• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 17 มีนาคม 2563

    17 มีนาคม 2563 | Economic News


· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด:

- จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 182,438 ราย

- จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 7,157 ราย

- จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 162 ประเทศ (+5)

- จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 4,663 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 86 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยล่าสุดอยู่ที่ 147 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย

- จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีล่าสุดอยู่ที่ 27,980 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2,158 ราย ขณะที่อิหร่านติดเชื้อพุ่งแตะ 14,991 ราย และเสียชีวิต 853 ราย




- นายมูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลงการณ์ถึงการประกาศปิดประเทศ โดยห้ามประชาชนออกนอกประเทศ และห้ามชาวต่าง่ชาติหรือนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ รวมไปถึงการประกาศปิดโรงเรียนและภาคธุรกิจตั้งแต่วันพุธนี้จนถึง 31 มี.ค. ท่ามกลางรายงานยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 566 ราย ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่มากที่สุดในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ท่ามกลางรายงานการรักษาหายดีแล้วในประเทศ 42 ราย และไม่มีรายงานการเสียชีวิตใดๆ

- สเปนก็ประกาศภาวะปิดเมืองหรือ Lockdown เช่นกันเป็นเวลา 15 วัน โดยห้ามประชาชนกว่า 46 ล้านคนในประเทศออกนอกพื้นที่โดยไม่มีความจำเป็นใดๆ

- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก TS Lombard เผยว่า ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในจีนมีแนวโน้มจะฟื้นตัวกลับได้ในเดือนมี.ค.นี้ หลังจากที่ร่วงลงไปในเดือนม.ค. - ก.พ. ซึ่งเป็นช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคอาจจะใช้เวลาค่อนข้างนานในการฟื้นตัวไม่ว่าจะเป็นในจีนเองหรือทั่วโลก

- ผู้จัดการและหัวหน้าดูแลฝ่าย Logistics ของ ShipMatrix กล่าวถึงกลุ่มผู้ค้าปลีกสหรัฐฯที่กำลังเป็นกังวลอย่างมากเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมที่ชะงักงันจากปัญหาไวรัสโคโรนาที่มีต้นตอมาจากจีน ที่กลายมาเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานและเริ่มที่จะส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าในช่วง Back-to-school

นอกจากนี้ ยังกระทบต่อช่วงเทศกาลวันหยุดทำให้ผู้ค้าปลีกหลายรายไม่สามารถสร้างผลกำไรได้ และตลอดช่วง 25 ปีเราไม่เคยพบเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน ดังนั้น จึงค่อนข้างยากที่จะคาดถึงผลที่จะตามมาในสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นนี้

- บรรดาผู้บริหารระดับสูงกังวลว่าไวรัสโคโรนาจะนำพาเศรษฐกิจโลกสู่ภาวะถดถอย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเงินในสหรัฐฯและเม็กซิโกที่ทำผลสำรวจให้แก่สถาบันการเงิน PwC เผยว่า ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 54% เชื่อว่าการระบาดของไวรัสจะกระทบต่อการดำเนินการในภาคธุรกิจ และกว่า 90% มองว่าต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนที่จะฟื้นคืนภาคธุรกิจหากการระบาดยังไม่

- ทรัมป์เผยมาตรการรับมือไวรัสโคโรนา มีผลบังคับใช้ 15 วัน

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศมาตรการรับมือไวรัสโคโรนาที่ชาวอเมริกันต้องปฏิบัติตามเป็นเวลา 15 วัน เพื่อชะลอการระบาดของไวรัส ซึ่งเป็นมาตรการเข้มงวดที่จะมาจำกัดวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน โดยเฉพาะการทานข้าวนอกบ้านและการเข้าสังคม

นายทรัมป์เผยมาตรดังกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อคืน ณ ทำเนียบขาว ท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯที่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 4,000 ราย ขณะที่ตลาดหุ้นยังคงปรับร่วงลงอย่างหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเมืองต่างๆในสหรัฐฯเริ่มออกมาตรการควบคุมไวรัสเป็นของตัวเอง

- มนูชินเล็งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “ครั้งใหญ่” เพื่อรับมือไวรัสโคโรนา

นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวหลังการประชุมร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา โดยระบุว่าเขากำลังเสาะหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “ครั้งใหญ่” เพื่อรับมือผลกระทบจากไวรัสโคโรนา แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติ

นายมาร์โก รูบิโอ หนึ่งในสมาชิกวุฒิสภาฝั่งรีพับลิกัน เผยว่านายมนูชินต้องการให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมุ่งเป้าหมายไปยังสายการบินและธุรกิจขนาดเล็กเป็นหลัก

นายมิทช์ แมคคอนเนล หัวหน้าวุฒิสภา ระบุว่าเขาต้องการผลักดันให้ร่างงบประมาณสำหรับการรับมือไวรัสโคโรนาที่ผ่านการลงมติในสภาผู้แทนราษฎรมาได้แล้ว สามารถผ่านการลงมติในวุฒิสภาได้ด้วย

- โพลสำรวจเผย ชาวอเมริกันกังวลไวรัสโคโรนา สูญเสียความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล

โพลสำรวจโดย Gallup เปิดเผยว่าชาวอเมริกันกว่า 60% มีความกังวล”อย่างมาก”ว่าพวกเขาหรือสมาชิกครอบครัวอาจติดเชื้อไวรัสโคโรนา เพิ่มขึ้นจาก 36% ในเดือน ก.พ. ขณะที่ความเชื่อมั่นในการรับมือไวรัสของรัฐบาลได้ปรับลดลงไปอย่างมาก

โพลสำรวจล่าสุดนี้จัดทำเมื่อวันที่ 2 – 13 มี.ค. ท่ามกลางอัตราการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กดดันให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการมารับมือไวรัส

ขณะที่ชาวอเมริกัน 61% “เชื่อมั่น”หรือ”ค่อนข้างเชื่อมั่น”ต่อความสามารถในการรับมือไวรัสของรัฐบาลสหรัฐฯ ลดลง 16% จากผลสำรวจเดือน ก.พ.

ก่อนหน้านี้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยกล่าวในเชิงสบประมาทการระบาดไวรัสโคโรนา แต่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉิน และล่าสุดได้ประกาศห้ามประชาชนรวมกลุ่มกันมากกว่า 10 คน รวมถึงระงับกิจกรรมทางสังคมเป็นเวลา 15 วันเพื่อชะลออัตราการระบาดของไวรัส

- บรรดาผู้นำรัฐมนตรีการคลังยูโรโซนให้คำมั่นว่าจะต่อสู้กับไวรัสโคโรนาทุกวิถีทางที่สามารถทำได้เพื่อรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ อันรวมไปถึงการฟื้นความเชื่อมั่นด้วย เนื่องจากในที่ประชุม European Commission มองว่า ผลกระทบจากไวรัสโคโรนาอาจทำให้เศรษฐกิจยูโรโซนที่ขยายตัวได้ 1.4% อาจปรับลงมาที่ 1% หรือแย่กว่านั้น

- ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจในญี่ปุ่นปรับตัวงทำต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปีในเดืนอมี.ค. ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่สร้างความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยด้วยเช่นกัน และนั่นส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลง อันกระทบให้การเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความเปราะบางด้วย

· ค่าเงินเยนปรับแข็งค่ากว่า 2% ที่ระดับ 105.7 เยน/ดอลลาร์ จากกลุ่มนักลงทุนที่ถือครอง Safe-Haven เพิ่มจากความกังวลเรื่องไวรัสโคโรนาที่ส่งผลให้บรรดาธนาคารกลางทั่วโลกหาวิธีบรรเทาผลกระทบครั้งนี้ ขณะที่ดอลลาร์แข็งค่ากลับมาได้เล็กน้อยแม้ว่าเฟดจะตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยแตะ 0% ก็ตาม พร้อมขยายยอดงบดุลในพอร์ตไม่น้อยกว่า 7 แสนล้านเหรียญ โดยดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.1% ที่ 97.95 จุด

ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.5% ที่ 1.1168 ดอลลาร์/ยูโร หลังไปทำสูงสุดระหว่างวันที่ 1.124 ดอลลาร์/ยูโร ในขณะที่เงินปอนด์ปรับอ่อนค่าลงทำต่ำสุดตั้งแต่ต.ค. บริเวณ 1.2250 ดอลลาร์/ปอนด์

นักวิเคราะห์จาก MUFG กล่าวว่า แม้บรรดาผู้กำหนดนโยบายต่างๆจะหาวิธีมาเพื่อลดความผันผวนในตลาดแต่ก็ไม่อาจหลีกหนีหลักฐานที่ปรากฎชัดว่าไวรัสโคโรนากำลังเข้าสู่จุดพีค

เมื่อวานนี้บีโอเจที่จัดประชุมฉุกเฉินก็ประกาศจะเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรและตราสารหนี้ รวมไปถึงธนาคารกลางนิวซีแลนด์ที่หั่นดอกเบี้ยในการประชุมฉุกเฉินเช่นกัน โดยหั่นดอกเบี้ยลง 0.75% สู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.25% ด้านธนาคารกลางออสเตรเลียทำการอัดฉีดเม็ดเงินสู่ระบบภาคธนาคาร 3.63 พันล้านเหรียญ

แต่ถึงแม้ธนาคารกลางต่างๆจะพยายามสักเท่าไรก็ไม่สามารถช่วยให้ตลาดหุ้นฟื้นตัวได้ เนื่องจากนักลงทุนกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสที่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก

ธนาคารกลางจีนเมื่อวานนี้มีการอัดฉีดเม็ดเงินเพิ่ม 1 แสนล้านหยวน (1.428 หมื่นล้านเหรียญ) เข้าสู่สถาบันการเงิน และการเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นก่อนทราบข้อมูลยอดค้าปลีก, ยอดผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน Fix-Asset ที่ออกมาแย่ลงอย่างมากในช่วงเดือนม.ค. – ก.พ.

ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.1% ที่ 7.0206 หยวน/ดอลลาร์ ในส่วนของค่าเงินนิวซีแลนด์และออสเตรเลียดอลลาร์อ่อนค่าลงมา 0.3% และเข้ากระทบกับค่าเงินรูเบิลของรัสเซีย, เปโซของเม็กซิโก และค่าเงินคราวน์ของนอร์เวย์ ที่ต่างก็ทำอ่อนค่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์

· น้ำมันดิบปิดปรับตัวลงต่ำกว่า 30 เหรียญ/บาร์เรล ท่ามกลางการระบาดไปทั่วโลกของไวรัสโคโรนา และภาครัฐบาลต่างๆเริ่มใช้มาตรการ Lockdwon เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นและอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะถดถอย

ทางด้าน Saudi Aramco มีแผนจะปรับเพิ่มกำลังการผลิตสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางการทำ Price War ระหว่างซาอุดิอาระเบียกับรัสเซี

น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับลง 3.8 เหรียญ หรือคิดเป็น -11.2% ที่ 30.05 เหรียญ/บาร์เรล โดยระหว่างวันร่วงลงทำต่ำสุดที่ 29.52 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ม.ค. ปี 2016 ในขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับลง 3.03 เหรียญ หรือ -9.6% ที่ระดับ 28.7 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2016


 
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com