• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2562

    24 ตุลาคม 2562 | Economic News
 

· ค่าเงินดอลลาร์และค่าเงินปอนด์ทรงตัวท่ามกลางกลุ่มผู้นำอียูที่กำลังพิจารณาข้อเรียกร้องของอังกฤษสำหรับการชะลอตัวออกจากอังกฤษ ที่ถูกคาดว่าจะขยายกำหนดเส้นตายจาก 31 ต.ค. ออกไปอีก 3 เดือน

· นายโดนัลด์ ทัสก์ ประธานสภาอียู กล่าวทางทวิตเตอร์ในช่วงปลายตลาดที่สะท้อนว่าบรรดาผู้นำอียูสนับสนุนการเลื่อนออกจาก Brexit ขณะที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษถูกบังคับจากทางรัฐสภาอังกฤษที่เรียกร้องให้เกิดการขยายเวลาออกไป 3 เดือน แต่ก็มีโอกาสที่สมาชิกอียูบางประเทศ อาทิ ฝรั่งเศสที่อาจขยายเวลาให้สั้นกว่านั้น

อย่างไรก็ดี นายจอห์น บอริส นายกรัฐมนตรีอังกฤษชะลอร่างข้อตกลง Brexit หลังจากที่เกิดความ

ดรามาของผลโหวตเมื่อวันอังคาร ซึ่งรัฐสภาอังกฤษยอมรับข้อตกลงหลักสำคัญได้ แต่ยังคงปฏิเสธกรอบเวลาช่วง 3 วันในการผ่านร่างกฎหมายที่จำเป็

· ค่าเงินปอนด์เผชิญแรงเทขายในค่าเงินปอนด์ที่ร่วงลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์และค่าเงินยูโร โดยค่าเงินปอนด์ร่วงลง 0.02% ที่ระดับ 1.287 ดอลลาร์/ปอนด์ และอ่อนค่าลง 0.8% เมื่อเทียบค่าเงินยูโรที่ระดับ 86.34 เพนซ์ โดยดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.08% ที่ 97.606 จุด

· ค่าเงินในกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัยได้รับแรงหนุนจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ Brexit แต่หลังจากอียูมีแนวโน้มจะอนุมัติการขยายระยะเวลา โดยเงินเยนแข็งค่ากลับลงมาแนว 108.55 เยน/ดอลลาร์

· ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จาก Reuters ชี้ว่า ปัญหาสงครามการค้าสหรัฐฯและจีนที่ดูจะคลี่คลายลงไปบ้างอาจไม่ช่วยให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้ตามเป้า และก็ไม่อาจช่วยลดสัญญาณความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯอาจเผชิญกับภาวะถดถอยในอีก 2 ปีข้างหน้าได้

เนื่องจากผลของสงครามการค้าที่เกิดขึ้นดูจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเป็นที่เรียบร้อย รวมทั้งกระทบตลาดการเงิน และบังคับให้ธนาคารกลางต่างๆเดินหน้าปรับลดดอกเบี้ยลงในปีนี้

· นายมาริโอ ดรากี้ ประธานอีซีบีปัจจุบันไม่มีแนวโน้มจะทิ้งทวนตำแหน่งดังที่เราหวัง โดยเงินเฟ้อในยูโรโซนก็ยังคงชะลอตัวมากกว่าเป้าที่อีซีบีกำหนดเกินกว่าครึ่ง ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจก็ดูจะไม่ค่อยสดใสนัก จึงทำให้เราเห็นในการประชุมวาระก่อนนายดรากี้จัดสินใจเดินหน้าผ่อนคลายทางการเงินมากขึ้น ด้วยการไม่เคยปรับลดดอกเบี้ยแตะระดับต่ำอย่างที่เคยเป็นมาก่อน

· IMF เผยถึง การเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียชะลอตัวลงกว่าที่คาด โดยในรายงาน Outlook ล่าสุด สะท้อนว่าเศรษฐกิจเอเชียจะเติบโตได้ปานกลางแตะ 5% ในปี 2019 และแตะ 5.1% ในปี 2020 ซึ่งเป็นการปรับลดลงจากคาดการณ์เดิมที่คาด

ว่าปีนี้จะโตได้ 5.4% และปีหน้าโตได้ 5.4%

กิจกรรมภาคการผลิตที่ชะลอตัวลงในหลายพื้นที่ ประกอบกับยอดส่งออกที่ไม่ค่อยสดใสนัก ดูจะทำให้ไอเอ็มเอฟหั่นคาดการณ์จีดีพีจีนลงแตะ 5.8% ในปีหน้า ขณะที่ปีนี้คาดจะเติบโตที่ 6.1% ซึ่งความเสี่ยงระดับภูมิภาคที่ทำให้จีนชะลอตัวลงมากขึ้นมาจากความตึงเครียดทางความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ และความเสี่ยงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับปัจจัยจากสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน รวมทั้ง Brexit

· รายงานจาก CNBC ระบุว่า ในขณะที่บรรดาธนาคารกลางทั่วโลกเดินหน้าใช้นโยบายผ่อนคลายทงาการเงิน ก็ดูเหมือน PBoC จะไม่เลือกใช้วิธีการเดียวกันเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมุมมองทางโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นหรือยุโรป แต่ PBoC น่าจะเผชิญกับคำถามที่ว่าจะดำเนินการทางการเงินอย่างไรเพื่อให้มีประสิทธิภาพสำหรับทุกวันนี้ จึงทำให้เราเห็นจีนยังคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินไว้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา

· เศรษฐกิจเกาหลีใต้มีแนวโน้มจะชะลอตัวลงกว่าที่คาดในไตรมาสที่ 3/2019 แม้ว่ายอดส่งออกจะหนุนภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศ แต่ค่าใช้จ่ายในประเทศก็ยังคงไม่สดใสนักจากปัญหาข้อพิพาททางการค้า

ธนาคารกลางเกาหลีใต้น่าจะประเมินการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ผ่านมาที่ระดับ 0.4% โดยคาดว่าจะเป็นการปรับลดคาดการณ์ลงจากช่วงไตรมาสที่สองที่ 1.0% และต่ำกว่าที่ผลสำรวจจากรอยเตอร์สคาดว่าจะเติบโตได้ 0.5%

ขณะที่ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 4.1% หลังขยายตัวได้ 2.0% ในช่วงไตรมาสที่ 2/2019 โดยกลับมาดีขึ้นหลังจากที่หดตัวลงไปติดต่อกัน 2 ไตรมาส ท่ามกลางการอุปโภคบริโภคที่เติบโตแถว 0.1% และค่าใช้จ่ายการก่อสร้างร่วงลง 5.2%

· ธนาคารกลางชิลีหั่นดอกเบี้ยลงจาก 2% สู่ระดับ 1.75% เป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่เดือนมิ.ย. เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ

· รายงานจากสำนักข่าว KCNA กล่าวว่า นายคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ และนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังคงมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและเชื่อใจกัน โดยนายคิมเรียกความสัมพันธ์นี้ว่าเป็นความสัมพันธ์พิเศษ แม้ว่าช่วงต้นเดือนนี้การเจรจากันระดับคณะทำงานดูจะยังไม่ประสบความสำเร็จในการที่สหรัฐฯต้องการให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธนิวเคลียร์ลงก็ตาม

· ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้น 2.7% หลังที่ข้อมูลของภาครัฐบาลสหรัฐฯ เผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯออกมาแย่กว่าที่คาด ประกอบกับโอกาสที่กลุ่มโอเปกจะทำการปรับลดกำลังผลผลิตน้ำมัน โดยกระทรวง EIA เผย สต็อกน้ำมันดิบปรับลงเกินคาด 1.7 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ที่ระดับ 429,000 บาร์เรล/วัน และยอดนำเข้าน้ำมันที่ปรับตัวลง

น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 1.39 เหรียญ หรือ +2.3% ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 1.49 เหรียญ หรือ +2.7% ที่ระดับ 55.97 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com