• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 20 มีนาคม 2563

    20 มีนาคม 2563 | Economic News


· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 244,979 ราย

- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 10,035 ราย

- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 179 ประเทศ (+6)

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีเพิ่มขึ้นอีก 5,322 ราย สู่ระดับ 41,035 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งสิ้น 3,405 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องล่าสุดเพิ่มมา 4,606 ราย รวมอยู่ที่ 13,865 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นแตะ 211 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดอยู่ที่ 272 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย

- การระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะกระจายไปแล้วทั่วโลก โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นอย่างมากในแถบยุโรปที่กลายมาเป็นศูนย์กลางแห่งการระบาดครั้งนี้ จะเห็นได้จากอิตาลีที่มียอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งการที่ยอดติดเชื้อสูงกว่า 242,000 ราย และเสียชีวิตกว่า 10,000 ราย ดูจะเป็นความเสียหายครั้งใหญ่เสมือนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2, วิกฤตทางการเงินในปี 2008 รวมทั้งการแพร่ระบาดของไข้หวัดในสเปนเมื่อปี 1918 ดังนั้น ผู้อำนวยการ U.N. จึงออกมากล่าวเตือนให้ระวังถึงภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่อาจเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่กำลังใกล้เข้ามา

- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยกเลิกการประชุม G7 ในเดือนมิ.ย. นี้ ที่จัดขึ้นที่ Camp David ท่ามกลางการระบาดอย่างหนักในสหรัฐฯและนานสประเทศ ขณะที่การประชุมดังกล่าวจะเปลี่ยนเป็นการประชุมผ่านทางวิดีโอแทน และคาดว่านายทรัมป์จะร่วมประชุมกับบรรดาผู้นำด้วยระบบดังกล่าวในช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค. แทน

นอกจากนี้ นายทรัมป์ยังกล่าวถึงวิกฤตไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯที่เป็นปัจจัยป่วนตลาดหุ้นเวลานี้ ว่าการระบาดอาจเกิดขึ้นจนถึงเดือนก.ค. หรือ ส.ค.

- สหรัฐฯยอดติดเชื้อสะสมพุ่งทะลุ 13,000 ราย ขณะที่ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า ในรัฐแคลิฟอร์เนียมีประชนในพื้นที่ 25.5 ล้านคน ที่ถูกคาดประชาชนกว่าครึ่งหรือ 56% จะติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ในช่วง 8 สัปดาห์ข้างหน้า เนื่องจากภายใน 24 ชั่วโมง พบผู้ติดเชื้อใหม่ 126 ราย หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 21% และทุกๆ 4 วัน เราจะเห็นการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

ทั้งนี้ ผู้ว่าการรัฐฯ เรียกร้องให้นายทรัมป์ให้การสนับสนุนโรงพยาบาล USNS Mercy ในพื้นที่ที่บริเวณท่าเรือลอสแองเจลิสต์จนถึง 1 ก.ย. เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่คาดว่าจะได้รับเชื้อในข้างต้น โดยล่าสุดในรัฐฯมีผู้ติดเชื้อแล้ว 699 ราย ขณะที่รัฐวอชิงตันติดเชื้อไป 1,376 ราย และรัฐนิวยอร์กติดเชื้อไปแล้วไม่น้อยกว่า 5,000 ราย

- สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯพรรครีพับลิกันเผยแผนที่ 3 ด้วยการเพิ่มการจ่ายเงินสดให้แก่รายบุคคลเป็นจำนวน 1,200 เหรียญ และคนมีคู่ 2,400 เหรียญ และอาจเพิ่มให้อีก 500 เหรียญ สำหรับเด็กๆ เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากไวรัสโคโรนาที่ดูจะสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ

อย่างไรก็ดี ยอดรวมเช็คอาจเพิ่มสูงกว่า 75,000 เหรียญ

- ด้านประธานาธิบดีสหรัฐฯก็กล่าวพร้อมให้การสนับสนุนภาครัฐบาลและเปิดกว้างต่อการช่วยเหลือกลุ่มภาคอุตสาหกรรมเอกชนและภาคบริษัทต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนาในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการบิน, เรือสำราญ และอาจจะรวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมการโรงแรมด้วย

ทั้งนี้ ทางทำเนียบขาวไม่ได้เผยรายละเอียดใดๆเพิ่มเติม โดยในส่วนของการเข้าซื้อหุ้นของภาคบริษัทต่างๆก็ยังอยู่ภายใต้การพิจารณา แต่คาดอาจเห็นการช่วยเหลือเพื่อรักษาฐานของบริษัทต่างๆรวมทั้งตำแหน่งงาน

- นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา แสดงความคาดหวังที่จะปิดพรมแดนสหรัฐฯ-แคนาดาโดยมีผลในคืนวันนี้ ซึ่งเป็นการเห็นพ้องกับทางสหรัฐฯในการปิดพรมแดนระหว่างกัน พร้อมกับการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในประเทศในการพาประชาชนที่อยู่ต่างแดนกลับเข้าประเทศ ซึ่งทั้งสหรัฐฯและแคนาดาเองต่างก็มีมาตตรการงดการเดินทางโดยไม่จำเป็นใดๆ เพื่อสกัดการระบาดของไวรัสโคโรนา

- นายกฯอังกฤษมั่นใจ ปัญหาไวรัสจะคลี่คลายใน 12 สัปดาห์

นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ออกมากล่าวถ้อยแถลงเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนในคืนที่ผ่านมา โดยระบุว่าอังกฤษสามารถก้าวข้ามวิกฤติไวรัสโคโรนาไปได้ หากใช้มาตรการที่เหมาะสม

โดยนายบอริสมีความเชื่อมั่นอย่างมากว่าจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ไวรัสได้ภายใน 12 สัปดาห์ หากทุกๆฝ่ายให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด และคาดว่าจะเริ่มเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อชะลอตัวลงในเดือน มิ.ย.

ทั้งนี้ นายบอริสระบุว่าเมืองลอนดอนจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมการระบาดที่รัดกุมยิ่งกว่านี้ เนื่องจากมีหลักฐานยืนยันว่าการระบาดของไวรัสได้เข้าสู่หลายๆพื้นที่ภายในเมืองหลวงของอังกฤษแล้ว

อย่างไรก็ตาม เมืองลอนดอนซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 9 ล้านคน ยังไม่ถึงขั้นที่จำเป็นต้องระงับระบบขนส่งมวลชน หรือปิดเมืองที่เป็นการชั่วคราวตามที่บางฝ่ายคาดการณ์ไว้แต่อย่างใด

- จีนอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่ม 8 แสนล้านหยวน หรือ 1.118 แสนล้านเหรียญให้แก่ภาคธนาคารผ่านเงินกู้ระดับต่ำของภาคธนาคารเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัส

- แหล่งข่าววงในเผยว่า ทางรัฐบาลออสเตรเลียจะทำการเปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งที่ 2 ในวันนี้

- ประธานาธิบดีบราซิล คาดว่าจุดพีคของการระบาดในบราซิลจะเกิดขึ้นในช่วง 3 หรือ 4 เดือน และคาดหวังว่าประเทศจะกลับสู่ภาวะปกติตามมาในอีก 7-8 เดือนจากนั้น ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมจะใช้มาตรการต่างๆเพื่อรับมือและไม่ให้เกิดภาวะ Panic แก่ประเทศ

อย่างไรก็ดี บราซิลตัดสินใจประกาศปิดห้างสรรพสินค้า และให้ประชาชนกักตัวอยู่ในที่พักอาศัย ขณะที่ธุรกิจแบบ E-Commerce ดูจะได้ประโยชน์ในช่วงวิกฤตนี้

แต่สมาคม E-Commerce ของบราซิลก็ยังมีแนวโน้มจะปรับทบทวนยอดขายในปีนี้ เนื่องจากยอดขายในปีนี้เติบโตได้แล้วประมาณ 18% จากปี 2019 ที่ระดับ 2.08 หมื่นล้านเหรียญ

- สเปนตัดสินใจสั่งปิดโรงแรม และให้การช่วยเหลือผู้ที่อยู่อาศัยตามบ้านเรือนท่ามกลางการระบาดของไวรัสที่ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นมาเป็นลำดับที่ 3 ของโลกในเวลานี้

- สายการบิน British Airways เผชิญพิษไวรัสโคโรนาพร้อมจะหั่นค่าจ้างนักบินลง 50% ในระหว่างเดือนเม.ย. - พ.ค. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในช่วงการระบาด


· พอร์ตงบดุลเฟดแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์, ธนาคารเริ่มปล่อยกู้ภายใต้นโยบายพิเศษ

พอร์ตงบดุลของเฟดปรับขึ้นทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 4.7 ล้านล้านเหรียญในสัปดาห์นี้ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มปล่อยให้กู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงภายใต้นโยบายสมัยวิกฤติทางการเงิน เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ข้อมูลที่เปิดเผยเมื่อคืนที่ผ่านมา ระบุว่าเฟดถูกกู้ยืมจากภาคธนาคารเป็นมูลค่ารวมมากกว่า 2.8 หมื่นล้านเหรียญสำหรับสัปดาห์นี้ เทียบกับยอดสัปดาห์ก่อนที่ 11 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการที่เฟดประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ พร้อมสนับสนุนให้ภาคเอกชนทำการกู้ยืมเพื่อนำเม็ดเงินไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

การปล่อยกู้โดยตรงของเฟดเปรียบเสมือน “ทางเลือกสุดท้าย” ที่ทางธนาคารพยายามหลีกเลี่ยงเพราะเป็นส่งสัญญาณถึงความตึงเครียดขั้นสูงสุดของเศรษฐกิจ

แต่ในปีช่วง 2007 – 2009 หรือสมัยวิกฤติทางการเงิน เฟดก็มีการปล่อยกู้โดยตรงและสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์เข้ากู้ได้อย่างอิสระเช่นกัน และเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เฟดได้ประกาศลดดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 0 - 0.25% และอนุมัติให้ธนาคารสามารถกู้เงินได้เป็นเวลานานถึง 90 วัน

· ประธานเฟดซานฟรานซิสโกยืนยัน นโยบายของเฟดกำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจ

นางแมรี ดาลีย์ ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก ยืนยันว่านโยบายปรับลดดอกเบี้ย อัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจ และลดกำแพงทางธุรกรรมที่ประกาศในช่วงสัปดาห์นี้ กำลังเริ่มส่งผลลัพธ์ต่อเศรษฐกิจแล้ว

โดยเธอได้ระบุว่า “นับเป็นสัญญาณที่ดีที่ได้เห็นการกู้ยืมจากภาคธนาคารมากขึ้น ขณะที่ความผันผวนของตลาดก็ดูจะเริ่มลดน้อยลงไปบ้าง”

“ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณว่านโยบายของเฟดกำลังได้ผล และนั่นเป็นสิ่งเดียวที่เฟดให้ความสำคัญมากที่สุด ณ ขณะนี้ ส่วนเราจับตาสถานการณ์ต่อไปและจะมีการเคลื่อนไหวทันที หากจำเป็น”

· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่คาดจะเห็นเฟดใช้เครื่องมือต่างๆที่ไม่เคยถูกหยิบมาใช้ในช่วงเวลากว่า 70 ปี อาทิ การควบคุม Yield Curve ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ยังคงมีการเพิ่มการสำรองเงินสด

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นแตะ 1.12% หลังจากที่ทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์บริเวณ 0.318% เมื่อวันที่ 9 มี.ค. แต่ภาพรวมก็ยังคงอยู่ต่ำกว่า 1.91% ที่ทำไว้ในช่วงสิ้นปีที่แล้ว ที่ปรับตัวขึ้นไปได้จากมุมมองเชิงบวกของเศรษฐกิจก่อนเผชิญกับไวรัสโคโรนา

· ค่าเงินดอลลาร์ยังคงอยู่ในทิศทางแข็งค่าติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เมื่อวานนี้ แม้ตลาดจะมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่ประชาชนก็ยังเลือกเข้าหาดอลลาร์จากการที่ธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกนั้นหันมาใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเน

ดัชนีดอลลาร์ปปรับแข็งค่าขึ้น 1% ที่ 101.76 จุด ซึ่งถือเป็นสูงสุดตั้งแต่ม.ค. ปี 2017 และภาพรวมสัปดาห์นี้ขยับแข็งค่าขึ้นมาแล้ว 3%

ค่าเงินยูโรปรับอ่อนค่าลง 1.31% ที่ 1.077 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดตั้งแต่เม.ย.ปี 2017 ท่ามกลางเหล่าเทรดเดอร์ที่ตอบรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากอีซีบี

ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 1.11% หลังจากที่บีโออีตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยสู่ระดับ 0.1% และมีการเข้าซื้อพันธบัตรเพิ่มเติม

· ปริมาณสต็อกน้ำมันสหรัฐฯร่วง ราคาน้ำมันขึ้นรายวันมากเป็นประวัติการณ์

ราคาน้ำมัน WTI ปรับสูงขึ้นได้ถึง 25% เมื่อคืนนี้ นับเป็นอัตราปรับขึ้นรายวันที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่ราคาน้ำมันปรับร่วงอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3 วันทำการและทำระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 20 ปี

ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิด +4.85 เหรียญ หรือ +24% ที่ระดับ 25.22 เหรียญ/บาร์เรล หลังลงไปทำระดับต่ำสุดในรอบ 18 ปี และในช่วงหลังปิดตลาดไปแล้วราคายังปรับขึ้นได้อีกถึง 35%

ด้านราคาน้ำมันดิบ Brent ปิด +3.59 เหรียญ หรือ +14.4% ที่ระดับ 28.47 เหรียญ/บาร์เรล หลังลงไปทำระดับต่ำสุดที่ 24.52 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของปี 2003

บรรดานักวิเคราะห์มองว่าการฟื้นตัวของราคาน้ำมันเป็นสัญญาณว่าตลาดคลายความกังวลลงในระยะสั้นๆ แต่เศรษฐกิจก็ยังคงเผชิญความเสี่ยงที่จะอ่อนแอจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาที่กดดันปริมาณอุปสงค์น้ำมันทั่วโลก ส่งผลให้ทั้งราคาน้ำมัน WTI และ Brent ต่างปรับลดร่วงลงมากว่าครึ่งหนึ่งภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ โดยปรับร่วงลงมากที่สุดในวันที่ 6 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่การเจรจาระหว่างโอเปกและรัสเซียประสบความล้มเหลว


 
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com