• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2563

    26 มีนาคม 2563 | Economic News


· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาทีแพร่ระบาดไปทั่วโลก:

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 468,644 ราย

- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 21,191 ราย

- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 198 ประเทศ (+1)

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะระดับ 74,386 ราย (+5,210) ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 7,503 (+683) ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากอิตาลี โดยล่าสุดมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 10,941 ราย รวมอยู่ที่ 65,797 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 155 ราย สู่ระดับ 935 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดเพิ่มอีก 107 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 934 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 4 ราย


- ประเทศสเปนที่อยู่ลำดับที่ 4 ของโลกมียอดผู้เสียชีวิตพุ่งแซงหน้าจีนอีกหนึ่งประเทศ โดยผู้เสียชีวิตในสเปนเพิ่มขึ้นมาที่ 3,647 ราย กลายเป็นมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากอิตาลีที่มียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของโลกแล้วในเวลานี้

- ภาพรวมยุโรปแม้จะเป็นช่วงฤดูร้อนหรือ Summer ณ ขณะนี้ก็ดูจะไม่อาจหยุดยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้ โดยทุกๆประเทศในแถบยุโรปคาดจะเผชิญกับการระบาดต่อไปและจำนวนเตียงคนไข้ก็อาจไม่เพียงพอจนถึงช่วงกลางเดือนเม.ย. เว้นแต่จะได้รับการแก้ไขหรือการรักษาที่รวดเร็วขึ้น

- เจ้าฟ้าชายชาร์ล แห่งอังกฤษในวัย 71 ชันษา พบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา ณ ขณะนี้กำลังเข้ารับการรักษาและกักพระองค์อยู่ในประเทศสก็อตแลนด์

- ยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดของไทยวานนี้เพิ่มอีก 107 ราย รวมอยู่ที่ 934 ราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดยังอยู่ที่ 4 ราย ขณะที่เกาหลีใต้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่ม 100 ราย รวม 9,137 ราย

- รัฐนิวยอร์กที่มีผู้เสียชีวิตและติดเชื้อมากที่สุดของสหรัฐฯ พบว่ามีสัญญาณชะลอการแพร่ระบาดลงแล้ว ขณะที่รัฐนิวออร์ลีน ดูจะกลายมาเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดแห่งใหม่ของประเทศสหรัฐฯแทน

- ทรัมป์เสี่ยงเผชิญกระแสโต้กลับทางสังคม จากที่เคยว่าร้ายจีนในกรณี COVID-19

ก่อนหน้านี้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมถึงสมาชิกทีมบริหารของเขาต่างมีการวิพากษ์วิจารณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศจีนอย่างรุนแรง โดยเคยมีการใช้ถ้อยคำว่า “ไวรัสจีน” ในการอ้างอิงถึงเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นกรณีที่อาจทำให้เกิดกระแสโต้กลับทางสังคมแต่นายทรัมป์เอง ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้น และกลายเป็นประเทสที่มีการติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ไปแล้ว

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าการจะรับมือกับการระบาดของไวรัสตัวนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อบรรเทาผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

- รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ อ้างจีนยังกักข้อมูลของไวรัส

นายไมค์ ปอมเอโป รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศแห่งสหรัฐฯ อ้างว่ารัฐบาลจีนยังคงพยายามกักข้อมูลเกี่ยวกับไวรัส COVID-19 ที่อาจช่วยให้ทั่วโลกสามารถหาทางรับมือกับไวรัสได้

หลังจากที่คำพูดของนายปอมโปโอได้ออกอากาศออกไปทางรายการวิทยุ Washington Watch ได้ทำเกิดกระแสโต้กลับจากจีน ที่ระบุว่านายไมค์ควรเลิกนำประเด็นไวรัสมาโยงเข้ากับการเมือง และเลิกกล่าวโทษจีนเพียงฝ่ายเดียวได้แล้ว

นอกจากนี้ นายไมค์ยังมีการกล่าวโจมตีอิหร่านและรัสเซีย โดยอ้างว่าทั้งสองประเทศนี้พยายามปล่อยข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับไวรัสเพื่อสร้างความหวาดวิตกอีกด้วย

ด้านโฆษกประจำกระทรวงต่างประเทศของจีน ได้ออกมายืนยันว่าจีนมีการรายงานข้อมูลของไวรัสให้กับองค์กรอนามัยโลกและประเทศอื่นๆ รวมถึงสหรัฐฯอย่างโปร่งใสและต่อเนื่อง

- สหรัฐฯลดจำนวนพนักงานกรมควบคุมโรคในประเทศจีนก่อนเกิดการระบาด

รายงานแบบ Exclusive โดย Reuters เผยทีมบริหารประธานาธิบดีสหรัฐฯมีการสั่งลดจำนวนพนักงานในหน่วยงานด้านการควบคุมโรค (CDC) ที่ตั่งอยู่ในประเทศจีนลงมากกว่า 2 ใน 3 ตลาดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนลดจำนวนเจ้าหน้าที่ภาคสนามเพื่อนำงบประมาณส่วนนี้มาใช้พัฒนาด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์แทน

- ผู้ประกอบการสหรัฐฯยังหวังพึ่งการบริโภคจากจีน แม้จะเผชิญการระบาดของ COVID-19

หอการค้าสหรัฐฯที่ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เผยผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับความเชื่อมั่นทางธุรกิจ โดยพบว่าผู้ประกอบการสหรัฐฯที่มีตลาดอยู่ในประเทศจีนยังคาดหวังว่าจะได้รับการบริโภคจากชาวจีน แม้จะเผชิญความเสี่ยงจากการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม

โดยผลสำรวจที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 13 – 18 มี.ค. พบว่าผู้ประกอบการคาดการณ์ว่าจะมีผลประกอบการลดลงมากถึง 50% เทียบกับผลสำรวจเดือนก่อนที่คาดไว้ที่ 28%

อุตสาหกรรมที่ได้คาดว่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด คาดว่าจะเป็นในส่วนของภาคการบริโภค โดยคาดว่าอุตสาหกรรมกลุ่มนี้อาจชะลอการเติบโตลงถึง 50% จากคาดการณ์เดิมที่ 38%

แต่ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมการบริโภคยังคงเป้าหมายการลงทุนในประเทศจีนไว้ดังเดิมถึง 46% ขณะที่อีก 8% คาดว่าจะเพิ่มปริมาณการลงทุน

- ยอดขายรถยนต์ในสหรัฐฯประสบปัญหาภาวะ Lockdown หวั่นยอดคำสั่งซื้อจะหดตัวลงไปกว่า 80% นักวิเคราะห์ชี้จากยอดขายตลอดช่วงสัปดาห์ที่ 22 มี.ค.ปรับตัวลงมาแล้ว 22% และเมื่อเทียบรายปีพบว่าปรับตัวลงไปมากสุด 40% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

- เยอรมนีถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่จะมีจีดีพีปีนี้หดตัวลงมากสุด 20% และเยอรมนีเองก็ดูจะเปิดกว้างต่อการใช้กลไกเสถียรภาพของยุโรป (ESM) เพื่อหนุนเศรษฐกิจ ขณะที่บรรดาส.ส.เยอรมันจะเข้าโหวตเกี่ยวกับการจำกัดหนี้ของประเทศเป็นครั้งแรกในวันนี้ เพื่อเตรียมหามาตรการช่วยเหลือทางการเงิน และปกป้องเศรษฐกิจเยอรมนี

- ประเทศเวเนซูเอเลา มีการเปิดเจรจากับทางจีนเพื่อหารือถึงแนวทางความเป็นไปได้ในการสนับสนุนทาการเงินในการจัดการกับการร่วงลงของราคาน้ำมัน และการระบาดของไวรัสโคโรนาขณะนี้

- อินเดียมีแนวโน้มจะหารือเกี่ยวกับแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 1.96 หมื่นล้านเหรียญในเร็วๆนี้

- ปากีสถานดูจะรับมือกับภาวะเศรษฐกิจไม่ไหว มีแนวโน้มจะขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟมูลค่า 1.4 พันล้านเหรียญ

· วุฒิสภาสหรัฐฯคาดลงมติเกี่ยวกับงบประมาณ 2 ล้านล้านเหรียญวันนี้ ซึ่งผู้นำพรรครีพับลิกันและเดโมแครตต่างคาดหวังว่าจะสามารถโหวตผ่านร่างดังกล่าวเป็นการกระตุ้นและช่วยเหลือเศรษฐกิจเป็นกรณีฉุกเฉินในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาเวลานี้ แม้ว่าจะมีเสียงสนับสนุนที่ไม่เห็นด้วยอยู่บ้างก็ตาม

ทั้งนี้ แผนดังกล่าวหากจะประกอบด้วยงบประมาณ 5 แสนล้านเหรียญสำหรับการช่วยเหลือกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ และการจ่ายเงินโดยตรงให้แก่ชาวอเมริกัน 3,000 เหรียญ และมาตรการอื่นๆเพื่อให้เกิดกระแสเงินสดภายในประเทศและสภาพคล่องมากขึ้น

· รายงานจากคณะกรรมาธิการโอลิปิกนานาชาติ หรือ IOC เผยว่า การเลื่อนการจัดงาน Olympic และ Paralympic Game ในปีนี้ออกไปจะส่งผลกระทบเชิงลบให้แก่เศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในสภาวะที่ได้รับผลกระทบบางส่วนจากการระบาดของไวรัสโคโรนาในเวลานี้

· รายงานจากรัฐมนตรีกระทรวงการค้าและภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ เผยจีดีพีไตรมาสแรกหดตัวลง 2.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และคาดการณ์ว่าจีดีพีของประเทศจะดิ่งลงสู่กรอบ -4.0 ถึง -1.0% จากคาดการณ์เดิม -0.5% ถึง 1.5%

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ โดยตลาดรอคอยผลการลงมติงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ 2 ล้านล้านเหรียญ โดยที่หุ้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้นได้เป็ฯวันที่ 2 และคาดหวังว่างบดังกล่าวจะผ่านมติและกลายมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ในเร็ววัน

ขณะที่ตลาดก็ยังจับตาการประกาศจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ถูกคาดว่าจะประกาศออกมามีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น มากกว่า 1,648,000 ราย จากเดิมที่ประมาณ 281,000 ราย

ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลง 0.81% ที่ 101.87 จุด ขณะที่เงินปอนด์รีบาวน์ 1.33% ที่ 1.1913 ดอลลาร์/ปอนด์ และค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.91% ที่ 1.0885 ดอลลาร์/ยูโร

· ราคาน้ำมันขึ้น 2% จากแรงหนุนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นต่อเมื่อวานนี้ ตามตลาดการเงินส่วนใหญ่ หลังจากตอบรับกับข่าวที่รัฐบาลสหรัฐฯสามารถตกลงกันเกี่ยวกับการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยงบประมาณมหาศาลเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโคโรนาได้ในที่สุด

ขณะที่ปริมาณอุปสงค์ในพลังงานทั่วโลก โดยเฉพาะเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานยังคงปรับลดลง เนื่องจากรัฐบาลหลายประเทศต่างประกาศระงับการเดินทาง เพื่อช่วยชะลอการระบาดของไวรัส ทำให้ตลาดคาดว่าปริมาณอุปสงค์ในเชื้อเพลิงน่าจะตกต่ำลงอย่างมากในไตรมาสที่ 2/2020 เนื่องจากสายการบินส่วนใหญ่ต่างลดเที่ยวบินหรือระงับการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง

ปริมาณการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯรายสัปดาห์ ได้ปรับลดลง 859,000 บาร์เรล/วัน เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งนับเป็นอัตราลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่ ก.ย. ปี 2019 ขณะที่ปริมาณอุปสงค์ในเชื้อเพลิงปรับลดลงเกือบ 2.1 ล้านบาร์เรล/วัน ตามข้อมูลของหน่วยงานด้านพลังงานสหรัฐฯ

ทั้งนี้ ราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ปิด +29 เซนต์ หรือ 1% ที่ระดับ 27.44 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิด +48 เซนต์ หรือ 2% ที่ระดับ 24.49 เหรียญ/บาร์เรล เมื่อวานนี้ทั้ง 2 สัญญาน้ำมันต่างปรับขึ้นได้อย่างแข็งแกร่งมากกว่า 1 เหรียญ/บาร์เรล

ปริมาณสต็อกน้ำมันดิบ เพิ่มสูงขึ้น 1.3 ล้าน/บาร์เรลเมื่อสัปดาห์ก่อน นับเป็นการปรับเพิ่มติดต่อกัน 9 สัปดาห์ และถูกคาดว่าจะยังคงทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่องท่ามกลางปริมาณอุปสงค์ที่อ่อนแอ และการที่โรงกลั่นน้ำมันส่วนใหญ่ต่างชะลอกิจกรรมลง


 
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com