• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 8 เมษายน 2563

    8 เมษายน 2563 | Economic News

· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 1,426,609 ราย

- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 81,995 ราย

- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 209 ประเทศและติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 396,416 ราย (+29,412) และมีผู้เสียชีวิตสู่ระดับ 12,813 ราย (+1,942)

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับ 135,586 ราย (+3,039) ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 17,127 ราย (+604)

- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 38 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 2,258 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1 ราย รวมสะสม 27 ราย


- ล่าสุดประเทศฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศลำดับที่ 4 ที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงทะลุ 10,000 ราย จากการระบาดของไวรัสโคโรนา ท่ามกลางสหรัฐฯ, อิตาลี และสเปนที่ยังมียอดผู้เสียชีวิตสะสมที่หลักหมื่น

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขฝรั่งเศส กล่าวว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะยังขยายเป็นวงกว้างในฝรั่งเศส ท่ามกลางประเทศที่ประสบภาวะ Lockdown มาเป็นเวลากว่า 4 สัปดาห์แล้ว

ทั้งนี้ ฝรั่งเศสมียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดเป็นอันดับที่ 4 ของโลกที่ 109,069 ราย และมีผู้เสียชีวิตติดอันดับ 4 ของโลกเช่นกันที่ 10,328 ราย

- ข้อมูลล่าสุดสะท้อนว่าอัตราการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในอิตาลีปรับตัวลดลงทำต่ำสุดในรอบ 25 วัน โดยล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่ม 604 ราย น้อยกว่าวันก่อนหน้าที่ 636 ราย ซึ่งถือว่ายอดใหม่นั้นเป็นยอดที่ต่ำสุดตั้งแต่ 13 มี.ค. จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลให้เกิดภาวะ Lockdown ตั้งแต่ 9 มี.ค. จะผ่อนคลายลง

- สถานการณ์ในอู่ฮั่น ซึ่งเป็นเมืองแรกเริ่มของการระบาดครั้งนี้ พบว่าสถานการณ์ภายในประเทศผ่อนคลายมากขึ้นหลังจากทีเผชิญกับภาวะ Lockdown มากกว่า 76 วัน โดยพบว่าเริ่มมีการอนุญาตให้ประชาชนออกจากที่พักอาศัยเป็นครั้งแรก แม้ว่าจะมีความกังวลถึงการระบาดระลอกที่ 2 ก็ตาม



- จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯปรับตัวลงเช่นกัน และผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ก็มีรายงานเมื่อวานนี้ถึงการเสียชีวิตรายวันที่มากที่สุด แต่ข้อมูลการเข้ารักษาในโรงพยาบาลมีอัตราที่ชะลอตัวลง ทางด้านอิตาลี และสเปนก็ยังคงประสบภาวะวิกฤต แต่ก็เห็นได้ถึงการชะลอตัวลงของยอดผู้ติดเชื้อใหม่ๆ

- นายแลรี่ คุดโลว์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กล่าวว่า ทีมบริหารของนายทรัมป์มีความตั้งใจจะกลับมาเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ชาวอเมริกาก็ต้องทำใจว่าการดำเนินการต่างๆอาจมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปครั้งใหญ่ เนื่องจากเราเข้าสู่ยุคใหม่ และไม่รู้ว่าสถานการณ์การฟื้นตัวจะเป็นไปได้รวดเร็วเช่นไร และจะเห็นได้ชัดว่าการปิดทำการชั่วคราวในหลายๆแห่งก็ยังมีอยู่เพื่อช่วยจำกัดการระบาดที่ดูจะสร้างผลเสียให้แก่เศรษฐกิจ และยังมีความไม่แน่นอนสูงท่ามกลางความเป็นไปได้ที่จะเห็นยอดติดเชื้อในสหรัฐฯเข้าสู่จุดพีคสุด และการกักตัวจะยังมีอยู่จนถึงช่วงสิ้นเดือนเม.ย.

- ผู้สื่อข่าวชื่อดังของ CNBC ให้คำแนะนำนักลงทุนถึงการจะเห็นตลาดฟื้นตัวหลังเผชิญแรงเทขายอย่างหนักเพราะต้องการเงินสด เนื่องจากโดยภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯไม่ได้ปรากฎสัญญาณ V-Shape แม้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวแรงๆ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเห็นตลาดพลิกฟื้นได้ จากการฟื้นตัวในรูปแบบ U-Shape ดังนั้น เราจึงมีแนวโน้มเห็นราคาอ่อนตัวลงได้อีกครั้ง และเมื่อนั้นก็น่าจะเป็นจังหวะที่นักลงทุนอาจทำการเข้าช้อนซื้อไว้ได้

การฟื้นตัวในรูปแบบของ V-Shape จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการปรับตัวลงอย่างรวดเร็วของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมต่างๆจะไม่สามารถรีบาวน์กลับได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ U-Shape จะมีการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อก้าวออกจากภาวะถดถอย ที่อาจปรับขึ้นได้ในระยะเวลา 2 ปี

- นายเบน เบอนันเก้ อดีตประธานเฟดมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯมีโอกาสหดตัวมากถึง 30% หรือมากกว่านั้น โดยไตรมาสนี้ก็น่าจะยังเห็นคำสั่งการกักตัวเองให้อยู่แต่ในที่พักอาศัยแม้การระบาดของไวรัสจะชะลอตัวลง แต่ก็อาจใช้เวลา 2-3 ปีก่อนที่จะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯค่อยๆฟื้นตัวได้

ภาพรวมถือว่าปีนี้ไม่ใช่ปีที่ดีสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้ว่าการใช้นโยบายทางการเงินเพื่อตอบรับกับสถานการณ์จะค่อนข้างดี แต่การจะฟื้นเศรษฐกิจได้ก็ต้องรอจนกว่าความมั่นใจจะฟื้นตัวอย่างมากด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถนำพาเศรษฐกิจก้าวออกจากวิกฤตได้

- นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า เขาต้องการให้สภาคองเกรสทำการอนุมัติวงเงิน 2.5 แสนล้านเหรียญสำหรับมาตรการการช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉินแก่ภาคธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ท่ามกลางผู้นำเสียงข้างมากของวุฒิสภาที่จะช่วยผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภาโดยเร็วที่สุดในวันพฤหัสบดีนี้

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า ทีมบริหารของเขาพยายามผลักดันงบ 2.5 แสนล้านเหรียญของเงินในกองทุน 3.5 แสนล้านเหรียญเพื่อให้สามารถปล่อยเงินช่วยเหลือได้ในวันศุกร์นี้

ทั้งนี้ หากทางสภาคองเกรสอนุมัติงบก้อนที่ 2 ก็อาจตามมาด้วยเงินช่วยเหลืออีกกว่า 3.49 แสนล้านเหรียญในการผ่อนผันวงเงินกู้แก่ภาคธุรกิจขนาดเล็กที่มีผลไปเมื่อวันที่ 27 มี.ค. โดยงบประมาณทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ 2.3 ล้านล้านเหรียญที่ได้รับการอนุมัติไปเมื่อไม่นานมานี้

- เช้านี้ มีรายงานว่า นายทรัมป์ แถลงข่าวเรื่องไวรสโคโรนา โดยกล่าวถึงการจะระงับการมอบทุนประจำปีให้แก่องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ที่มีจุดยืนเข้าข้างประเทศจีน ท่ามกลางการตรวจสอบในเรื่องนี้อยู่

นอกจากนี้ นายทรัมป์ ยังระบุว่า WHO ทำผิดพลาดหลายเรื่อง โดยเฉพาะการคัดค้านการตัดสินใจของเขาที่จะหยุดรับนักท่องเที่ยวจากจีนช่วงที่ไวรัสเริ่มระบาดใหม่ๆ

อย่างไรก็ดี ในแต่ละปีสหรัฐฯมีการมอบเงินทนุให้แก่ WHO เป็นจำนวนทั้งสิ้น 58 ล้านเหรียญ

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่ฟื้นตัวขึ้น จากความหวังที่ว่าสภาวะ Lockdown อาจจะค่อยๆทยอยลดลงไปจากการชะลอตัวของการติดเชื้อในบางประเทศ ท่ามกลางตลาดหุ้นสหรัฐฯที่ปรับตัวขึ้นจากความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง

ค่าเงินปอนด์เองก็แข็งค่าขึ้นหลังจากที่มีข่าวว่า นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษกลับมาแข็งแรงขึ้น ประกอบกับยังไม่มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆเพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัสโคโรนา

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.93% ที่ระดับ 99.82 จุด ทางด้านค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 1.08% ที่ 1.2361 ดอลลาร์/ปอนด์ ขณะที่ยูโรแข็งค่าขึ้น 1.13% ที่ 1.0913 ดอลลาร์/ปอนด์

· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ท่ากลางตลาดที่รอดูข้อตกลงการปรับลดการผลิตเป็นการชั่วคราวที่อาจไม่เพียงพอต่อภาวะอุปทานที่ล้นตลาดในเวลานี้ รวมทั้งสัญญาณที่ว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเชิงลึก

น้ำมันดิบ WTI ปิดร่วงลงกว่า 2.45 เหรียญ หรือ -2.45% ที่ 23.63 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ Brent ปิด -3.57% ที่ 31.87 เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดยังคงปรับตัวลงต่อจากวันจันทร์ที่ WTI ปิด -8% และ Brent ปิด -3%

นักวิเคราะห์บางรายก็กำลังรอดูว่าสัญญาณการปรับลดกำลังการผลิตระหว่างรัสเซียและซาอุดิอาระเบียจะไปในทิศทางใดๆ โดยที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่หรือ OPEC+ จะมีการเข้าร่วมหารือผ่านทางวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ในวันพฤหัสบดีนี้ ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานในหลายๆประเทศ ระบุว่า พวกเขาจะเข้าร่วมดำเนินการด้วยก็เมื่อสหรัฐฯเข้าร่วมกำลังการผลิตกับพวกเขาเช่นกัน





บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com