• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 10 กันยายน 2562

    10 กันยายน 2562 | SET News
 
· นักวิเคราะห์จาก DailyFX วิเคราะห์ว่า จุดสนใจของดัชนี S&P500 บริเวณ 2,932 - 2,974 จุด โดยราคากลับสู่กรอบหลังจากที่ร่วงหลุดจาก High 2,974 จุด ขณะที่ในช่วงก่อนหน้าตั้งแต่ 19 ส.ค. จะเห็นได้ว่าราคาเริ่มมีการชะลอตัวหลังจากที่กลับไปทำต่ำสุดเมื่อเดือนธ.ค. ปี 2018 บริเวณ 2,324 จุด

อย่างไรก็ดี ดัชนี S&P500 ยังคงทำ New All Time High ได้อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสิ่งที่คาดว่ามีโอกาสจะเห็นดัชนี S&P500 ดีดกลับได้อีกครั้ง

· ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยถูกกดดันจากตลาดจีนหลังจากที่อัตราเงินเฟ้อภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีนในเดือน ส.ค. ชะลอตัวลงด้วยอัตราที่มากที่สุดในรอบ 3 ปี ขณะที่รายงานของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเยอรมนีทำให้ราคาพันธบัตรทั่วโลกปรับลดลง

โดยดัชนี PPI จีนประจำเดือน ส.ค. ปรับลดลง -0.8% จากปีก่อนหน้า ชะลอตัวยิ่งกว่าในเดือน ก.ค. ที่ชะลอตัวลง 0.3% และยังเป็นอัตราชะลอตัวที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. ปี 2016

นักกลุยทธ์ด้านสินทรัพย์เสี่ยงประจำ Jefferies ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลที่เงินเฟ้อจีนจะปรับลดลง เหล่านักลงทุนให้ความสนใจไปยังการประชุมอีซีบีที่ถูกคาดว่าน่าจะทำการลดดอกเบี้ย และมีการประกาศจะเข้าซื้อพันธบัตรหรือสินทรัพย์อื่นๆ หรือดำเนินการควบคู่กันไป รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อชดเชยผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่เฟดถูกคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในสัปดาห์หน้า รวมถึงประเด็นการออกจากอังกฤษของอียู

· ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดบวกใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ ท่ามกลางกลุ่มผู้ส่งออกที่ได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยน ขณะที่ภาคธนาคารได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร

โดยดัชนี Nikkei ปิด +0.35% ที่ระดับ 21,392.10 จุด ระหว่างวันทำระดับสูงสุดที่ 21,438.38 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของวันที่ 1 ส.ค. และเป็นการปิดในแดนบวกติดต่อกัน 6 วันทำการ ท่ามกลางตลาดที่คลายกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนลงไป

นักวิเคราะห์จาก JP Morgan Asset Management เตือน การปรับตัวสูงขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลกเป็นผลต่อเนื่องมาจากการที่ตลาดปรับสูงขึ้นได้ก่อนหน้านี้ แต่แรงหนุนดังกล่าวเริ่มอ่อนกำลังลง เนื่องจากตลาดเริ่มทยอยเข้าสู่ภาวะ wait & see เพื่อรอดูการประชุมอีซีบีสัปดาห์นี้ รวมถึงการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้

· ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลง หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีนในเดือน ส.ค. ชะลอตัวลงด้วยอัตราที่มากที่สุดในรอบ 3 ปี จึงช่วยตอกย้ำเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลจีนเร่งหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ ท่ามกลางภาวะที่สงครามการค้ากับสหรัฐฯยังคงร้อนแรง

โดยดัชนี Shanghai Composite ลดลง 0.4% ที่ระดับ 3,013.71 จุด

· ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลง หลังจากที่ นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประสบความล้มเหลวในการเสียงสนับสนุนให้จัดการเลือกตั้งใหม่เป็นครั้งที่สอง แต่ยืนยันว่าจะผลักดันอังกฤษออกจากอียูตามกำหนดการเดิม นอกจากนี้ นักลงทุนยังให้ความสนใจไปยังการประชุมอีซีบี โดยคาดหวังว่าจะมีมาตรการกระตุ้นทางการเงินตัวใหม่ในสัปดาห์นี้

โดยดัชนี Stoxx600 ลดลง 0.2% ด้านหุ้นสาธารณูปโภคลดลง 0.6% ขณะที่รถยนต์และธนาคารเพิ่มขึ้น 0.5%

อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานตัวเลขนักท่องเที่ยวม.ค.-ส.ค.62 อยู่ที่ 26.50 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.61% ขณะที่รายได้อยู่ที่ 1.299 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.04%

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวไทย 5 อันดับแรก คือ จีน มาเลเซีย อินเดีย เกาหลี ลาว และนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวในอนาคตคือ อินเดีย โปแลนด์ ไต้หวัน และลาว ส่วนภูมิภาคยุโรป ยังคงติดลบอยู่

ส่วนไทยเที่ยวไทย มีนักท่องเที่ยว 103.53 ล้านคน ขยายตัว 1.29% โดยจังหวัดที่ขยายตัว คือ สกลนคร ลพบุรี และปัตตานี

รวมรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งต่างชาติเที่ยวไทยและไทยเที่ยวไทยอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นเติบโต 3.27% จากปีก่อน

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในช่วงที่เหลือของปี 62 ยังเปราะบางและเผชิญหลายปัจจัยท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายของไร่นาจากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาการชำระหนี้ของครัวเรือน รวมไปถึงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวที่กระทบเศรษฐกิจไทยในภาพรวม

- กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า ปีนี้สินเชื่อของธนาคารน่าจะเติบโตได้แตะระดับกรอบล่างของเป้าหมายที่ 5% จากเป้าหมาย ที่ 5-7% โดยหลักๆแล้วสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายใหญ่ และสินเชื่อรายย่อยในส่วนที่มีหลักประกันยังเติบโตได้ดี อาทิ สินเชื่อบ้านซึ่งบางส่วนมาจากการรีไฟแนนซ์ และสินเชื่อบ้านใน ช่วงไตรมาสแรกที่เติบโตได้ดี ก่อนที่จะบังคับใช้เกณฑ์ LTV

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com