• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 13 เมษายน 2563

    13 เมษายน 2563 | Economic News


· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 1,851,734 ราย

- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 114,179 ราย

- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 210 ประเทศ และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อรวมที่ 560,402 ราย (+27,523) และยอดผู้เสียชีวิตที่ปรับตัวขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 ของโลกด้วยจำนวนทั้งหมด 22,105 ราย (+1,528)

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสเปนปรับตัวขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อที่ 166,831 ราย (+3,804) ขณะที่ผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 17,209 ราย (+603)

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีอยู่ที่ระดับ 156,363 ราย (+4,092) ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 19,899 ราย (+431)

- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 33 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,551 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3 ราย รวมสะสม 38 ราย




- อิตาลีมียอดผู้เสียชีวิตรายวันชะลอตัวลงมากที่สุดตั้งแต่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา และทำให้ยอดผู้เสียชีวิตลดลงจากอันดับ 1 ในขณะที่สหรัฐฯมียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมาเป็นอันดับที่ 1 ของโลก


- ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตในฝรั่งเศสปรับตัวขึ้นใกล้แตะ 14,400 ราย แต่ในช่วง 4 วันทำการพบว่ามีผู้เข้ารับการรักษาลดลงประมาณ 35 ราย


- รายงานประเทศฟิลิปปินส์พบยอดผู้เสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้นมากที่สุดในวันเสาร์ที่ผ่านมาอีก 50 ราย สู่ระดับ 297 ราย


- รายงานล่าสุดจากสำนักข่าว AP ระบุว่า ยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากเชื้อไวรัสโคโรนากว่า 2,700 รายเป็นผู้ที่พักรักษาอาการอยู่ที่บ้าน และนี่เป็นสัญญาณการเตือนถึงยอดที่เพิ่มขึ้นล่าสุดในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

โดยยอดผู้เสียชีวิตจากการได้รับอนุญาตให้พักรักษาตัวที่บ้านเพิ่มขึ้น 450 ราย ในช่วงเวลาเพียง 10 วันทำการ สู่ระดับ 2,755 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นอัตราของผู้สูงอายุที่เสียชีวิตมากที่สุด

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่ง ระบุว่า การเสียชีวิตที่ยังมีอัตราการเพิ่มขึ้นมาจากขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์ในการช่วยเฝ้าดูอาการผู้ป่วยที่บ้าน ซึ่งการขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์ถึงว่าแย่ที่สุดในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนาเช่นนี้ ที่จะส่งผลต่อการขาดแคลนอุปกรณ์สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสด้วย


- นายโรเบิร์ต ชิลเลอร์ นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลกล่าวเตือนถึงการระบาดของไวรัสโคโรนาที่อาจส่งผลให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำที่สุดได้ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจทางการเงิน และปริมาณการซื้อขายทั้งหมดนี้มีความเสี่ยงทั้งหมด และจะนำพาเศรษฐกิจสหรัฐฯปรับตัวลดลงต่อได้ ซึ่งในครั้งนี้จะแตกต่างจากช่วง Great Depression ในช่วง 10 ปีที่แล้ว เนื่องจากอัตราว่างงานไม่ได้ต่ำกว่า 12% มานาน และสถานการณ์ครั้งนี้น่าจะย่ำแย่ตลอดช่วง 1 หรือ 2 ปี


- เจ้าหน้าที่พิเศษขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ไม่คาดว่าไวรัสโคโรนาจะหายไปโดยสิ้นเชิงจนกว่าจะมีการพัฒนาวัคซีนสำเร็จ และคาดว่าจะอยู่กับมนุษย์เป็นระยะเวลานานระดับหนึ่ง


- นายนีล คาร์ชคาริ ประธานเฟดสาขามินนีแอโพลิส กล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯจากการระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะใช้เวลานานและมีความยากลำบาก อันเนื่องจากการได้รับผลกระทบของภาวะ Shutdown และการกลับมาเปิดทำการ โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯจะไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเว้นแต่จะมียารักษาไวรัสโคโรนา ดังนั้น ทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจึงเป็นรูปแบบ V-Shape ในเวลานี้


- World Bank คาดเศรษฐกิจปีนี้ของอินเดียและแถบเอเชียใต้จะย่ำแย่ที่สุดในรอบ 40 ปี ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยแถบเอเชียใต้มีแนวโน้มจะชะลอตัวลงจาก 2.8% สู่ระดับ 1.8% ในปีนี้ และลดลงจากที่เคยประมาณการณ์ในช่วง 6 เดือนก่อนที่ 6.3% ขณะที่อินเดีย ถูกคาดว่าเศรษฐกิจจะโตได้น้อยลงจาก 2.8% สู่ 1.5%


- เจ้าหน้าที่ทางการทูตจีนประจำสหรัฐฯ เผยยังคงดำเนินการตามข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนอยู่ และคาดหวังว่าทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันในการประเมินเพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนากำลังเข้าคุกคามการเติบโตเศรษฐกิจโลกให้ดิ่งลง


· ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงหลังเฟดตัดสินใจเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงสัญญาณการชะลอตัวของไวรัสโคโรนาที่ทำให้นักลงทุนลดการถือครองดอลลาร์ในฐานะ Safe-Haven ด้านเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นได้หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ออกจากโรงพยาบาลในการรักษาอาการไวรัสโคโรนาแล้ว

ดัชนีดอลลาร์ล่าสุดอยู่ที่ 99.505 จุด หลังจากที่สัปดาห์ที่แล้วเคลื่อนไหวเหนือ 100 จุด

ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.0941 ดอลลาร์/ยูโร หรือปรับอ่อนค่าลงประมาณ 1.3% ในสัปดาห์ที่แล้ว

ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 108.41 เยน/ดอลลาร์ ด้านเงินปอนด์ทรงตัวที่ 1.2465 ดอลลาร์/ปอนด์ แต่ภาพรวมแข็งค่าขึ้นได้ 1.6% ในสัปดาห์ที่แล้ว


· กลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรสามารถหาข้อตกลงขั้นสุดท้ายร่วมกันได้ในการประชุมช่วง 4 วันทำการเมื่อวันอาทิตย์ โดยจะมีการปรับลดกำลังการผลิตลง 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน เพื่อช่วยสนับสนุนการปรับตัวลงของราคาน้ำมันท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา รวมทั้งสามารถยุติ Price War ระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียได้

ทั้งนี้ การปรับลดกำลังการผลิตที่ระดับประมาณ 10 ล้านบาร์เรล/วัน จะช่วยให้มีอุปทานในตลาดโลกปรับลงได้ประมาณ 10% ขณะที่เม็กซิโกเจรจาขอปรับลดกำลังการผลิตที่ 100,000 บาร์เรล/วัน แทนที่ 400,000 บาร์เรล/วัน

อย่างไรก็ดี การปรับลดกำลังการผลิตล่าสุดด้วยระดับ 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน จะมีผลบังคับใช้เริ่มในวันที่ 1 พ.ค. และคาดจะขยายเวลาออกไปจนถึงสิ้นเดือนมิ.ย. จากนั้นจะค่อยๆปรับลดลงเหลือการลดกำลังการผลิตที่ 8 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนก.ค. ตลอดจนถึงสิ้นปีนี้ และปรับลดที่ 6 ล้านบาร์เรล/วันตั้งแต่ ม.ค. ปี 2021 ตลอดจนถึง เม.ย. ปี 2022


· ราคาน้ำมันดิบ ดูจะทรงตัวแม้จะมีการมาของข้อตกลงดังกล่าว หลังจากที่ WTI ปรับตัวลดลงไปกว่า 2.5% ที่ 22.25 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้าน Brent ปรับขึ้น 10 เซนต์ ที่ 31.58 เหรียญ/บาร์เรล โดยตลาดน้ำมันดิบยังคงมีความผันผวนและ WTI ปรับตัวขึ้นได้กว่า 8% ก่อนจะอ่อนตัวลงและกลับมาเคลื่อนไหวแดนลบ

หัวหน้านักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์จาก Citigroup กล่าวว่า แม้จะมีมาตรการเกินคาดออกมาหลายครั้ง และการปรับลดกำลังการผลิตล่าสุดจะช่วยพยุงราคาน้ำมันดิบในช่วงครึ่งปีหลังให้ทรงตัวแถว 40 เหรียญ/บาร์เรลได้ แต่ก็ดูเหมือนตลาดจะตอบรับเพียงระยะสั้นๆเท่านั้นๆ



บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com