• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 6 มีนาคม 2563

    6 มีนาคม 2563 | Economic News



· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 98,088 ราย

Ø จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 3,356 ราย

Ø จำนวนประเทศติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 89 ประเทศ

Ø จำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นต่อเนื่องล่าสุดอยู่ที่ 221 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 12 ราย


- องค์การอนามัยโลกหรือ WHO เรียกร้องให้นานาชาติต่อสู้กกับการระบาดของไวรัส “ด้วยทุกสิ่งที่มี” ในการยับยั้งการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีการระบาดนอกประเทศจีนรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผู้อำนวยการ WHO ระบุว่าเราสามารถหยุดการระบาดของไวรัสได้โดยอาศัยความร่วมมือกันทั้งในด้านเทคโนโลยี เครื่องจักร และรัฐบาล จึงขอให้ทุกประเทศดำเนินการด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ และจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน

ทั้งนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกำลังมี “ความกังวลอย่างมาก” กับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการบริการด้านสุขภาพที่อ่อนแอ รวมถึงกังวลว่าบางประเทศไม่เห็นถึงความร้ายรแรงของไวรัสตัวนี้ หรือตัดสินใจจะไม่ดำเนินการใดๆเพื่อช่วยระงับการระบาดของไวรัส

- วุฒิสภาสหรัฐฯอนุมัติร่างกฎหมายงบประมาณฉุกเฉินเพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนา และจะทำการส่งต่อให้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้ทำการลงนามงบประมาณ 8.3 พันล้านเหรียญ เพื่อช่วยเหลือประเทศและรัฐบาลท้องถิ่นที่กำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดในสหรัฐฯเวลานี้ และคาดว่าการลงนามของนายทรัมป์ที่ก่อให้เกิดกฎหมายงบประมาณขึ้นมาจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาวัคซีนการต่อต้านการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และช่วยให้นานาประเทศสามารถควบคุมการแพร่เชื้อต่อกันได้

- ผลกระทบลูกโซ่จากไวรัส: อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเกาหลีใต้ชะงัก

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของเกาหลีใต้ โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนให้กับ Apple และ LG Electronics กำลังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการระบาดของไวรัส

อย่างแรกเลยคือการที่โรงงานผลิตในประเทศจีนจำเป็นต้องปิดทำการยาวนานกว่า 3 สัปดาห์ ทำให้วัตถุดิบที่จะส่งต่อไปยังโรงงานในเวียดนามมีไม่เพียงพอ จากนั้นเกาหลีใต้ก็เริ่มเผชิญการระบาดของไวรัส ส่งผลให้รัฐบาลเกาหลีใต้ตัดสินใจปิดกั้นการเดินทางเข้า-ออกประเทศเพื่อไม่ให้เชื้อไวรัสระบาดไปยังเมืองไฮฟอง ซึ่งเป็นเมืองท่าของเวียดนาม

ล่าสุด บรรดาบริษัทในเกาหลีใต้เริ่มเฝ้าระวังถึงความเป็นไปได้ที่ย่านอุตสาหกรรมในเมืองคูมิ ซึ่งห่างจากเมืองแดกูเพียงไม่ถึง 1 ชั่วโมง อาจเผชิญการะบาดของไวรัสและจำเป็นต้องชะลอการผลิตลง

นอกจากความยากลำบากในการหาวัตถุดิบจากประเทศจีนแล้ว LG ก็กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญของสมาร์ทโฟนอย่างหน้าจอและกล้อง เนื่องจากการกักบริเวณของคนงานบางส่วน และผลกระทบดังกล่าวก็ดูเหมือนจะกระทบไปยัง Apple ด้วย

- ธนาคารกลางแคนาดาอาจเผชิญกับบททดสอบจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยที่สัปดาห์นี้ธนาคารกลางแคนาดามีการตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลงมา 0.5% เช่นเดียวกับเฟด ทำให้ปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.25% และทางธนาคารกลางแคนาดาเองก็กำลังเตรียมพร้อมที่จะลดดอกเบี้ยต่อหากจำเป็น


· ตลาดต้องการมากกว่าการลดดอกเบี้ยของเฟด

ระหว่างนโยบายใช้จ่ายของภาครัฐกับการลดดอกเบี้ยของเฟด เป็นที่ชัดเจนว่าการใช้จ่ายของภาครัฐมีความสำคัญมากกว่าสำหรับการรับมือกับไวรัสการระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลต่อเศรษฐกิจได้

นักวิเคราะห์จากสถาบัน PGIM Fixed Income ระบุว่าการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.5% ของเฟดในช่วงต้นสัปดาห์เป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือเศรษฐกิจ แต่นั่นก็ไม่เพียงพอสำหรับการช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นที่อ่อนแอจากผลกระทบของไวรัสได้

เนื่องจากการลดดอกเบี้ยของเฟดไม่ได้ช่วยแก้ไขความกังวลของผู้บริโภคที่ไม่กล้าออกจากบ้านเพื่อไปจับจ่ายใช้สอยเพราะกลัวจะติดไวรัส ดังนั้น ภาครัฐควรเข้ามาช่วยเศรษฐกิจด้วยมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสควบคู่ไปกับนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลาย ก็จะเป็นการช่วยรักษาความเชื่อและสภาพคล่องของตลาดเอาไว้ได้

นักวิเคราะห์ย้ำว่า การลดดอกเบี้ยของเฟดเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจจริง แต่ไม่สามารถช่วยแก้ไขต้นตอของปัญหาได้แต่อย่างใด

· นายโรเบิร์ต เคพแลนด์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าวว่า เขากำลังติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างใกล้ชิดว่าจะกินเวลานานเท่าไร รวมทั้งจะมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วมากน้อยเพียงใดในสหรัฐฯ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจของเฟดในการดำเนินนโยบายทางการเงินอีกครั้งในการประชุมเดือนนี้

· ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนและยูโรต่อในเช้านี้ ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯทำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์จากความกังวลเรื่องไวรัสโคโรนาที่ดูจะทำใหนักลงทุนเลือกถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่า ขณะที่ตลาดคาดหวังจะเห็ฯเฟดลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ในเดือนนี้อีก 0.5%

ค่าเงินยูโรปิดปรับขึ้นเหนือสูงสุดเดือนธ.ค. บริเวณ 1.1239 ดอลลาร์/ยูโรได้ แต่ก็ยังมีแนวโมจะอ่อนค่าอยู่ในกรอบ หลังมีสัญญาณการ Break ทิศทางขาขึ้น และล่าสุดค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1226 ดอลลาร์/ยูโร

ด้านค่าเงินเยนแข็งค่ามากที่สุดรอบ 6 เดือนที่ 105.96 เยน/ดอลลาร์ โดยปรับแข็งค่าเพิ่มขึ้นกว่า 1.2% วานนี้ และเป้าหมายต่อไปคาดจะอยู่ที่ 105.72 และ 104.44 เยน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นต่ำสุดของเดือนส.ค. และก.ย. ปีที่แล้ว

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงมาที่ 96.820 จุด หลังจากไปทำสูงสุดบริเวณ 97 จุดในช่วงต้นตลาด

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวลงแตะ 0.91% โดยปรับร่วงลงมาแล้วกว่า 0.66% ในช่วง 11 วันทำการ

Fed Fund Futures คาดมีโอกาสที่จะเห็นเฟดปรับลดดอกเบี้ยได้ภายในสิ้นปีนี้ได้มากกว่า 0.8%

· กลุ่มนักลงทุนกำลังให้ความสำคัญและจับตาไปยังข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯในค่ำคืนนี้ เนื่องจากอาจเห็นผลกระทบเชิงลบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้ โดยตลาดคาดอาจเห็นการจ้างงานในเดือนก.พ. ออกมาแถว 175,000 ตำแหน่ง โดยลดลงจาก 225,000 ตำแหน่งในเดือนม.ค.

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ยังคงตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐฯได้อยู่ โดยที่มีการว่างงานลดลง 3,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 216,000 รายเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้

· รายงานจากรอยเตอร์ส เผยว่า รัฐบาลอังกฤษจะจัดทำแผนงบประมาณอย่างน้อย 4.4 พันล้านปอนด์ (5.6 พันล้านเหรียญ) สำหรับงบการเสียภาษีในการเตรียมออกจากอียู และนี่คือมูลค่าแรกสำหรับการออกจากอียู

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ยังไม่มีสัญญาณว่าจะชะลอตัวลง จึงยิ่งเพิ่มความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก และส่งผลให้นักลงทุนยิ่งทำการเทขายเข้ามาเพื่อไปถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย

น้ำมันดิบ Brent ปิดลดลงไป 1.14 เหรียญ หรือ -2.2% ที่ระดับ 49.99 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับลง 88 เซนต์ หรือ -1.9% ที่ 45.90 เหรียญ/บาร์เรล

อย่างไรก็ดี กลุ่มโอเปกรวมทั้งรัสเซียและชาติพันธมิตอื่นๆก็มีความเห็นพ้องกันที่จะทำการปรับลดกำลังผลิตลง 1.5 ล้านบาร์เรล/วันในช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งถือเป็นระดับการปรับลดกำลังการผลิตลงที่มากที่สุดตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินในปี 2008 แม้ว่ากลุ่มนักวิเคราะห์และเหล่าเทรดเดอร์บางส่วนจะแสดงความกังวลถึงช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ตลาดอาจเผชิญกับภาวะ Oversupply จากอุปสงค์ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง




 
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com