• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2563

    10 มีนาคม 2563 | Economic News

· สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด:

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 114,285 ราย

Ø จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 4,009 ราย

Ø จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 113 ประเทศ (+9)

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 624 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 26 ราย

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในอิตาลีที่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกเพิ่มขึ้นอีก 1,797 ราย รวมอยู่ที่ 9,172 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 463 ราย ขณะที่เกาหลีใต้มีผู้ติดเชื้อที่ 7,478 ราย เสียชีวิต 53 ราย ด้านอิหร่านติดเชื้อพุ่งแตะ 7,161 ราย และเสียชีวิต 237 ราย

รายงานจาก CNBC แสดงให้เห็นว่า อัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในอิตาลีดูจะมีการชะลอตัวมากขึ้น แต่อัตราการติดเชื้อไวรัสดูจะยังคงยากที่จะควบคุม และมีอัตราการเพิ่มล่าสุดที่ 24% แตะ 9,172 ราย

- อิตาลีประกาศขยายมาตรการควบคุมไวรัสสู่ระดับประเทศ

รัฐบาลอิตาลีประกาศขยายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสจากเมื่อวานที่ประกาศปิดแคว้นลอมบาร์เดียทางตอนเหนือของเมืองมิลาน ล่าสุดนายกรัฐมนตรีอิตาลีประกาศให้มาตรการควบคุมไวรัสมีผลบังคับใช้ทั้งประเทศ เนื่องจากอิตาลีเป็นประเทศที่เผชิญการระบาดของโคโรนาไวรัสหนักที่สุดนอกเหนือจากประเทศจีน

รัฐบาลอิตาลีประกาศให้ประชาชนกว่า 60 ล้านคน หลีกเลี่ยงการเดินทาง ยกเว้นแต่การเดินทางเพื่อไปทำงานหรือในกรณีฉุกเฉิน หลีกเลี่ยงการรวมตัวกันทางสังคม และยกเลิกงานกีฬาต่างๆ โดยมาตรการนีเจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันอังคารนี้ ไปจนถึงวันที่ 3 เม.ย.

สถาบันการศึกษาทั้งหมดจะถูกปิดจนถึงวันที่ 3 เม.ย. ขณะที่การขนส่งมวลชนจะยังเปิดให้บริการตามปกติ ส่วนร้านอาหารและบาร์จะเปิดให้บริการได้จนถึงเวลา 18.00 น. เท่านั้น

- ทางด้านสหรัฐฯ ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์ ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นแตะ 155 ราย จาก 49 รายในวันศุกร์

- ล่าสุด นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะทำการเข้าพบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาพรรครีพับลิกันในวันนี้เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการผ่อนปรนมาตรการภาษีในเวลานี้ เพื่อช่วยเหลือแรงงานสหรับฯ รวมทั้งเพื่อไม่ให้แรงงานนขาดโอกาสในการรับเช็คเงินเดือน

- อิรักประกาศยกเลิกและให้งดการจัดงานในที่สาธารณะทั้งหมด รวมทั้งขอความร่วมมือจากประชาชนในการหลีกเลี่ยงการออกจากพื้นที่ หรือไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ขณะที่ชาวอิรักที่เดินทางมาจากอิหร่าน, จีน, เกาหลีใต้, อิตาลี, ญี่ปุ่น, ไทย, สิงคโปร์, คูเวต และบาห์เรน จะต้องทำการกักกันตัวเองเป็นเวลา 14 วัน

- ตัวแทนเดโมแครตกำลังพิจารณาเปลี่ยนแผนหาเสียง ท่ามกลางการระบาดของไวรัส

นายโจ ไบเดน และนายเบอร์นีย์ แซนเดอร์ ตัวแทนพรรคเดโมแครต กำลังปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับการระบาดของโคโรนาไวรัส เพื่อพิจารณาเปลี่ยนแผนการหาเสียง แต่ยังไม่มีตัวแทนคนใดที่ประกาศยกเลิการหาเสียง แม้จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกจะพุ่งสูงกว่า 110,000 ราย และรัฐบาลสหรัฐฯจะประกาศให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่แล้วก็ตาม

· สหรัฐฯอาจได้รับผลกระทบจากความแย้งรัสเซีย-ซาอุฯ

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและซาอุดิอาระเบียที่มีต่อราคาน้ำมัน ได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่นักวิเคราะห์จาก RBC มีมุมมองว่าผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งครั้งนี้ ดูเหมือนจะเป็นอุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯมากกว่า

ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ แต่การเปิดศึกราคาน้ำมันระหว่างรัสเซียและซาอุฯจะเป็นการกดดันอุตสาหกรรมน้ำมันของสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯในภาพรวมได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำ และมีโอกาสที่อาจทำให้สหรัฐฯสูญเสียฐานะผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลกไปได้


· รายงานจาก Bloomberg ระบุว่า บรรดานักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ อาทิ Deutsche Bank AG และ JP Morgan Chase & Co. มีความมั่นใจกันมากขึ้นว่าในการประชุมอีซีบีวันพฤหัสบดีนี้ จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ย และถือเป็นการนำของนางคริสติน ลาการ์ด ในบทบาทผู้นำอีซีบีที่จะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายแรกที่เป็นครั้งสำคัญอย่างรอบคอบและเป็นไปอย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ นักลงทุนและตลาดคาดว่า อีซีบีน่าจะทำการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก 0.1% และบางส่วนคาดว่าอาจจะเห็นการเพิ่มมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรหรือ QE เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ และอาจมีมาตรการเสริมสภาพคล่องโดยตรงแก่ภาคธุรกิจขนาดเล็กที่ชะลอตัวในเวลานี้



อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของจีนและสร้างอุปสรรคให้แก่ภาวะห่วงโซ่อุปทานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทของจีน ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถานศึกษา, การยกเลิกการจัดงานสำคัญ, มาตรการควบคุมการเดินทางท่องเที่ยว การทำงาน ที่ดูจะส่งผลต่อกลุ่มนักลงท่องเที่ยว, สายการบิน และบริการที่พักต่างๆไปทั่วยุโรปด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนและภาคธุรกิจนั้นเอง





สำหรับเศรษฐกิจยูโรโซนดูจะชะลอตัวลงด้วยอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 7 ปีที่ 1.2% ในปีที่แล้ว ขณะที่การมาของไวรัสโคโรนาดูจะตอกย้ำช่วงเวลาที่ย่ำแย่มากขึ้น เนื่องจากปีที่แล้วเศรษฐกิจของฝรั่งเศสและอิตาลีในไตรมาสสุดท้ายก็ดูไม่สู้ดีนัก ขณะที่เศรษฐกิจของเยอรมนีทรงตัว ทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายรายคาดกันว่ายูโรโซนจะได้รับผลกระทบสู่ภาวะถดถอยติดต่อกัน 2 ไตรมาสสู่อัตราการขยายตัวติดลบในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ได้

· ค่าเงินเยนและสวิสฟรังก์ปรับแข็งค่าขึ้นวานนี้หลังจากที่ราคาน้ำมันดิ่งลงกว่า 30% และตลาดหุ้นปรับตัวลดลง จึงทำให้ตลาดค่าเงินมีความผันผวนแกว่งตัวอย่างมากตามมา ในนขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯก็ยังคงเคลื่อนไหวทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอัตราผลตอบแทนอายุ 10 ปี ร่วงลงหลุด 0.4% เป็นครั้งแรก ท่ามกลางนักลงทุนและตลาดที่กังวลต่อภาวะเศรษฐกิจที่ดูจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา

ค่าเงินเยนแข็งค่าลงมาแตะ 101.2 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดรอบกว่า 3 ปี และปิดตลาดโดยภาพรวมแข็งค่า 3.2% ที่ 101.82 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเรียกได้ว่าเงินเยนปรับแข็งค่าได้อย่างต่อเนื่อง 3 วันทำการ และเป็นการปรับแข็งค่ามากสุดนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตการเงินปี 2008

ในส่วนของค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 1.3% ที่ 1.1425 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ช่วงต้นตลาดแข็งค่าไปแตะ 1.1492 ดอลลาร์/ยูโร

ดัชนีดอลลาร์ทำอ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ก.ย. ปี 2018 และล่าสุดอยู่ที่ 95.039 จุด

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงรายวันหนักมากที่สุดตั้งแต่ปี 1991 นับตั้งแต่เกิดสงคราม Gulf War ท่ามกลางกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซียที่เริ่มต้นทำสงครามราคาหรือ Price War ต่อกัน และน่าจะก่อให้เกิดภาวะอุปทานล้นตลาดอีกครั้ง โดยซาอุดิอาระเบียและรัสเซียต่างจะทำการเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงปลายสัปดาห์นี้ หลังจากที่ไม่สามารถตกลงกันได้ในสัปดาห์ที่แล้วเกี่ยวกับข้อตกลงการจำกัดอุปทานในวันศุกร์ที่ผ่านมา

ภาพรวมราคาน้ำมันดิบปิดปรับตัวลงไปเกือบ 25% จาก Panic Selling และการปรับตัวลงอย่างหนักของตลาดหุ้นสหรัฐฯ อันมีผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสที่เข้าคุกคามเศรษฐกิจโลก

น้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 10.91 เหรียญ หรือ -24.1% ที่ 34.36 เหรียญ/บาร์เรล โดยระหว่างวันปรับลงไปมากถึง 31% ในช่วงต้นตลาดทำ Low ที่ 31.02 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ 12 ก.พ. ปี 2016

น้ำมันดิบ WTI ปิดลง 10.15 เหรียญ หรือ -24.6% ที่ระดับ 31.13 เหรียญ/บาร์เรล โดยช่วงต้นตลาดปรับตัวลงไปมากถึง 33% ทำ Low ที่ 27.34 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นต่ำสุดตั้งแต่ 12 ก.พ. ปี 2016

โดยเมื่อวานนี้เรียกได้ว่าเป็นวันที่มีการปรับตัวลงมากที่สุดของน้ำมันดิบทั้ง 2 สัญญานับตั้งแต่ 17 ม.ค. ปี 1997 ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายในตลาดที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์

 
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com