• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 21 มกราคม 2563

    21 มกราคม 2563 | Economic News

· ค่าเงินเยนแข็งค่า ขณะที่ค่าเงินหยวนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวข่าวการระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่ ส่งผลให้เกิดเป็นกระแส Risk-aversion ในตลาด และสินทรัพย์เสี่ยงถูกเทขาย

ค่าเงินหยวนอ่อนค่าทั้งในและนอกประเทศเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ หลังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพขากประเทศจีนยืนยันว่า เชื้อไวรัสดังกล่าวสามารถติดต่อแบบ “คนสู่คน” ได้ พร้อมยังมีรายงานผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสเป็นรายที่ 4

ทั้งนี้ การระบาดของเชื้อไวรัส แม้จะยังอยู่ในขั้นแรกๆ แต่บังเอิญเกิดขึ้นในช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการท่องเที่ยวเข้าและออกจากประเทศจีนอย่างคึกคัก จึงมีความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสจะระบาดเป็นวงกว้าง

ค่าเงินเยนแข็งค่า 0.2% แถว 109.97 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินหยวนในประเทศอ่อนค่าลงมาแถว 6.8973 หยวน/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบสัปดาห์ ขณะที่ค่าเงินหยวนนอกประเทศอ่อนค่าลงมาแถว 6.9007 หยวน/ดอลลาร์

ส่วนดัชนีดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวแถว 97.589 จุด ใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน

ค่าเงินยูโรทรงตัวในกรอบแคบแถว 1.10968 ดอลลาร์/ยูโร ก่อนหน้าการประชุมอีซีบีในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าจะมีการประเมินมุมมองต่อเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนอีกครั้ง



· IMF คาดการณ์เศรษฐกิจโลกเติบโตปานกลาง, GDP สหรัฐฯจะร่วงในอีก 2 ปีข้างหน้า



รายงานมุมมองเศรษฐกิจล่าสุดของ IMF ได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอีก 2 ปีข้างหน้า ลดลงจากคาดการณ์เดิมในเดือน ต.ค. โดยคาดว่าเศรษฐกิจปี 2020 จะเติบโตได้ 3.3% (เดิม 3.4%) และปี 2021 ที่ 3.4% (เดิม 3.6%)

การปรับลดคาดการณ์ครั้งนี้ ถูกคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของบรรดาตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศอินเดีย และหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คือความไม่สงบทางการเมือง

-สหรัฐฯ ถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ 2.3% ในปี 2019, มาเป็น 2% ในปี 2020 (ลดลง 0.1%) และจะลดลงสู่ระดับ 1.7% ในปี 2021

-ยูโรโซน ถูกคาดการณ์ว่าจะขยายการเติบโตจาก 1.2% ปีก่อน มาเป็น 1.3% ปีนี้ (ลดลง 0.1%) ส่วนปี 2021 ถูกคาดว่าจะขยายตัวได้ 1.4%

-อังกฤษ ถูกคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตจะทรงตัวที่ 1.4% ในปี 2020 และจะปรับขึ้นเล็กน้อยมาเป็น 1.5% ในปีหน้า

-ญี่ปุ่น ถูกคาดการณ์ว่าอัตราเติบโตของปี 2019 ที่ 1% จะชะลอตัวลงมาเป็น 0.7% ในปี 2020 และจะยิ่งชะลอตัวลงสู่ระดับ 0.5% ในปี 2021

-จีน ถูกคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ 6.1% ในปี 2019, 6.0% ในปี 2020, และ 5.8% ในปี 2021





· รายงานจาก Statista ระบุว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำระดับโลก World Economic Forum รอบ 50 ปี ที่กรุงดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สะท้อนว่าบรรดากลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีการปรับทบทวนแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก โดยจะเห็นได้ว่า ไอเอ็มเอฟ ยังคงแนวโน้มเชิงบวกเมื่อเทียบกับองค์กรใหญ่อื่นๆ โดยมองวา่อาจเห็นการรีบาวน์ทางเศรษฐกิจได้ในปีนี้และปี 2021 แต่ก็ยังต้องระวังต่อมุมมองเชิงบวกดังกล่าว เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอน โดยเฉพาะเศรษฐกิจในกลุ่มตลาดเกิดใหม่

ทั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 4 ที่ไอเอ็มเอฟมีการปรับทบทวนคาดการณ์มาตั้งแต่เดือนม.ค. ปี 209 โดยคาดการณ์เดิมปี 2019 จะเติบโตได้ที่ 3.5% ขณะที่ปีนี้คาดจะโตได้ 2020

ขณะที่จากชาร์ทดังกล่าว จะเห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกปีนี้ทาง World Bank และ UN มองกรอบไว้ที่ 2.5% ขณะที่ไอเอ็มเอฟคาดไว้เฉลี่ยที่ 3.3% แต่สิ่งที่เหมือนกันคือทั้งหมดคงคาดการณ์เติบโตของปี 2021 ไว้



· บีโอเจประกาศคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด

ในการประชุมวันนี้ บีโอเจมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ -0.10% และคงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีไว้ที่ 0% ตามที่หลายๆฝ่ายคาดการณ์ไว้ พร้อมส่งสัญญาณว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำต่อไปเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ

ขณะที่ค่าเงินเยนค่อนข้างทรงตัว แม้จะตอบรับกับข่าวการประชุมบีโอเจ โดยยังทรงตัวต่ำกว่าระดับ 110.00 เยน/ดอลลาร์

รายงานจาก New York Times เผยว่า การประชุมบีโอเจวันนี้มีการคงดอกเบี้ยตามคาด พร้อมมีการปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่น ท่ามกลางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ไม่เพียงพอต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก จึงดูจะกดดันให้บีโอเจต้องเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

โดยที่บีโอเจมีการส่งสัญญาณระมัดระวังต่อมุมมองเชิงบวกของเศรษฐกิจโลก หลังจากที่สหรัฐฯและจีนเห็นพ้องกันลงนามข้อตกลงการค้าเฟสแรก ขณะที่บีโอเจมีการคงดอกเบี้ยไว้ที่ -0.1% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีที่ 0% โดยจะคงดอกเบี้ยหรือปรับลดดอกเบี้ยได้อีกครั้ง จนกว่าเงินเฟ้อจะบรรลุเป้าหมาย 2%

ในส่วนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยในช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณในเดือนเม.ย. น่าจะเห็นเศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตได้ที่ 0.9% เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ก่อนห้าในเดือนต.ค. ที่คาดว่าจะเติบโตที่ 0.7% โดยน่าจะได้รับอานิสงส์จากนโยบายกระตุ้นทางการเงินของรัฐบาลด้วยวงเงิน 1.22 แสนล้านเหรียญ รวมทั้งการเพิ่มเม็ดเงินทุนเพื่อชดเชยกับผลกระทบจากอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ และอุปสรรคจากห่วงโซ่อุปทานในปีที่แล้ว รวมทั้งผลจากไต้ฝุ่นที่เข้ากดดันผลผลิตภาคโรงงานอุตสาหกรรม ขณะที่ภาพรวมการเติบโตในปี 2021 ก็น่าจะเติบโตได้มากขึ้นด้วย แต่เงินเฟ้อก็น่าจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้จนกว่าจะถึงช่วงต้นปี 2020



· รัฐบาลจีนยืนยัน “โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่” สามารถระบาดจากคนสู่คน หลังมีรายงานผู้เสียชีวิตเป็นรายที่ 4 ในวันอังคารนี้

ขณะที่รายงานล่าสุดระบุว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ระบาดออกไปสู่ออสเตรเลียแล้ว หลังหน่วยงานด้านสุขภาพของออสเตรเลียตรวจสอบพบชายชาวออสเตรเลียที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโคโรนาไวรัส จึงได้สั่งกักบริเวณชายคนดังกล่าว และกำลังรอผลตรวจในลำดับต่อไป



· เมื่อช่วงเช้าตรู่ที่ผ่านมา มีรายงานเกี่ยวกับจรวดคัทยูชาจำนวน 3 ลูก ตกลงไปในพื้นที่กรีนโซนของกรุงแบกแดดใกล้สถานทูตสหรัฐฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งหน่วยงานสำคัญของรัฐบาลอิรักหลายหน่วยงานด้วยกัน เบื้องต้นยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด



· สถาบันจัดอันดับ Moody’s ปรับลดมุมมองความน่าเชื่อถือของระบบการปกครองฮ่องกงลง 1 ระดับ สู่ระดับ Aa3 จาก Aa2 โดยระบุว่า เนื่องจากรัฐบาลฮ่องกงไม่มีแผนที่น่าเชื่อถือสำหรับการแก้ไขปัญหา ทั้งทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม ตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา จึงบ่งชี้ถึงสถานการณ์ของฮ่องกงที่อ่อนแอลงยิ่งกว่าที่ทางสถาบันเคยคาดการณ์ไว้

อย่างไรก็ตาม สำหรับมุมมองเศรษฐกิจฮ่องกง ทางสถาบันได้ปรับคาดการณ์ขึ้นจากระดับ ติดลบ มาเป็น ทรงตัว เนื่องจากฮ่องกงยังมีความแข็งแกร่งทางด้านระบบการเงิน และความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจมหภาค



· ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งฮ่องกง หรือ Hong Kong Stock Exchange (HKEX) มีมุมมองว่า รัฐบาลจีนควรปล่อยให้ฮ่องกงจัดการกับปัญหาภายในประเทศของพวกเขาเอง พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศได้ และปัญหาบางส่วนก็เริ่มที่จะได้รับการคลี่คลายลงไปบ้างแล้ว


· ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงเกือบ 1 % เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียจะกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง หลังจากที่โรงกลั่นน้ำมันรายใหญ่ 2 แห่งของลิเบียเริ่มปิดทำการท่ามกลางกองกำลังแห่งชาติลเบียที่สั่งปิดท่าเรือ

โดยน้ำมันดิบ Brent ปรับลดลง 56 เซนต์ หรือเกือบ 0.9% ที่ระดับ 64.64 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ กว่าหนึ่งสัปดาห์ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางด้านน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 35 เซนต์ หรือ 0.6% ที่ระดั บ 58.19 เหรียญ/บาร์เรล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com