ค่าเงินเยนแข็งค่ากลับลงมาที่ 107.65 เยน/ดอลลาร์ หลังเมื่อวานอ่อนค่าเหนือ 108 เยน/ดอลลาร์


· ราคาน้ำมันดิบปิดผสมผสานกันเมื่อวานนี้ ท่ามกลางข่าวการร่วมมือกันปรับลดกำลังการผลิตครั้งประวัติศาสตร์ แต่ก็ดูเหมือนการดำเนินการดังกล่าวจะไม่เพียงพอเพื่อชดเชยความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกที่ชะลอตัวลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 26 เซนต์ หรือ +0.8% ที่ระดับ 31.74 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ WTI ปิดปรับลง 35 เซนต์ หรือ -1.5% ที่ระดับ 22.41 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดตั้งแต่ 1 เม.ย. โดยช่วงต้นตลาดน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นไปได้กว่า 5%


การปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ อาจเกิดขึ้นได้มากกว่า 4 ครั้ง ที่เคยบันทึกในประวัติศาสตร์เมื่อปี 2008 และภาพรวมอาจเห็นภาวะอุปทานน้ำมันปรับตัวลงได้กว่าเท่าตัวจากมาตรการต่างๆ แต่การปรับลดกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นก็ดูจะไม่สามารถบรรเทาการปรับตัวลงของอุปสงค์น้ำมันที่คาดว่าอาจปรับตัวลงมากกว่า 30 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนเม.ย.นี้

นักวิเคราะห์จาก Energy Aspects มองว่า แม้จะมีการปรับลดกำลังการผลิตแต่ก็ดูจะไม่เพียงพอต่อการพยุงราคาเนื่องจากสต็อกน้ำมันก็ยังอยู่ในระดับสูง รวมทั้งขาดการยืนยันที่หนักแน่นจากสหรัฐฯหรือประเทศอื่นๆใน G20 ว่าจะเข้าร่วมกับข้อตกลงนี้อย่างไร



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com