• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 3 เมษายน 2563

    3 เมษายน 2563 | Economic News

· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 1,015,059 ราย


Ø  จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 53,167 ราย


Ø  จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 204 ประเทศ (+1) และติดเชื้อบนเรือสำราญ 2 ลำ ได้แก่ Diamond Princess และล่าสุด Holland America’s MS Zaandam


Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯอยู่ลำดับที่ 1 ของโลก ล่าสุดมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 244,877 ราย และมีผู้เสียชีวิตสู่ระดับ 6,070 ราย


Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับ 115,242 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 13,915 ราย


Ø  จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 104 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 1,875 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3 ราย รวมสะสม 15 ราย


- ผลการประกาศจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯที่ออกมาแย่กว่าที่คาดแตะ 6.6 ล้านรายนั้น เป็นผลมาจากการที่มีการประกาศใช้มาตรการให้ประชาชนอาศัยอยู่ในที่พัก จึงสร้างผลกระทบต่อประชาชนกว่า 80% ของ 39 มลรัฐในสหรัฐฯ ท่ามกลางผู้ติดเชื้อไวรัสในประเทศที่พุ่งเกิน 200,000 ราย และเสียชีวิตสูงกว่า 4,500 ราย

- ในส่วนของทีมบริหารของนายทรัมป์จะมีการอนุมัติกองทุนฉุกเฉินมูลค่า 2.5 หมื่นล้านเหรียญสำหรับสนับสนุนระบบภาคการขนส่งสาธารณะ

- American Airlines มีแผนจะตัดลดการบินช่วงซัมเมอร์ลง 60% ท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนา และการใช้มาตรการจำกัดการเดินทางของภาครัฐเพื่อยุติการระบาดและการแพร่เชื้อของไวรัสโคโรนา

- ธนาคารโลก หรือ World Bank จะมีการอนุมัติงบ 1.9 พันล้านเหรียญในกองทุนฉุกเฉินเพื่อรับมือกับไวรัสโคโรนาให้แก่ 25 ประเทศ และจะเร่งพิจารณาเพิ่มเติมสำหรับอีก 40 ประเทศ

- คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอมาตรการปกป้องเศรษฐกิจยุโรป อันประกอบไปด้วยการดำเนินงานระยะสั้นเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงกองทุนต่างๆแก่เกษตรกรและชาวประมง

- รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศอังกฤษ ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มกำลังกว่า 10 เท่าในการตรวจหาผู้ป่วยรายวัน หลังผลสำรวจชี้ว่ารัฐบาลมีการดำเนินคำสั่ง Lockdown ที่ล่าช้าเกินไป

- นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียทำการขยายมาตรการ Lockdown ไปจนถึง 30 เม.ย. หลังมีผู้ติดเชื้อในประเทศเกินกว่า 3,500 ราย และเสียชีวิตราว 30 ราย

- WHO คาด จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศมาเลเซียจะเข้าสู่จุดพีคสุดในช่วงกลางเดือนนี้ และดูจะมีสัญญาณ Flattening Curve เกิดขึ้น

- ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจาก National University ของสิงคโปร์ กล่าวว่า ศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนามีความเสี่ยงที่จะย้ายกลับมายังเอเชียอีกครั้ง แม้ในเวลานี้เราจะเห็นได้ชัดเจนว่าสหรัฐฯเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดแห่งใหม่ที่มีผู้ติดเชื้อเกิน 200,000 รายไปแล้วภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน

ทั้งนี้ ก็ยังไม่อาจบอกได้ว่าจะเกิดการย้ายเข้าสู่เอเชียใต้ หรือไปทางแอฟริกา หรือละตินอเมริกา เนื่องจากมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นกับแถบเอเชียตะวันออกมากกว่า โดยเฉพาะการเกิด Second Wave ในประเทศจีนและสิงคโปร์

· เดือนมี.ค. สหรัฐฯอาจสูญเสียการจ้างงานที่มากที่สุดในรอบทศวรรษ และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ เผยว่า ข้อมูลจ้างงานในเดือนมี.ค. อาจสูญเสียการจ้างงานมากที่สุดในรอบทศวรรษอันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลให้เกิดการบังคับหยุดงาน รวมทั้งมาตรการกักตัวในที่พักอาศัยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนที่ก.พ. จึงมีแนวโน้มที่จะเห็นข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯ (Non-Farm Payrolls) ปรับตัวลงได้กว่า 100,000 ตำแหน่ง

แต่ผลสำรวจดังกล่าวของ Refinitiv ดังกล่าวเป็นผลสำรวจที่เกิดขึ้นก่อนที่หลายรัฐในสหรัฐฯจะมีการประกาศมาตรการให้ประชาชนกักันตัวเองในที่พักอาศัย ขณะที่อัตราว่างงานพุ่งขึ้นเกือบ 10 ล้านราย อันเนื่องจากภาคธุรกิจและสถานศึกษาปิดทำการเนื่องในการระบาดของไวรัสในเวลานี้

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays อธิบายว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นปรับตัวลงเท่านั้นของข้อมูลในเดือนมี.ค. และคาดว่าเดือนเม.ย. น่าจะเห็นตลาดแรงงานเผชิญกับภาวะที่เลวร้ายมากกว่านี้ และอัตราว่างงานประจำเดือนเม.ย. มีโอกาสเพิ่มสูงกว่า 10% และการให้ประชาชนใช้มาตรการ “Stay-at-home” ดูจะกระทบกับจีดีพีของประเทศประมาณ 82%

· เฟดมียอดงบดุลพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์แตะ 5.86 ล้านล้านเหรียญ

ยอดงบดุลบัญชีของเฟดหรือ Balance Sheet ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.86 ล้านล้านเหรียญในสัปดาห์นี้ ท่ามกลางเฟดที่ให้คำมั่นว่าจะใช้เครื่องมือขนานใหญ่ครั้งใหม่เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องให้แก่ตลาดการเงินจากความผันผวนที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ในระยะเวลา 3 สัปดาห์นับตั้งแต่ที่เฟดพยายามที่จะช่วยเศรษฐกิจจำกัดผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้งบดุลของเฟดปรับตัวขึ้นเป็นดอกเห็ดกว่า 1.5 ล้านล้านเหรียญ และมียอดสูงกว่าในช่วงก่อนเกิดวิกฤตทางการเงิน

ทั้งนี้ เฟดยังคงเดินหน้าเพิ่มการถือครองตราสารหนี้ และพันธบัตร รวมทั้งสินทรัพย์อื่นๆ โดยข้อมูลล่าสุดวานนี้ชี้ว่า เฟดมีการถือครองตราสารหนี้การจดจำนอง (Mortgage-backed Securities) เพิ่มขึ้นแตะ 1.46 ล้านล้านเหรียญ จากระดับ 1.38 ล้านล้านเหรียญ ทางด้านการถือครองตราสารหนี้อื่นๆปรับขึ้นแตะ 3.34 ล้านล้านเหรียญ จาก 2.98 ล้านล้านเหรียญ

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงบ้าง หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นไปกว่า 10% แต่ตลาดก็ยังมีแรงหนุนจากความไม่แน่นอนของไวรัสโคโรนาที่ทำให้ดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่าค่าเงินสกุลอื่น

ขณะที่ข้อมูลผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯวานนี้ก็ไม่ได้ส่งผลต่อดอลลาร์มากนัก

ด้านกลุ่มนักวิเคราะห์บางส่วนก็ไม่คิดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นได้มากกว่านี้ หลังเฟดดูจะใช้มาตรการที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางผลกระทบที่เริ่มต้นขึ้น

ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 0.7% ที่ 100.17 จุด ทางด้านเงินเยนอ่อนค่าเพิ่ม 0.7% แตะ 107.91 เยน/ดอลลาร์ ในส่วนของค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอีก โดยปรับลงไปกว่า 1% แตะ 1.0847 ดอลลาร์/ยูโร โดยระหว่างวันมีการทำต่ำสุดรอบสัปดาห์อีกด้วย

· “ทรัมป์” เผยกับ CNBC ว่ามีการพูดคุยกับ “ปูติน” และ “มกุฎราชกุมารแห่งซาอุฯ” คาดทั้งสองฝ่ายจะประกาศลดกำลังการผลิตกว่า 10 ล้านบาร์เรล

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯกล่าวว่ามีการพูดคุยกับนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย และเจ้าชาย โมฮัมเม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบีย ที่คาดอาจมีการประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมัน 10 – 15 ล้านบาร์เรล

· ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นทำรายวันดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังทรัมป์เผยซาอุ-รัสเซียจะมีข้อตกลงน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นทำระดับรายวันที่ดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่ผู้นำสหรัฐฯ คาดว่า รัสเซีย และซาอุดิอาระเบียจะประกาศข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิต ขณะที่สื่อในซาอุฯ นำเสนอว่ามีการเรียกประชุมฉุกเฉินกับบรรดาผู้ผลิตน้ำมันสำหรับข้อตกลงในสภาวะที่ตลาดผันผวนเช่นนี้

น้ำมันดิบ WTI ปิด +24.67% ที่ 25.32 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับการปรับขึ้นรายวันที่มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ขณะที่ภาพรวมปีนี้ปรับตัวลงมาแล้วกว่า 59%

น้ำมันดิบ Brent ปิด +21% ที่ระดับ 29.94 เหรียญ/บาร์เรล และถือเป็นระดับวันที่ดีที่สุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน

ทางด้านน้ำมันดิบ Brent ระหว่างการซื้อขายวานนี้ปรับขึ้นได้กว่า 47% ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นในวันที่ดีที่สุด ด้าน WTI ปรับขึ้นระหว่างวันได้มากถึง 35% ถือเป็นการปรับขึ้นรายวันครั้งที่ 2 ได้ดีที่สุด จากที่ทำไว้เมื่อ 19 มี.ค. ที่ปรับขึ้นไประหว่างวันมากถึง 36%


แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นได้ขนานใหญ่ แต่ภาพรวมราคาก็ดูจะปรับตัวลงไปเกินกว่าครึ่งในปีนี้ นับตั้งแต่ที่ตลาดรับข่าว Price War ระหว่างสองประเทศ รวมทั้งการระบาดของไวรัสโคโรนา ที่ดูฉุดให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงต่ำกว่า 20 เหรียญ/บาร์เรลในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com