• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2563

    13 มีนาคม 2563 | Economic News


· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

→ จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 134,540 ราย

→ จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 4,971 ราย

→ จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 127 ประเทศ (+4)

→ จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 1,697 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 41 ราย

→ จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีที่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกรวมอยู่ที่ 15,113 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1,016 ราย ขณะที่อิหร่านติดเชื้อพุ่งแตะ 10,075 ราย และเสียชีวิต 429 ราย



- ตลาดทั่วโลกเผชิญกับความผันผวนและแกว่งตัวลงทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จากสัญญาณการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่รัฐบาลจากไอร์แลนด์ และอิตาลีมีการเผยมาตรการใหม่ในการพยายามชะลอการแพร่ระบาดที่ ณ ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกกว่า 130,000 ราย

- สเปนประกาศปิด 4 เมืองเพิ่ม รวมทั้งมีการประกาศมาตรการรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกจิจากการระบาดของไวรัสในเวลานี้ ซึ่งดูเหมือนจะได้รับผลกระทบคล้ายกับมหันภัยสึนามิในกลุ่มภาคธุรกิจ

- ด้านสถานการณ์ในอิตาลีก็เรียกได้ว่าย่ำแย่มากที่สุดนับตั้งแต่เกิดสงครามมโลกครั้งที่ 2 หลังการติดเชื้อภายในประเทศพุ่งสูงขึ้น โดยวันพุธช่วงต้นตลาดจะเห็นการเพิ่มจำนวนจาก 10,149 ราย สู่ระดับ 12,462 ราย และมีผู้เสียชีวิตใน 24 ชั่วโมงมากถึง 196 ราย แตะ 827 ราย ขณะที่เช้านี้ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงกว่า 1,000 รายแล้ว และประชาชนกว่า 60 ล้านคนภายในประเทศต้องประสบกับภาวะ Lockdown และคาดจะเห็นผลกระทบใหญ่ต่อเนื่องอีกในช่วง 2-3 สัปดาห์

- นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีหวั่นมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อในประเทศกว่า 70% จากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกในเวลานี้

- สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเผยร่างนโยบายไวรัสโคโรนา

พรรคเดโมแครตในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเปิดเผยร่างนโยบายที่จะมาช่วยเหลือชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯประกาศยกเลิกทัวร์ตึกรัฐสภา

ร่างนโยบายดังกล่าวจะเป็นการช่วยให้คนงานสามารถลาป่วยแบบได้รับค่าจ้างเป็นเวลา 14 วัน และจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับครอบครัวของผู้ติดเชื้อไวรัสเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งทางเดโมแครตพยายามที่จะผลักดันให้สามารถลงมติร่างนโยบายนี้ใรรัฐสภาได้โดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ ร่างนโยบายยังให้การสนับสนุนในด้านสวัสดิการคนว่างงาน รวมถึงงบประมาณมูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญสำหรับการเลี้ยงเด็กและคนชรา

ร่างนโยบายยังให้งบประมาณเป็นมูลค่า 4 ร้อยล้านเหรียญ เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้ต่ำ หรือมารดาที่มีบุตรอายุน้อยแต่ต้องเสียงานหรือพักงานเนื่องจากไวรัสโคโรนา

และอีก 4 ร้อยล้านเหรียญสำหรับการสนับสนุนธนาคารอาหารชุมชน (Food banks) ให้สามารถรองรับปริมาณอุปสงค์ในอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น

ในด้านการตรวจคัดกรองโรค ภายใต้ร่างนโยบายนโนบายนี้ ชาวอเมริกันกลุ่มเสี่ยงจะสามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาได้แบบไม่มีค่าใช้จ่าย

- ทรัมป์เชื่อว่า “ทุกอย่างจะโอเค” ท่ามกลางตลาดหุ้นที่ร่วงอย่างหนัก

ตลอดเวลา 3 ปีที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดำรงตำแหน่งมา เขาได้โอ้อวดผลประกอบการที่แข็งแกร่งของตลาดหุ้นว่าเป็นผลงานความสำเร็จของเขามาโดยตลอด แต่ล่าสุด ผลประกอบการของตลาดหุ้นได้ปรับร่วงลงมาเกือบทั้งหมดของที่ตลาดหุ้นเคยทำไว้ได้

เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาก่อให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ตลาดหุ้นที่เคยปรับขึ้นได้ท่ามกลางนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจของนายทรัมป์ ล่าสุดได้ปรับลดลงต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของสมัยรัฐบาลโอบามาที่เคยทำไว้เสียอีก

หากคำนวณจากระดับของดัชนี S&P 500 ในวันเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ย. ปี 2016 เทียบกับระดับสูงสุดของ ก.พ. ที่ผ่านมา คำนวณได้ว่าดัชนีปรับสูงขึ้นถึง 58% แต่หากเทียบกับระดับเมื่อคืนนี้ดัชนีกลับสูงขึ้นเพียง 17% เท่านั้น หากเทียบกับสมัยรัฐบาลโอบามา ดัชนี S&P 500 สามารถปรับขึ้นได้ 41% ในระยะเวลาเท่าๆกัน

หากวัดตั้งแต่วันเข้าพิธีสาบานตนของนายทรัมป์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ปี 2019 ดัชนี S&P 500 ปรับขึ้นได้ต่ำกว่า 10% เทียบกับรัฐบาลโอบามาที่ทำได้ 70% ในการดำรงตำแหน่งสมัยแรก

ท่ามกลางผลประกอบการที่ตกต่ำของตลาดหุ้น เมื่อคืนนายทรัมป์ได้ทวีตข้อความที่แสดงถึงความไม่กังวลต่อสภาวะของตลาดหุ้นแต่อย่างใด

- สายการบิน United Airlines Holdings Inc กล่าวว่า สายการบินจะให้บริการเส้นทางการเดินทางจากยุโรปมายังสหรัฐฯตามปกติจนถึง 19 มี.ค.นี้ และหลังจากนั้นจะค่อยๆทยอยลดเที่ยวบินลง ขณะที่การระบาดของไวรัสดูจะส่งผลกระทบให้อุปสงค์การบินมีแนวโน้มจะอ่อนตัวลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากที่สหรัฐฯมีมาตรการการเดินทางที่เข้มงวดขึ้น โดยแบนการเดินทางจากยุโรปที่จะมีผลหลังจากวันศุกร์นี้

· ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงหลังอีซีบีประกาศมาตรการเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับไวรสโคโรนา แต่ไม่ได้มีการประกาศปรับลดดอกเบี้ยอย่างที่ตลาดคาดการณ์ และนั่นเป็นปัจจัยลบต่อยูโรในขณะที่ดอลลาร์แข็งค่า จากความผิดหวังของนักลงทุนในตลาดการเงิน โดยยูโรช่วงแรกดีดขึ้นมาแนว 1.13 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนจะปรับลง 0.5% ที่ 1.1198 ดอลลาร์/ยูโร

ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 1.1% ที่ 97.6 จุด ขณะที่ตลาดกลับมาให้ความสนใจต่อการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้าเนื่องจากคาดว่าเฟดน่าจะปรับลดดอกเบี้ยได้อีก 1% สู่ระดับ 0% หลังจากที่ปรับลดดอกเบี้ยไป 0.5% ในสัปดาห์ที่แล้ว

ค่าเงินเยนอ่อนค่ามา 0.5% ที่ 103.98 เยน/ดอลลาร์ หลังแข็งค่าไปมากที่สุดในรอบ 4 ปีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาบริเวณ 101.28 เยน/ดอลลาร์

· อีซีบีประกาศเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสู้ไวรัส แต่คงดอกเบี้ย

การประชุมอีซีบีเมื่อวานนี้ตัดสินใจคงดอกเบี้ยที่ -0.5% ตามเดิม แต่มีการเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรหรือ QE มากขึ้นสู่ระดับ 1.20 แสนล้านยูโรในปีนี้ (เดิม 2 หมื่นล้านยูโร/เดือน) พร้อมกับให้ความสนใจในเรื่องระดับหนี้สินภาคบริษัท

ทั้งนี้ การที่ตลาดคาดหวังจะเห็นอีซีบีลดดอกเบี้ยอีก 0.1% แต่ไม่ได้ลดในความเป็นจริง จึงทำให้นักลงทุนค่อนข้างผิดหวังต่อประเด็นนี้

อย่างไรก็ดี อีซีบีเรียกร้องให้รัฐบาลทำการสนับสนุนมาตรการเศรษฐกิจเพิ่มเติม พร้อมกล่าวเตือนว่ายุโรปเผชิญกับภาวะ “Major Shock” ที่อาจกลายมาเป็นอุปสรรคสำคัญได้ โดยเสนอให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนแลส่งเสริมสภาพคล่องแก่ภาคธุรกิจที่ดูจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา และอาจทำให้ยูโรโซนดิ่งลงสู่ภาวะถดถอย

· ธนาคารกลางจีนมีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในเร็วๆนี้

นายหลี่ เคอะเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวว่า ธนาคารกลางจีนน่าจะทำการปรับลดดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ เพื่อสนับสนุนภาคการเงินและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ซึ่งโดยภาพรวมจะหมายรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ที่ทางภาคธนาคารดูจะจำเป็นต้องมีในมือ ซึ่งคาด่าจะลดลงอีก 0.5% สำหรับ 6 ธนาคารชั้นนำรายใหญ่ของประเทศ และอาจปรับลงได้ 1% สำหรับภาคธนาคารอื่นๆและกลุ่มสินเชื่อ

· น้ำมันดิบดิ่งลงกว่า 7% หลังทรัมป์สร้างเซอร์ไพร์จำกัดการเดินทาง!

น้ำมันดิบ Brent ดิ่งลงกว่า 7% วานนี้หลังจากที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯประกาศจำกัดมาตรการการเดินทางจากยุโรปมายังสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หลังจากที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเป็นการระบาดระดับโลก

ขณะเดียวกันตลาดก็ยังมีความวิตกกังวลอยู่เกี่ยวกับการที่ชาติอาหรับจะทำการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อกดดันรัสเซีย

น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับลง 2.57 เหรียญ หรือ -7.2% ที่ 33.22 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ WTI ปิดปรับลง 1.48 เหรียญ หรือ -4.5% ที่ 31.50 เหรียญ/บาร์เรล

ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกและดาวโจนส์มีภาพที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยเกิด Black Monday เมื่อปี 1987 จากนโยบายทรัมป์ล่าสุด


· อดีตที่ปรึกษาทำเนียบขาวคาด ราคาน้ำมันจะร่วงต่อจนกว่าซาอุฯและรัสเซียจะไปถึง “จุดเดือด”

นายบ็อบ แมคนัลลี อดีตที่ปรึกษาด้านพลังงานในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดัลเบิลยู บุช คาดว่าราคาน้ำมันจะตกต่ำลงไปยิ่งกว่าระดับปัจจุบัน

ตลาดน้ำมันเกิดความผันผวนและปรับลดลงอย่างรุนแรงกว่า 20% หลังเกิดความขัดแย้งด้านการผลิตน้ำมันระหว่างกลุ่มโอเปกและพันธมิตร โดยรัสเซียปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือปรับลดกำลังการผลิต ทำให้ซาอุดิอาระเบียประกาศลดราคาส่งออกน้ำมันภายในเดือนหน้า และเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันสู่ระดับสูงสุดร่วมกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

โดยอดีตที่ปรึกษามองว่า แม้ตลาดน้ำมันจะผันผวนและมีราคาที่ตกต่ำ ทางซาอุดิอาระเบียจะไม่กลับมาปรับลดกำลังการผลิตลงในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน ดังนั้นราคาน้ำมันจะตกต่ำลงไปยิ่งกว่าระดับปัจจุบัน แต่ซาอุฯจะมี “จุดเดือด” หรือจุดที่พวกเขาไม่สามารถรับความเสี่ยงได้อีกต่อไป ซึ่งต้องรอดูว่าจะลงไปถึงจุดนั้นเมื่อไหร่


 
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com