• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563

    18 กุมภาพันธ์ 2563 | Economic News

· ค่าเงินยูโรยังทรงตัวในแดนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ก่อนหน้าการประกาศข้อมูล German ZEW Economic Sentiment เย็นวันนี้ ซึ่งถูกคาดว่าจะประกาศออกมาแสดงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลงต่อเศรษฐกิจเยอรมนี

ในตลาดเอเชียวันนี้ ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าหลังรายงานการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย ที่ทำให้ตลาดกลับมามีกระแสคาดการณ์เกี่ยวกับการผ่อนคลายนโยบายลงอีกครั้ง ขณะที่ค่าเงินหยวนอ่อนค่าจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนา



นักวิเคราะห์จาก IG Securities ระบุว่า ค่าเงินยูโรใกล้ที่จะทดสอบแนวรับสำคัญที่ 1.08 ดอลลาร์/ยูโร เนื่องจากปัจจัยกดดันอย่างภาวะเศรษฐกิจของยุโรปที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ขณะที่ในระยะสั้นค่าเงินยูโรดูเหมือนกำลังอยู่ในภาวะ Oversold จึงอาจมีการรีบาวน์ขึ้นได้เล็กน้อย แต่ภาพรวมยังเป็นแนวโน้มทิศทางขาลง



ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวแถว 1.0831 ดอลลาร์/ยูโร ใกล้ระดับต่ำสุดของเดือน เม.ย. ปี 2017

ค่าเงินปอนด์ทรงตัวแถว 1.2998 ดอลลาร์/ปอนด์ หลังจากเมื่อวานอ่อนค่าลง 0.3%



ค่าเงินหยวนในประเทศอ่อนค่า 0.2% แถว 6.9956 หยวน/ดอลลาร์ ท่ามกลางแรงกดดันจากความอ่อนแอของตลาดหุ้น หลัง Apple ออกมายอมรับถึงผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจของพวกเขา



ค่าเงินเยนแข็งค่าแถวระดับ 109.73 เยน/ดอลลาร์ แต่ภาพรวมยังคงเป็นการเคลื่อนไหวในกรอบแคบดังเดิม

ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่า 0.35% แถว 0.6693 ดอลลาร์ หลังรายงานการประชุมธนาคารกลางออสเคตรเลียมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการผ่อนคลายนโยบายในการประชุมครั้งแรกของปี


· USD/JPY: อุปสงค์เงินเยนแข็งแกร่ง ท่ามกลางตลาดหุ้นที่อ่อนแอ

นักวิเคราะห์จาก FX street ระบุว่า ในช่วงตลาดเอเชียเช้านี้ มีแรงเข้าซื้อกลับมาในค่าเงินเยนอีกครั้ง หนุนให้ค่าเงินแข็งค่าจากแถว 109.90 เยน/ดอลลาร์ สู่ระดับ 109.70 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ตลาดหุ้นเคลื่อนไหวในแดนลบท่ามกลางภาวะ Risk-off จากความกังวลไวรัสโคโรนา



Technical levels

ค่าเงินก่อตัวเป็นลักษณะ head-and-shoulders ขนาดใหญ่ในกราฟราย 1 ช.ม. โดยมีฐานที่ระดับ 109.67 เยน/ดอลลาร์ ดังนั้น หากค่าเงินย่อตัวลงและหลุดระดับดังกล่าว จะเปิดโอกาสให้ค่าเงินแข็งค่าต่อไปถึง 109.21 เยน/ดอลลาร์



· EUR/USD Forecast: เงินยูโรชะลอทิศทางขาลงเพื่อจับตาปัจจัยใหม่

เมื่อวานนี้ ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวแบบสะสมพลังใกล้ระดับต่ำสุดที่ 1.0830 ดอลลาร์/ยูโร เป็นส่วนใหญ่ มีบางช่วงที่ย่อลงมาแถว 1.0826 ดอลลาร์/ยูโร ตลาดยุโรปยังขาดปัจจัยสนับสนุนใหม่ๆ เนื่องจากปฏิทินตัวเลขเศรษฐกิจยูโรโซนสัปดาห์นี้ค่อนข้างว่างเปล่า ขณะที่ตลาดสหรัฐฯปิดทำการในวัน Presidents’ Day โดยปัจจัยที่กดดันค่าเงินมาตลอด คือสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจเยอรมนี และล่าสุด รายงานจากธนาคารกลางเยอรมนีก็ยังเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังอ่อนแอไม่ถึงที่สุด จึงมีแนวโน้มสูงที่ค่าเงินยูโรจะคงทิศทางขาลงต่อไป และยังมีปัจจัยเสี่ยงอย่างการระบาดของไวรัสโคโรนาที่อาจยิ่งกดดันการเติบโตของเศรษฐกิจลงไปอีก



ในวันอังคารนี้ จะมีการประกาศตัวเลข German ZEW Economic Sentiment ซึ่งคาดว่าจะประกาศออกมาชะลอตัวลงสู่ระดับ 21.4 จากเดิม 26.7 ขณะที่ ZEW Economic Sentiment สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจทั่วยุโรปที่แนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นได้บ้าง โดยคาดว่าจะออกมาที่ระดับ 30 จากเดิม 25.6 แต่ถ้าหากตัวเลขดังกล่าวออกมาต่ำกว่าคาด ค่าเงินยูโรก็อาจอ่อนค่าลงไปทำระดับต่ำสุดใหม่ของปีนี้



EUR/USD short-term technical outlook

ภาพระยะสั้นของค่าเงินยูโรเป็นทิศทางขาลง แม้จะทรงตัวในกรอบแคบๆสำหรับระยะสั้น และไม่มีสัญญาณว่าทิศทางขาลงจะชะลอตัวแต่อย่างไร โดยในกราฟราย 4 ช.ม. ค่าเงินเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 20 วัน ขณะที่ Indicators เริ่มส่งสัญญาณ Oversold จึงประเมินแนวรับแรกไว้ที่ 1.0810 ดอลลาร์/ยูโร และถัดไปที่ 1.0770 ดอลลาร์/ยูโร



แนวรับ: 1.0810 1.0770 1.0725

แนวต้าน: 1.0850 1.0895 1.0930

· นักวิเคราะห์จาก TD Securities คาดการณ์ว่า รายงานการประชุมเฟดที่จะเปิดเผยในคืนพรุ่งนี้ จะยังไม่มีอัพเดทสำคัญเกี่ยวกับมุมมเศรษฐกิจในอนาคตแต่อย่างใด และจะมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกับถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสในช่วงสัปดาห์ก่อน

อย่างไรก็ตาม ในรายงานการประชุมอาจมีอัพเดทเกี่ยวกับการกระบวนการประเมินสภาพเศรษฐกิจที่เฟดกำลังดำเนินการ ซึ่งอาจจะมีการกล่าวถึงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2% แม้เฟดจะมีการใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายก็ตาม

· เครือธนาคาร HSBC ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ในยุโรป จะมีประกาศผลประกอบการในปี 2019 ภายในวันนี้ ซึ่งตลาดคาดว่าทางธนาคารจะส่งสัญญาณเตือนถึงความยากลำบากของเศรษฐกิจที่อาจจะเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้

ขณะที่บรรดานักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารจะมีผลประกอบการในปี 2019 ค่อนข้างใกล้เคียงกับของปี 2018 ที่มีผลกำไรที่ 1.989 หมื่นล้านเหรียญ และรายได้ที่ 5.378 หมื่นล้านเหรียญ

· การประกาศผลประกอบการปี 2019 ของเครือธนาคาร HSBC พบว่ามีรายได้ก่อนคำนวณภาษีออกมาลดลง 33% ที่ระดับ 1.335 หมื่นล้านเหรียญ เนื่องจากทางธนาคารต้องมีการจ่ายค่าเสื่อมของทรัพย์สินไปถึง 7.3 พันล้านเหรียญ พร้อมเตือนว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาอาจกดดันการดำเนินธุรกิจในแถบเอเชีย

· จีนประกาศเปิดรับคำร้องขอยกเว้นภาษีสินค้า 696 รายการจากสหรัฐฯ เริ่มวันที่ 2 มี.ค.

รัฐบาลจีนประกาศจะเปิดรับคำร้องของให้ยกเว้นภาษีสำหรับสินค้า 696 รายการนำเข้าจากสหรัฐฯ ซึ่งรวมสินค้ากลุ่มเนื้อหมู เนื้อวัว เมล็ดถั่วเหลือง แก๊สธรรมชาติเหลว และน้ำมันดิบ



โดยผู้ประกอบการสหรัฐฯที่ต้องการได้รับการยกเว้นภาษีสามารถส่งคำร้องให้กับกระทรวงการคลังจีนได้ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. เป็นต้นไป

· จีนคาดผลกระทบต่อเศรษฐกิจการจากระบาดของไวรัส จะเห็นได้ชัดในเดือน ก.พ.

รัฐบาลจีนคาดการณ์ว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมที่มีบทสำคัญในประเทศจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา จะเริ่มเห็นตัวเลขที่ชัดเจนภายในเดือน ก.พ. ซึ่งจะทำให้สามารถประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานที่แม่นย้ำยิ่งขึ้น



ขณะที่ทาง Capital Economics คาดว่า เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 1/2020 อย่างแน่นอน พร้อมคาดว่าอัตราการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจีนในไตรมาสนี้จะชะลอตัวลงไป 2.5%



• นายหลิว จื้อหมิง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอู่ฉางในเมืองอู่ฮั่น เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในวันนี้ หลังทีมแพทย์ล้มเหลวในความพยายามช่วยยื้อชิวิต



• รายงานจากกระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศจีน ระบุว่าสามารถลดเวลาที่ใช้สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาแบบ Nucleic acid test (NAT) ลงจากเดิมที่ใช้เวลาถึง 2 วันเหลือเพียง 4-6 ช.ม.

· รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ในประเทศจีนชะลอตัวลงต่ำกว่าระดับ 2,000 รายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ม.ค. แต่ยังไม่มีวี่แววว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสได้ในเร็วๆนี้แต่อย่างใด ขณะที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น โดยที่ทางเกาหลีใต้ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทางเศรษฐกิจแล้ว

· สถาบันจัดอันดับ Moody's Investors Service เผยว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้สร้างแรงกดดันให้แก่ประเทศอื่นๆในแถบเอเชียแปซิฟิก โดยผลกระทบจากการแพร่ระบาดส่งผลต่อภาคการค้าและการท่องเที่ยว ขณะที่บางภาคส่วนได้รับผลกระทบจากปัญหาภาวะห่วงโซ่อุปทาน

และทั้งหมดนี้นำมาซึ่งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลงต่อจากปี 2019 จากภาวะการค้าทั่วโลกที่เข้ากระทบต่อกลุ่มภูมิภาค



Moody's ปรับลดคาดการณ์จีดีพีจีนลงจาก 5.8% สู่ 5.2% ในปี 2020นี้ และเศรษฐกิจทั่วทุกภูมิภาคก็ดูจะได้รับผลกระทบระยะสั้นจากเหตุดังกลาว ท่ามกลางการนำเข้าสินค้าที่ลดลง และอุปสงค์ที่อ่อนแออันจะนำไปสู่สาเหตุสำคัญของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่มาเก๊าและฮ่องกง ถูกคาดว่าจะเผชิญกับผลกระทบครั้งใหญ่เนื่องจากมีความใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับจีนเป็นหลัก

· สิงคโปร์ประกาศเพิ่มแพ็คเกจทางการเงินมูลค่า 4.5 พันล้านเหรียญเพื่อสนับสนุนสภาพเศรษฐกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

· จีนจะทำการยกเว้นรายการภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บสหรัฐฯไว้ 696 รายการ ตามข้อตกลงเฟสแรกที่ได้ร่วมลงนามกันไว้ หลังจากที่การงดเว้นภาษีรอบแรกมีผลบังคับใช้เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา

· HSBC Holding เผยจะทำการลดมูลค่าการถือครองสินทรัพย์ 1 แสนล้านเหรียญ รวมทั้งปรับลดสัดส่วนการลงทุนของภาคธนาคารและปรับระบบภาคธุรกิจในสหรัฐฯและยุโรปอีกกว่า่ครึ่ง ซึ่งสะท้อนถึงการที่จะมีการปรับลดพนักงานออก 35,000 ตำแหน่งในช่วง 3 ปี



· ราคาน้ำมันดิบ WTI ฟื้นตัวขึ้นในวันศุกร์ทดสอบ 52.5 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งหาก Break เหนือระดับดังกล่าวไปได้ ก็มีโอกาสเห็นบรรดาผู้ทำ Short เทขายกลับลงมา และคาดว่านักลงทุนกลุ่มนี้จะรอขายอยู่ระดับ 54 เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ ตลาดให้ความสำคัญกับประเด็นข่าวจากจีน โดยน้ำมันดิบถูกเทขายจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าอุปสงค์น้ำมันดิบในจีนจะเผชิญอุปสรรค หากไวรัสโคโรนายังคงแพร่ระบาดอยู่เช่นนี้ แต่ราคาน้ำมันดิบ WTI เองก็มีแนวโน้มจะไปแตะ 54 เหรียญ/บาร์เรลได้ ซึ่งหาก Break ขึ้นไปได้ก็จะทำให้ภาพกลับมาเป็นขาขึ้น



ในขณะเดียวกัน ทางการจีนเองก็พยายามที่จะยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัส รวมถึงผลกระทบที่อาจทำให้จีดีพีนั้นหดตัวลงได้



อย่างไรก็ดี ไม่คาดว่าน้ำมันดิบจะหลุดจาก 49 เหรียญ/บาร์เรลลงมาได้ แต่หากหลุดลงมาจะตอกย้ำตลาดในเชิงลบและมีโอกาสกลับลงหา 47.5 เหรียญ/บาร์เรล หรือแม้แต่อาจเห็นบริเวณ 45 เหรียญ/บาร์เรลได้ ดังนั้น นักลงทุนจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการถือครองสถานะของคุณ แต่หากคุณพยายามขายน้ำมันในเวลานี้ ก็อาจทำให้คุณเสียโอกาสในการเทรดได้เช่นกัน

· นักวิเคราะห์จาก FX Empire กล่าวว่า น้ำมันดิบ Brent มีปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบาง แต่หากราคาสามารถยืนเหนือ 57.5 เหรียญ/บาร์เรลได้ ก็อาจส่งสัญญาณให้ตลาดไปแตะ 60 เหรียญ/บาร์เรลได้ แต่หากเผชิญแรงเทขายลงมาก็คาดน่าจะเห็นราคากลับทดสอบแนวรับและพยายามที่จะขึ้นต่อ และหากผ่านแนว 60 เหรียญ/บาร์เรลไปได้ มีโอกาสเห็นราคากลับขึ้นไปที่เส้นค่าเฉลี่ย EMA 200 วัน

ในทางกลับกัน หากราคาหลุด 55 เหรียญ/บาร์เรล ก็อาจยังไม่เป็นขาลงจนกว่าราคาจะหลุดต่ำกว่าระดับดังกล่าวลงมาและไม่สามารถกลับขึ้นไปได้

· ราคาน้ำมันดิบในวันนี้กว่า 1% ปรับลงท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่ออุปสงค์น้ำมัน โดยน้ำมันดิบ Brent ปรับลงมา 79 เซนต์ หรือ -1.4% ที่ 56.88 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับลง 57 เซนต์ หรือ -1.1% ที่ 51.48 เหรียญ/บาร์เรล

นักวิเคราะห์ฝ่ายการตลาดอาวุโสจาก OANDA กล่าวว่า ราคาน้ำมันยังคงผันผวนหนักจากมุมมองที่อุปสงค์น้ำมันจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา จึงลดมุมมองเชิงบวกจากกลุ่ม OPEC+ ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มระดับการปรับลดการผลิตในเดือนมี.ค.นี้



หุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันนี้ หลังบริษัท Apple Inc ระบุว่า ช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มีแนวโน้มที่จะพลาดเป้ารายได้ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่จะส่งผลให้ภาคการผลิตชะลอตัว ควบคู่กับอุปสงค์ที่อ่อนแอ



ด้าน IEA เผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะเป็นปัจจัยท่ี่ทำให้อุปสงค์น้ำมันปรับตัวลดลงไปประมาณ 435,000 บาร์เรล/วันได้เมื่อเทียบรายปีในช่วง Q1/2020 และจะส่งผลให้ไตรมาสแรกนี้ อุปสงค์น้ำมันร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินในปี 2009


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com