• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 2 มีนาคม 2563

    2 มีนาคม 2563 | Economic News


· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา


Ø จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมล่าสุดอยู่ที่: 88,377 ราย

Ø จำนวนผู้เสียชีวิตโดยรวมล่าสุดอยู่ที่: 3,001 ราย

Ø จำนวนประเทศที่ติดเชื้อทั่วโลกรวมอยู่ที่: 67 ประเทศ และมีเรือสำราญที่นักท่องเที่ยวนานาประเทศติดเชื้ออีก 1 ลำ (เรือ Diamond Princess)

- ผู้อำนวยการอนามัยโลกหรือ WHO กล่าวเตือนว่า สหภาพยุโรปอาจเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างน่าตกใจท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในอิตาลี โดยล่าสุดจะเห็นว่าอิตาลีมีผู้ติดเชื้อรวมแล้วทั้งสิ้น 1,694 ราย (ล่าสุด) จากระดับ 1,128 รายเมื่อวันอาทิตย์ ซึ่งอิตาลีถือเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ในยุโรปและใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของโลก ดังนั้นการติดเชื้อดังกล่าวจึงมีแนวโน้มที่อาจกระจายสู่ประเทศอื่นๆในยุโรปได้

อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้รัฐบาลเตรียมอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกรุต้นเศรษฐกิจที่กำลังเปราะบางเพิ่มเติม

- ออสเตรเลีย, ไทย และสหรัฐฯ พบรายงานผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนารายแรก

- รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขฝรั่งเศส เผยพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 130 ราย

- อิรักรายงานพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 6 ราย รวมมีผู้ติดเชื้อในประเทศล่าสุดเพิ่มมาที่ 19 ราย

- นายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศถึงจำนวนยอดผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นอีก 13 ราย ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 36 ราย พร้อมแสดงความกังวลต่อยอดผู้ติดเชื้อที่อาจเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

- นายอเล็กซ์ อาซาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐฯ เผยกำลังจัดเตรียมเครื่องมือทดสอบไวรัสโคโรนาจำนวน 75,000 ชุดในเวลานี้ หลังคาดว่าไวรัสโคโรนามมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มในสัปดาห์นี้

- ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดในจีนที่เป็นคนแรกในการตรวจพบไวรัส SARS และเป็นผู้นำการต่อสู้กับโรคระบาดดังกล่าวในปี 2003 ระบุว่า หน่วยงานศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อของจีนมีการเตือนสัญญาณเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาอย่างล่าช้า และจะพบว่า CDC เองไม่ได้มีอำนาจอะไรมากพอต่อการตัดสินใจดำเนินการครั้งต่อไป

ขณุที่ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆมองว่า หน่วยงานดังกล่าวของจีนดูจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ด้วยการโดนปรับลดงบประมาณและอำนาจการดำเนินงาน โดยคณะกรรมาธิการด้านสุขภาพแห่งประเทศจีนจะทำการปรับลดงบประมาณของ CDC ในจีนลงประมาณ 70% จากช่วง 5 ปีที่แล้ว ที่อยู่ที่ระดับสูงสุดที่ 1.1 พันล้านหยวน (157.5 ล้านเหรียญ) ในปี 2015 ที่ได้รับงบสนับสนุนจากการเผชิญกับไวรัส H7N9

นอกจากนี้ จีนน่าจะทำการปรับลดงบประมาณด้านสาธารณสุขลงอีก 30% เพื่อไปเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดยังคงเชื่อว่าจีนจะสามารถควบคุมไวรัสดังกล่าวได้ภายในช่วงสิ้นเดือนเม.ย.

- สหรัฐฯเตรียมทดสอบวัคซีน แต่อาจไม่พร้อมให้ประชาชนในเวลานี้

นายไมค์เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุว่า กระบวนทดสอบวัคซีนสำหรับเชื้อไวรัส COVID-19 อาจเริ่มขึ้นในอีก 6 สัปดาห์ข้างหน้า แต่วัคซีนอาจไม่ถูกแจกจ่ายออกสู่สาธารณะภายในช่วงฤดูกาลนี้ เนื่องจากทางสำนักงานอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ กำลังเร่งดำเนินเพื่อทำให้แน่ใจได้ว่าวัคซีนจะพร้อมสำหรับชาวอเมริกันภายในปีหน้า

รองประธานาธิบดีสหรัฐฯชี้ เครื่องมือตรวจสอบไวรัสกว่า 15,000 เครื่องกำลังถูกส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญ โดยระบุว่าเครื่องมือตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 กำลังถูกจัดส่งไปให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญกว่า 15,000 เครื่องเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

การดำเนินการครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่าเครื่องมือสำหรับการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสของสหรัฐฯอาจมีจำนวนจำกัดหรือไม่เพียงพอ โดยผู้ต้องสงสัยและอยู่ระหว่างทดสอบหาเชื้อไวรัสดังกล่าวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 472 ราย

เครื่องมือดังกล่าวได้รับการรับรองจาก FDA และทางรัฐบาลกำลังเตรียมจัดส่งเครื่องมือเพิ่มอีก 50,000 เครื่อง แต่ไม่ได้ระบุว่าจะจัดส่งเมื่อไหร่

- ประธาน WHO ชี้ ตลาดโลกควรใจเย็นและประเมินสถานการณ์ไวรัสตามความเป็นจริง

ท่ามกลางความแตกตื่นในตลาดโลกที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานองค์กรอนามัยโลกหรือ WHO ได้ออกมากล่าวเรียกร้องให้ตลาดใจเย็นลงก่อน และควรมองสถานการณ์ไวรัสใหม่อย่างมีเหตุผลและอยู่บนหลักของความเป็นจริง

ถ้อยแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังตลาดหุ้นทั่วโลกปรับร่วงลงอย่างหนักที่สุดนับตั้งแต่สมัยวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2008 โดยดัชนีดาวโจนส์เมื่อสัปดาห์ก่อนปรับร่วงลงกว่า 3,500 จุด หรือมากกว่า 12% และนับเป็นการปรับร่วงรายสัปดาห์ที่มากที่สุดในรอบ 12 ปี

· ค่าเงินเยนกลับมาแข็งค่าทำระดับมากที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์เมื่อเทียบดอลลาณ์ โดยมีการปรับแข็งค่ารายวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่พ.ค. ปี 2017 ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่วิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯ จึงทำให้เงินเยนถูกเข้าถือครองเพิ่มในฐานะ Safe-Haven

และความคาดหวังเกี่ยวกับการแพร่ระบาดในจีนที่น่าจะควบคุมได้ ก็ถูกทดแทนด้วยความกังวลที่เพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลก ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะห่วงโซ่อุปทาน, เศรษฐกิจ และตลาดการเงินทั่วโลก

พร้อมกันนี้ตลาดกลับมาคาดการณ์ถึงการลดดอกเบี้ย!

นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟด ได้เคยระบุว่าเฟดจะดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐฯ

คาดการณ์เกี่ยวกับเฟดปรับลดดอกเบี้ยออกมาอีกครั้ง โดยตลาดการเงินมองโอกาสมากขึ้นที่จะเห็นเฟดทำการลดดอกเบี้ยเร็วที่สุดในเดือนหน้า

ด้านธนาคารกลางยุโรปเองก็เป้นอีกหนึ่งธนาคารที่ถูกคาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.1% ในการประชุมเดือนมิ.ย.

ด้านเงินเยนมีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นอีกเช่นกัน โดยล่าสุดเยนแข็งค่าไปอีก 1.41% ที่ระดับ 108.08 เยน/ดอลลาร์

ขณะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.26% ที่ระดับ 1.1027 ดอลลาร์/ยูโร ด้านค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงอีก 0.51% ที่ 1.2818 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ปิดที่ -0.093% ที่ระดับ 93.349 จุด

· กลุ่มนักลงทุนเริ่มกลับมาถกกันเรื่องการปรับลดดอกเบี้ย จากภาวะตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวลงอย่างหนักจากความกังวลเรื่องไวรัสโคโรนา ที่อาจทำให้บรรดาธนาคารกลางต่างๆน่าจะเลือกใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเพื่อรับมือกับผลกระทบดังกล่าวในระยะสั้น นำโดยเฟด

ทั้งนี้ นายบิล เนลสัน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระดับสูงของ Bank Policy Institute และเคยเป็นอดีตเจ้าหน้าที่เฟดที่ร่วมใช้นโยบายรับมือวิกฤตทางการเงินเมื่อปี 2007 – 2008 คาดการณ์ไว้ว่า

- ธนาคารกลางรายใหญ่ๆทั่วโลกจะเลือกใช้นโยบายปรับลดดอกเบี้ยเพื่อจัดการกับวิกฤตคล้ายช่วงปี 2008 อันหมายถึงเฟดและอีก 5 ธนาคารกลางสำคัญในช่วงนั้น รวมทั้งอาจเห็น ธนาคารกลางจีนและฮ่องกง เข้าร่วมแนวทางการดำเนินการดังกล่าวเพื่อบรรเทาผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

- การดำเนินการของธนาคารกลางบางแห่งอาจเริ่มอย่างเร็วที่สุดน่าจะเห็นได้ในวันที่ 4 มี.ค. หรือวันพุธนี้ ก่อนหน้าที่ตลาดสหรัฐฯจะเปิดทำการ หรือช่วงเวลาประมาณ 19.00 – 20.00น. (ตามเวลาไทย)

- เฟดที่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่กรอบ 1.50 – 1.75% อาจเลือกปรับลดดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุม 17-18 มี.ค. และนั่นจะส่งผลบวกต่อตลาดการเงินได้ รวมทั้งอาจส่งสัญญาณชี้นำต่อการดำเนินนโยบายในรยะสั้นๆ แต่นี่ก็อาจไม่ส่งผลให้ตลาดแปลกใจมากนัก เนื่องจากเงินเฟ้อยังคงอยู่ระดับต่ำ ซึ่งเฟดและธนาคารกลางอื่นๆยังคงต้องต่อสู้กับเรื่องดังกล่าว

- เฟดน่าจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยหรือใช้มาตรการคุมเข้มทางการเงินใดๆ จนกว่าที่เงินเฟ้อจะกลับมายืนเหนือระดับเป้าหมาย 2% ของเฟดที่กำหนดไว้ในช่วง 6 เดือนได้

· บรรดานักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs เป็นอีกหนึ่งรายที่คาดว่าจะเห็นเฟดทำการปรับลดดอกเบี้ย และบางทีอาจเกิดขึ้นก่อนคาดการณ์ หลังจากที่ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดเมื่อวันศุกร์ ซึ่งเป็นการกล่าวถ้อยแถลงที่ไม่ได้อยู่ในกำหนดการ โดยกล่าวถึงการจับตาใกล้ชิดต่อความคืบหน้าทุกประเด็นที่อาจนำไปสู่การใช้เครื่องมือเพื่อดำเนินนโยบายให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจ หลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงต่อเนื่อง 7 วันทำการ และการส่งสัญญาณดังกล่าวน่าจะเห็นเฟดเลือกขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมวันที่ 17-18 มี.ค. โดยคาดเฟดน่าจะลดดอกเบี้ยอีก 0.25%

· แหล่งข่าววงในเผยกับทางสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า เจ้าหน้าที่ทีมบริหารทรัมป์กลับมากำหนดให้วันที่ 11 มี.ค.นี้เป็นการจัดประชุมเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะออกมาตรารกควบคุมการขายสินค้าเทคโนโลยีของบริษัทหัวเว่ยและจีน โดยในที่ประชุมดังกล่าวจะรวมไปด้วย นายวิลเบอร์ รอส รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์, นายมาร์ค เอสเปอร์ รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคง, นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกะทรวงการคลัง

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงรายสัปดาห์ที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 ท่ามกลางความกังวลต่อปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ทั่วโลก โดยนักลงทุนมีความวิตกกังวลต่อการแพร่ระรบาดของไวรัสจากจีนไปสู่ประเทศอื่นๆอีกมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก

น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับลง -4.9% ที่ระดับ 44.76 เหรียญ/บาร์เรล และภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วร่วงลงไป 16% ถือเป็นสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่เดือนธ.ค. ปี 2008

น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับลง -3.2% ที่ระดับ 50.75 เหรียญ/บาร์เรล ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือน

ณ ขณะนี้ มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนานอกพื้นที่จีนไปแล้วกว่า 57 ประเทศ ในขณะที่มีผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 2,700 ราย

น้ำมันดิบ Brent ปรับลงไปแล้วกว่า 13% ในสัปดาห์ที่แล้ว และถือเป็นสัปดาห์ที่ปรับตัวลงไปมากที่สุดตั้งแต่ม.ค. ปี 2016



 
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com