• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 17 มีนาคม 2563

    17 มีนาคม 2563 | Economic News

สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด:

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 183,112 ราย

- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 7,175 ราย

- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 162 ประเทศ

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ ล่าสุดอยู่ที่ 4,736 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 93 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทย ล่าสุดอยู่ที่ 177 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลี ล่าสุดอยู่ที่ 27,980 ราย และมีผู้เสียชีวิต 2,158 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิหร่าน ล่าสุดอยู่ที่ 14,991 ราย และเสียชีวิต 853 ราย

· รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้ผู้ที่เดินทางมาจากยุโรปทุกคน รวมถึงชาวญี่ปุ่นเอง เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศแล้วให้ทำการกักตัวเองเพื่อสังเกตุอาการเป็นเวลา 2 สัปดาห์ทันที และทางรัฐบาลจะกีดกันผู้ที่เดินทางมาจากบางพื้นที่ของสเปน อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และทุกพื้นที่ของไอร์แลนด์ ไม่ให้เข้าประเทศ

· ผู้ว่าการรัฐจอร์เจียประกาศสั่งปิดโรงเรียนโดยจะมีผลตั้งแต่พรุ่งนี้จนถึงสิ้นเดือนมี.ค.นี้

· รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า รัฐมนตรีแห่งโมนาโกพบผลเลือดติดเชื้อไวรัสโคโรนา

· ฮ่องกงประกาศจะกักตัวผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศทุกคนเป็นเวลา 14 วันเพื่อสังเกตุอาการ ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนาที่ทางรัฐบาลฮ่องกงมองว่าเป็นการระบาดที่รุนแรงในระดับโลก

· บรรดานักวิจัยจากสถาบันด้านโรคติดต่อและภูมิคุ้มกัน Peter Doherty ในออสเตรเลียประสบความสำเร็จในการศึกษากระบวนการตอบสนองของภูมิคุ้มกันมนุษย์ต่อไวรัส COVID-19 ผ่านการศึกษาตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยชาวออสเตรเลียวัย 40 ปี ซึ่งถือก้าวสำคัญที่จะช่วยให้สามารถผลิตวัคซีนและกระบวนการรักษาที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาได้

ทั้งนี้ นักวิจัยค้นพบว่าภูมิคุ้มกันมนุษย์จะมีการตอบสนองต่อไวรัส COVID-19 ด้วยลักษณะที่ใกล้เคียงกับไข้หวัด ทำให้นักวิจียสามารถทำความเข้าใจได้ว่าทำไมผู้ป่วยบางรายถึงสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่บางรายกลับมาอาการเกี่ยวกับระบบหายใจอย่างสาหัส

· รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนี คาดการณ์ว่าสถานการณ์ไวรัสโคโรนาจะเริ่มเบาบางลงในเดือน พ.ค. ซึ่งในระหว่างนั้นคาดว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

· ค่าเงินเยนอ่อนค่าขณะที่ค่าเงินอื่นๆแข็งค่าเล็กน้อย ท่ามกลางสัญญาณการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ แต่การซื้อขายในตลาดค่าเงินวันนี้ค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ยังอ่อนแอจากความผันผวนของตลาดในช่วงหลายวันที่ผ่านมา

โดยค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า 0.5% เมื่อเทียบกับเงินเยนแถว 106.32 เยน/ดอลลาร์ หลังจากแข็งขึ้นมาได้ถึง 1.3% ที่ระดับ 107.185 เยน/ดอลลาร์ ในช่วงต้นตลาด ตามหลังการรีบาวน์สูงขึ้นของดัชนีฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯกว่า 3% แต่ในภาพรวมรายสัปดาห์ ค่าเงินดอลลาร์ยังอ่อนค่า 1.6% เมื่อเทียบกับเงินเยน

ด้านค่าเงินยูโรทรงตัวแถว 1.1180 ดอลลาร์/ยูโร หลังเมื่อวานนี้มีความผันผวนอย่างมาก

· นิวซีแลนด์ประกาศอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจเป็นมูลค่า 1.21 หมื่นล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (5.97 พันล้านปอนด์) หรือคิดเป็น 4% ของ GDP ประเทศ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา

ในฝั่งสหรัฐฯ บริษัท Boeing ยืนยันว่าได้มีการเจรจากับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทำเนียบขาวและบรรดาผู้นำในสภาคองเกรสเกี่ยวกับนโยบายระยะสั้นที่จะมาช่วยเหลือบริษัทและอุตสาหกรรมการบินในสหรัฐฯทั้งหมด

ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่าได้ถึง 0.8% ก่อนจะย่อตัวกลับลงมาในแดนค่อนข้างทรงตัวแถว 0.6048 ดอลลาร์ ใกล้ระดับต่ำสุดของเมื่อวานที่ 0.60 ดอลลาร์

· ค่าเงินปอนด์ยังคงเผชิญแรงกดดันอย่างหนัก ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัส รวมกับภาวะ Brexit และยอดขาดดุลขนาดใหญ่ของรัฐบาล โดยค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงอีก 0.2% แถว 1.2250 ดอลลาร์/ปอนด์ ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนแถว 1.2203 ดอลลาร์/ปอนด์

· EUR/USD Price Analysis: ยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ หลังฟื้นตัวจากระดับ Fibo สำคัญ



บทวิเคราะห์โดย FX Street ระบุว่า ทิศทางอ่อนค่าจากระดับสูงสุดของค่าเงินยูโรที่ 1.15 ดอลลาร์/ยูโร ดูจะอ่อนกำลังลงหลังจากที่ค่าเงินลงไปชนกับแนวรับสำคัญและเริ่มฟื้นตัวขึ้นมา โดยมีโอกาสที่จะขึ้นทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1.12 ดอลลาร์/ยูโร

เมื่อวานนี้ ค่าเงินยูโรฟื้นตัวขึ้นจากระดับ 1.1052 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับ 61.8% Fibonacci retracement วัดจากระดับต่ำสุดของวันที่ 20 ก.พ. กับระดับสูงสุดของวันที่ 9 มี.ค. และปิดตลาดสูงขึ้นได้ 0.69% ระดับ Fibonacci ดังกล่าวยังเป็นระดับที่รองรับการอ่อนค่าของค่าเงินได้เมื่อวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่ผ่านมา

การที่ค่าเงินไม่หลุดแนวรับสำคัญและฟื้นกลับขึ้นมาได้หลายครั้งเป็นสัญญาณสำหรับฝั่งขาขึ้น หากค่าเงินสามารถยืนเหนือระดับ 1.12 ดอลลาร์/ยูโร จะเปิดโอกาสให้ค่าเงินขึ้นต่อไปยังระดับ 1.1237 ดอลลาร์/ยูโร หากผ่านระดับนี้ไปได้จะมีเป้าหมายถัดไปที่ 1.1495 ดอลลาร์/ยูโร

ในทางกลับกัน หากค่าเงินหลุดต่ำกว่า 1.1052 ดอลลาร์/ยูโร ค่าเงินจะกลับไปเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงต่อ


· USD/JPY Price Analysis: เงินเยนมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบแคบ


บทวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่า ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์หลังจากขึ้นไปทำระดับสูงสุดที่ 107.19 เยน/ดอลลาร์ในช่วงต้นตลาด ล่าสุดได้ย่อตัวลงมาเคลื่อนไหวแถว 106.34 เยน/ดอลลาร์ คิดเป็น +0.50%

แต่จุดที่น่าสังเกตุคือค่าเงินได้ลงมาเคลื่อนไหวในกรอบของเมื่อวานระหว่าง 107.57 – 105.15 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งอยู่ภายในกรอบกว้างของวันศุกร์ระหว่าง 108.50 – 104.50 เยน/ดอลลาร์

ดังนั้นหากค่าเงินฟื้นตัวเหนือระดับ 107.57 เยน/ดอลลาร์ จะหนุนให้ค่าเงินเคลื่อนไหวไปในทิศทางขาขึ้นต่อโดยมีเป้าหมายที่แนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่ 110.00 เยน/ดอลลาร์ แต่จะเจอแนวต้านแรกที่ 108.50 เยน/ดอลลาร์ก่อน

ในทางกลับกัน หากค่าเงินย่อตัวต่ำกว่า 105.15 เยน/ดอลลาร์ อาจส่งผลให้ค่าเงินย่อตัวลงต่อโดยมีเป้าหมายที่ 101.18 เยน/ดอลลาร์

· Goldman Sachs ปรับคาดการณ์ GDP Q1 สหรัฐฯสู่ระดับ 0%

ฝ่ายเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคาร Goldman Sachs เปิดเผยคาดการณ์เศรษฐกิจฉบับใหม่ โดยฉบับนี้ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP สหรัฐฯในไตรมาสที่ 1 ลงสู่ระดับ 0% จากเดิม 0.7% ขณะที่ไตรมาส 2 คาดว่าเศรษฐกิจอาจชะลอตัวได้มากถึง 5% ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่กดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 โดยในไตรมาส 3 คาดว่า GDP จะขยายตัวได้ 3% และ 4% สำหรับไตรมาสที่ 4 เมื่อคำนวณเฉลี่ยแล้วคาดว่าอัตราเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯทั้งปีนี้ น่าจะอยู่ที่ราวๆ 0.4% จากคาดการณ์เดิมที่ 1.2%

· Goldman Sachs ปรับคาดการณ์ เศรษฐกิจจีนอาจหดตัว 9%

ธนาคาร Goldman Sachs ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกมีแนวโน้มหดตัวถึง 9% จากคาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.5% ท่ามกลางตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมา “อ่อนแอลงอย่างมาก” อันเป็นผลมาจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ทั้งนี้ ทางธนาคารคาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะไม่สามารถกลับมาสู่ระดับก่อนที่จะเกิดการระบาด จนกว่าจะเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 สำหรับอัตราเติบโตของเศรษฐกิจเฉลี่ยรายปีคาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3% จากคาดการณ์เดิมที่ 5.5%

· นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าบีโอเจ ยืนยันกับทางรัฐสภาว่าหากเศรษฐกิจส่งสัญญาณย่ำแย่ลงยิ่งกว่านี้ ทางบีโอเจจะทำการผ่อนคลายนโยบายอีก

· ญีปุ่นกำลังพิจารณาลดภาษีเพื่อรับมือไวรัส

รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจญีปุ่นเปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังพิจารณามาตรการทางเศรษฐกิจต่างๆเพื่อรับมือการระบาดของไวรัสโคโรนา หนึ่งในนั้นอาจเป็นการปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่มลง 10% รวมถึงการเตรียมงบประมาณมูลค่า 30 ล้านล้านเยน (2.82 แสนล้านเหรียญ) เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นตัดสินใจปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 10% จากเดิม 8% เมื่อเดือน ต.ค. ปีก่อน ซึ่งเป็นนโยบายที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอการเติบโตลงสู่ระดับ 7.1% ในไตรมาสที่ 4 ดังนั้นหากญี่ปุ่นตัดสินใจลดภาษีมูลค่าเพิ่มลง 10% จะทำให้ระดับภาษีเหลือ 0% จึงถือเป็นมาตรการที่ค่อนข้างสุดโต่ง แต่ก็สะท้อนความร้ายแรงของไวรัสที่มีต่อเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจน

· Moody’s คาดเศรษฐกิจญี่ปุ่น-สิงคโปร์ไม่เติบโตปีนี้ ส่วนจีนชะลอตัว

สถาบัน Moody’s Investors Service เผยคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจในแถบเอเชีย-แปซิฟิกปี 2020 ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจส่วนใหญ่น่าจะย่ำแย่ลงจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา

โดยคาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นและสิงคโปร์จะไม่เติบโตเลยภายในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจจีนจะชะลอการเติบโตลงไปแถว 4.8% ส่วนเศรษฐกิจจีนฮ่องกงจะเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ

ภาพรวมปัจจัยพื้นฐานสำหรับเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกต่างชี้ไปในเชิงลบสำหรับปีนี้ ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจยูโรโซนและสหรัฐฯที่น่าจะชะลอการเติบโตลงมากกว่าที่คาดไว้เช่นกัน

· เจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ระบุว่า เศรษฐกิจของจีนจะกลับมาเป็นปกติในช่วงไตรมาสที่สองเนื่องจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาไวรัส

พร้อมทั้งยังกล่าวกับผู้สื่อข่าวในระหว่างการบรรยายสรุปว่า จีนมีเครื่องมือทางนโยบายที่เพียงพอและจะออกมาตรการที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสม

· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวขึ้นได้กว่า 1% ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่รอช้อนซื้อหลังจากที่ราคาดิ่งลงเมื่อไม่นานมานี้ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา และสงครามค่าเงินระหว่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย แต่ความกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจก็ดูจะเป็นปัจจัยลบต่อตลาดอยู่

น้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้น 55 เซนต์ หรือ +1.8% ที่ระดับ 30.6 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่ไปทำสูงสุดของวันที่ 31.25 เหรียญ/บาร์เรล

ด้านน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 1.06 เหรียญ หรือ +3.7% ที่ 29.76 เหรียญ/บาร์เรล โดยระหว่างวันราคาทำ High ที่ 30.21 เหรียญ/บาร์เรล

หัวหน้านักกลยุทธ์การตลาดจาก AxiCorp กล่าวว่า ตลาดยังมีแรงหนุนจากความต้องการของคนที่ชอบของถูกที่รอเข้าช้อนซื้อในขณะเดียวกันก็มีการทำ Short Covering ในตลาด


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com