• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 24 มีนาคม 2563

    24 มีนาคม 2563 | Economic News

สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด:

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 382,431 ราย

- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 16,569 ราย

- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 195 ประเทศ

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 46,145 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 582 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทย ล่าสุดอยู่ที่ 827 ราย และมีผู้เสียชีวิต 4 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลี ล่าสุดอยู่ที่ 63,927 ราย และมีผู้เสียชีวิต 6,077 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิหร่านล่าสุดอยู่ที่ 23,049 ราย และเสียชีวิต 1,812 ราย

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงท่ามกลางภาวะความตึงเครียดของตลาดที่ดูจะเริ่มผ่อนคลายลง หลังเฟดประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรักษาสภาพคล่องของการซื้อขายค่าเงินดอลลาร์

โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา เฟดได้ประกาศนโยบายเข้าซื้อสินทรัพย์ด้วยวงเงินไม่จำกัด รวมถึงนโยบายสนับสนุนกระแสเครดิตในประเทศ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงประมาณ 0.5% แถว 101.64 จุด อ่อนค่าลงจากระดับสูงสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 102.99 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของเดือน ม.ค. ปี 2017

เมื่อเทียบกับเงินเยน ดอลลาร์อ่อนค่า 0.6% แถว 110.58 เยน/ดอลลาร์ หลังทำระดับแข็งค่าสุดที่ 111.59 เยน/ดอลลาร์ ไปในช่วงก่อนหน้า

ค่าเงินยูโรแข็งค่า 0.9% แถว 1.0821 ดอลลาร์/ยูโร รีบาวน์ขึ้นมาจากระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ 1.0636 ดอลลาร์/ยูโร ที่ลงไปในช่วงก่อนหน้า

ค่าเงินปอนด์ก็แข็งค่าขึ้นเช่นกัน ประมาณ 0.75% แถว 1.1630 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับต่ำสุดในรอบ 35 ปีที่ 1.1413 ดอลลาร์/ปอนด์ ที่ลงในไปในช่วงก่อนหน้า

นักวิเคราะห์จาก Spartan Capital มองว่า มาตรการที่เฟดเพิ่งประกาศไปเมื่อคืน น่าจะเพียงพอต่อการช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในเศรษฐกิจได้ แต่ดูเหมือนตลาดจะต้องการมากกว่านี้ ดังนั้นหากสภาคองเกรสผ่านร่างงบประมาณเมื่อไหร่ ตลาดก็น่าจะกลับมามีสมดุลมากขึ้นเมื่อนั้น

· รายงานจาก CNBC เผยมุมมอง นักวิเคราะห์ที่ระบุว่าค่าเงินดอลลาร์มีโอกาสกลับทดสอบ 105 จุดได้ในระยะสั้นๆ ท่ามกลางการแกว่งตัวจากตลาดที่ผันผวนอย่างมากในเวลานี้ควบคู่กับความกังวลของกลุ่มนักลงทุน แต่ปัจจัยที่จะช่วยหนุนดอลลาร์ คือ

1. ข่าวร้ายต่อกลุ่มสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่

ซึ่งหลายๆค่าเงินไมว่าจะเป็นค่าเงินเรียลของประเทศบราซิล, ค่าเงินประเทศอินเดีย และอินโดนีเซียเองต่างก็อ่อนค่าลงทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และตลาดดูจะให้ความสนใจกับการประชุม G20 ที่ีมีโอกาสแทรกแซงค่าเงิน ในขณะที่เฟดเองก็ปรับลดดอกเบี้ยใกล้ 0% ดังนั้น ธนาคารกลางในกลุ่มประเทศเกิดใหม่จึงมีแนวโน้มจะใช้มาตรการปรับลดดอกเบี้ยด้วย

2. ผลกระทบเชิงลบต่อยอดส่งออกสหรัฐฯ

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยกล่าวย้ำว่า เขาไม่พึงพอใจที่เห็นดอลลาร์แข็งค่านักเนื่องจากกระทบกับการส่งออก โดยเฉพาะที่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาเวลานี้ ที่ดูจะส่งผล Curve Flattens รวมทั้งอาจทำให้อุปสงค์ของกลุ่มผู้บริโภคและอุตสาหกรรมดีดกลับได้เมื่อสถานการณ์นั้นจบลง

3. ดอลลาร์คือสินทรัพย์ที่ทั่วโลกสำรองเป็นอันดับต้นๆ

หากอ้างอิงจากรายงานของ IMF จะเห็นว่าดอลลาร์เป็นค่าเงินสกุลต่างประเทศที่มีการสำรองในนานๆประเทศสูงกว่า 61% และเกือบ 40% เป็นหนี้ทั่วโลกที่มีหน่วยเป็นค่าเงินดอลลาร์

ขณะที่ค่าเงินหยวนของจีนแม้จะเป็นประเทศที่มีการค้าอย่างมาก แต่ก็มีการสำรองทั่วโลกประมาณ 2% และนั่นเป็นเหตุผลสำคัญว่าความต้องการดอลลาร์ท่ี่ยังมีจะช่วยหนุนดอลลาร์ได้

4. ยูโร/ดอลลาร์ ชีวัดเศรษฐกิจสหรัฐฯ-ยุโรป

Standard Chartered คาดว่า จีดีพีปี 2020 ของสหรัฐฯจะโตได้เพียง -3.0% ขณะที่ยุโรปจะเติบโตได้เพียง -0.3% เช่นกัน และการที่เศรษฐกิจที่เผชิญปัญหาแต่เคลื่อนไหวในระดับเดียวกันก็น่าจะทำให้เราเห็นถึงการที่ยูโรมีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงได้ต่อเมื่อเทียบกับดอลาร์

อย่างไรก็ดี คงต้องรอให้การระบาดของไวรัสโคโรนาเข้าสู่จุดพีคที่สุดไปกอ่นแล้วค่อยๆเริ่มปรับตัวลดลงก่อนจะเกิด Bottom ที่มีความเสี่ยงจะเห็นแรงขายทำกำไรออกมาและเมื่อนั้นดอลลาร์จะกลับมาสู่กรอบที่แข็งแกร่งอีกครั้ง

· จีนรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ออกมาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวในการสรุปยอดเมื่อวาน เทียบกับยอดวันอาทิตย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อกลับภูมิลำเนา ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิดการระบาดอย่างหนักในประเทศจีนอีกครั้ง

· โอลิมปิกเลื่อนเป็น 24 ก.ค. ปีหน้า

คณะกรรมการบริหารโอลิมปิกสากลหรือ IOC ก็ตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะเกิดขึ้นในกรุงโตเกียว ไปเป็นวันที่ 24 กรกฎาคม 2021

ก่อนหน้านี้ไม่นาน ประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย ตามด้วยประเทศอังกฤษ เพิ่งประกาศว่าจะไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก หากไม่เลื่อนไปจัดในปีหน้า และทั้งสามประเทศก็เสนอว่าให้เลื่อนไปจัดในปีหน้า โดยระบุว่าเข้าใจถึงความยากลำบากและความซับซ้อนในการเลื่อนจัดงานที่มีการวางแผนมาอย่างแน่นหนาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ทั้งสามประเทศเห็นว่าความปลอดภัยของทั้งนักกีฬาและสาธารณะนั้นสำคัญยิ่งกว่า

· บรรดาผู้นำประเทศในกลุ่ม G20 จะมีการประชุมร่วมกันแบบ Video conference ภายในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤติ Covid-19 ท่ามกลางเสียงวิพากวิจารณ์ว่ารัฐบาลหลายๆประเทสมีการตอบสนองที่เชื่องช้ากับสถานการณ์

ทั้งนี้ การประชุม G20 เมื่อวคืนที่ผ่านมา เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างผู้นำทางด้านการเงิน ซึ่งได้ตกลงที่จะพัฒนาแผนรับมือทางเศรษฐกิจกับการระบาดของไวรั

· ตุรกีประกาศมาตรการจำกัดเวลาเปิด-ปิดร้านค้าต่างๆ รวมถึงจำกัดจำนวนลูกค้าภายในร้านและรถโดยสาร ซึ่งเป็นมาตรการเพิ่มเติมสำหรับการชะลอการระบาดของ Covid-19 ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อรวมในตุรกีเพิ่มขึ้นเป็น 37 ราย

· เยอรมนีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ออกมาเพิ่มขึ้น 4,764 ราย ทำให้ยอดรวมของประเทศเพิ่มเป็น 27,436 ราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 28 ราย รวมเป็น 114 ราย

· อังกฤษประกาศมาตรการคุมเข้มกิจกรรมของประชาชนในประเทศเพื่อชะลอการระบาดของ Covid-19 โดยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ชาวอังกฤษจะสามารถออกนอกบ้านได้เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นอย่างการออกไปซื้ออาหารหรือยาเท่านั้น และสามารถออกนอกบ้านเพื่อออกกำลังกายได้วันละครั้ง

ขณะที่สถานที่ที่ไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่ห้องสมุดไปจนถึงโบสถ์จะหยุดให้บริการ รวมไปถึงโรงยิมและสนามเด็กเล่น

ประชาชนที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถเรียกค่าปรับได้ทันที และเจ้าหน้าที่ยังมีอำนาจในการสั่งให้ระงับการชุมชุม และใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดกับผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือ

· มนูชินมั่นใจ ตกลงนโยบายงบ 2 ล้านล้านเหรียญได้เร็วๆนี้

นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ ร่วมกับนายชัค ชูมเมอร์ หัวหน้าพรรคเดโมแครตในวุฒิสภา ร่วมกันแสดงความเชื่อมั่นว่าจะสามารถเจรจาหาข้อตกลงในร่างนโนบายวงเงิน 2 ล้านล้านเหรียญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากวิกฤติ COVID-19 ได้เร็วๆนี้ โดยระบุว่าการเจรจามีความคืบหน้าอย่างมาก และหวังว่าจะสามารถหาข้อตกลงในขั้นสุดท้ายได้ภายในคืนนี้

· รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนี เผยว่า รัฐบาลจะกลับมาใช้นโยบายรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นนโยบายทางการออมอีกครั้ง จนกว่าวิกฤตไวรัสโคโรนาจะจบลง พร้อมกันนี้เยอรมนียอมรับว่าจะกลับมาจ่ายหนี้สินได้อีกครั้งในช่วงปี 2023

ทั้งนี้ คณะรัฐบาลเห็ฯชอบต่อมาตรการวงเงิน 7.5 แสนล้านยูโร (8.1225 แสนล้านเหรียญ) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากความเสียหายของการระบาดในเวลานี้ และน่าจะทำให้เยอรมนีกลับมามีหนี้ก้อนใหม่ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2013

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางความคาดหวังว่าสหรัฐฯจะสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับนโยบายช่วยเหลือเศรษฐกิจจากไวรัสโคโรนาเป็นวงเงิน 2 ล้านล้านเหรียญได้ ซึ่งอาจช่วยหนุนเศรษฐกิจและฟื้นผู้ปริมาณอุปสงค์ในน้ำมันได้

โดยราคาสัญญาน้ำมันดิบ Brent ส่งมอบเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 62 เซนต์ หรือ 2.3% ที่ระดับ 27.65 เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่ราคาสัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 76 เซนต์ หรือ 3.3% ที่ระดับ 24.12 เหรียญ/บาร์เรล โดยทั้งคู่ปรับตัวสูงขึ้นได้มากกว่า 1 เหรียญก่อนหน้านี้ ก่อนที่จะดีดกลับลงเล็กน้อย

· Barclays หั่นคาดการณ์น้ำมัน 12 เหรียญจากปัญหาไวรัส ความขัดแย้งกลุ่มโอเปก

ธนาคาร Barclays ปรับลดคาดการณ์เป้าหมายราคาน้ำมันดิบปี 2020 ลง 12 เหรียญ/บาร์เรลสำหรับราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI สู่ระดับ 31 และ 28 เหรียญ/บาร์เรลตามลำดับ โดยเป็นผลกระทบมาจากความขัดแย้งทางราคาน้ำมันระหว่างซาอุฯและกลุ่มโอเปก รวมถึงภาวะอุปสงค์ในน้ำมันที่อ่อนแอลงจากการระบาดของไวรัส COVID-19

ด้านปริมาณสต็อกน้ำมันทั่วโลกคาดว่าจะมีปริมาณรวมกันที่ 1.5 พันล้านบาร์เรล ซึ่งจะมีปริมาณอุปทานน้ำมันเกินความต้องการประมาณ 5 ล้านบาร์เรล/วัน และจะขยายตัวเป็น 10 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในไตรมาสที่ 2/2020 ขณะที่มาตรการเข้าซื้อน้ำมันที่รัฐบาลสหรัฐฯประกาศใช้ น่าจะไม่สามารถช่วยกอบกู้ผู้ประกอบการด้านน้ำมันในสหรัฐฯได้เท่าไหร่


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com