• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 30 สิงหาคม 2562

    30 สิงหาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์อ่อนค่า 0.31% แถว 0.67095 ดอลลาร์ ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปีที่ 0.66775 ดอลลาร์

ขณะที่ค่าเงินเยนทรงตัวแถว 106.49 เยน/ดอลลาร์ ใกล้ระดับอ่อนค่าสุดของเมื่อวานที่ 106.68 เยน/ดอลลาร์ ท่ามกลางความหวังของตลาดว่าสหรัฐฯและจีนอาจกลับมาเจรจาร่วมกันได้โดยตรงอีกครั้ง

ค่าเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากการปรับพอร์ตในช่วงสิ้นเดือน ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์แข็งค่าทำระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือน โดยปรับขึ้นมา 0.1% แถวระดับ 98.555 จุด

นักวิเคราะห์จาก State Street มีมุมมองว่า ตลาดยังให้ความสำคัญไปยังอัตราผลตอบแทนพันธฐัตรสหรัฐฯทียังเคลื่อนไหวผันผวน ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่เศรษฐกิจสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ภาพรวมของตลาดจึงไม่ค่อยสดใสนัก

นอกจากนี้ ตลาดค่าเงินเผชิญแรงกดดันจากความตึงเครียดทางการเมืองหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในอังกฤษ ฮ่องกง และตะวันออกกลาง

· USD/JPY: ทิศทางขาขึ้นฟื้นตัว หลังตลาดกลับเข้าภาวะ Risk-on



ค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินเยน (USD/JPY) เปิดตลาดวันนี้แข็งค่า 0.09% ท่ามกลางตลาดที่กลับมามีความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่แข็งแกร่งอีกครั้ง หลังจากมีข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนจากทั้ง 2 ฝ่าย ค่าเงิน USD/JPY กำลังเคลื่อนไหวแถว 106.42 เยน/ดอลลาร์ ใกล้ระดับสูงสุดที่ 106.54 เยน/ดอลลาร์ และกำลังทดสอบแนวต้านสำคัญของเดือน ส.ค.

USD/JPY levels

นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ในกราฟราย 4 ช.ม. ค่าเงินกำลังเคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 20 และ 100 วัน แต่ยังอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วัน หรือที่ระดับ 107.00 เยน/ดอลลาร์ การที่ค่าเงินยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยทั้ง 2 เส้น อาจทำให้ทิศทางแข็งค่าเริ่มชะลอตัว และอาจกลับมาเข้าสู่ทิศทางขาลงอีกครั้ง หากหลุดต่ำกว่าระดับ 106.40 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ทิศทางขาขึ้นจะสามารถดำเนินต่อไปได้ หากค่าเงินสามารถยืนเหนือระดับ 107.00 เยน/ดอลลาร์

· Daily FX ประเมินว่า ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หากการประกาศอัตราว่างงานและ CPI ของยูโรโซน ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด ซึ่งจะยิ่งตอกย้ำกระแสคาดการณ์ว่า อีซีบีควรเร่งออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหรือผ่อนคลายนโยบายการเงิน

นอกจากนี้ การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯในคืนนี้ ซึ่งได้แก่ ยอดค้าปลีก รายได้ส่วนบุคคล และดัชนี PCE ออกมาอ่อนแอ อาจยิ่งทำให้ตลาดมีความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างค่าเงินดอลลาร์มากขึ้น จึงอาจยิ่งกดดันค่าเงินยูโรให้อ่อนค่าลงได้อีก

· EUR/USD เคลื่อนไหวแดนอ่อนค่า ก่อนการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ


ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์เคลื่อนไหวอ่อนค่าต่อเนื่องกัน 5 วันทำการ ล่าสุดกำลังเคลื่อนไหวแถวระดับ 1.1051 ดอลลาร์/ยูโร และมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าต่อถึงระดับ 1.1026 ดอลลาร์/ยูโร ที่เป็นระดับต่ำสุดของปี 2019 หากการประกาศตัวเลขการจ้างงานและ CPI ของยูโรโซนออกมาอ่อนแอกว่าคาด

EUR/USD levels to watch

ตอนนี้ค่าเงินกำลังเคลื่อนไหว -0.11% แถว 1.1044 ดอลลาร์/ยูโร โดยมีแนวรับสำคัญที่ 1.1026 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดของปี 2019 หากหลุดลงมาจะมีแนวรับถัดไปที่ 1.0839 กับ 1.0569 ดอลลาร์/ยูโร อีกด้านหนึ่ง จะมีแนวต้านแรกอยู่ที่ 1.1125 ดอลลาร์/ยูโร หากผ่านขึ้นมาได้ จะมีแนวต้านถัดไปที่ 1.1186 ดอลลาร์/ยูโร และจากนั้นที่ 1.1196 ดอลลาร์/ยูโร

· ผู้บริหารสมาคม Asian Trade Centre มีความเห็นว่า กรณีความขัดแย้งทางการค้าระหว่างญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ระเบียบวินัยของโลกกำลังพังทลาย โดยจะเห็นได้ว่า ความขัดแย้งของทั้ง 2 ประเทศเกิดจากประเด็นทางการค้า ก่อนที่จะขยายตัวไปยังประเด็นความมั่นคง และดูไม่มีท่าทีที่จะหยุดลงได้โดยง่าย

การทะเลาะกันของทั้ง 2 ประเทศ เปรียบเสมือนกับเพื่อนบ้าน 2 คนกำลังถกเถียงกันว่าใครเป็นคนปลูกต้นไม้ระหว่างเส้นแบ่งเขตของทั้ง 2 บ้าน และต้นไม้ก็เติบใหญ่จนกินพื้นที่ของแต่ละบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ระหว่างที่ทั้ง 2 บ้านกำลังถกเถียงกัน ไฟก็กำลังไหม้ป่าที่อยู่บนเขาละแวกใกล้เคียง

· นายโจชัว หว่อง แกนนำการประท้วงในฮ่องกง พร้อมแกนนำอีก 2 คน ถูกจับกุมก่อนหน้าการเดินขบวนครั้งสำคัญของผู้ชุมนุมที่วางแผนไว้ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ โดยทาง Bloomberg รายงานว่า การจับกุมแกนนำ ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตอบโต้การชุมนุมของภาครัฐฯ

· ผู้บริหารสถาบันการลงทุน Value Partners มีมุมมองว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดของรัฐบาลจีนในการตอบโต้สงครามการค้ากับสหรัฐฯ คือการ “รอ” เนื่องจากเศรษฐกิจจีนไม่ได้มีกำลังขับเคลื่อนหลักมาจากการส่งออก แต่มาจากการบริโภคในประเทศ

การส่งออกของจีนมีส่วนช่วยในด้านการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเพียง 20% เท่านั้น และการส่งออกส่วนใหญ่ของจีน ก็ไม่ได้ไปสู่สหรัฐฯแต่อย่างใด ดังนั้น ท่ามกลางสงครามการค้ากับสหรัฐฯที่ยืดเยื้อ จีนน่าจะพยายามสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ และหันไปเล่นเกมระยะยาว และยังเล่นได้ดีเสียอีกด้วย

· รายงานข่าววงในจากสำนักข่าว Reuters ระบุว่า ก่อนหน้านี้ นางแครี ลาม ผู้นำรัฐบาลฮ่องกง ได้เขียนรายงานเสนอรัฐบาลจีน ว่าการตอบรับข้อเรียกร้อง 5 ประการของกลุ่มผู้ชุมนุม รวมถึงการยกเลิกร่างกฏหมายส่วนผู้ร้ายข้ามแดนจะสามารถคลี่คลายเหตุความตึงเครียดในฮ่องกงได้

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนปฏิเสธข้อเสนอของผู้นำฮ่องกง พร้อมสั่งการห้ามรัฐบาลฮ่องกงยกเลิกร่างกฏหมายดังกล่าว หรือยอมจำนวนต่อข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมโดยเด็ดขาด

· บรรดานักวิเคราะห์จาก Danske Bank มีมุมมองว่า สถานการณ์ของ Brexit ยังมีความผันผวนในระดับสูง หลังจากที่นายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศเลื่อนเปิดประชุมรัฐสภาออกไป

โดยทาง Danske Bank คาดการณ์สถานการณ์ต่อไปของการเมืองอังกฤษไว้ว่า เสียงส่วนน้อยในรัฐสภาจะค่อยๆสะสมพลังและโค่นล้มรัฐบาลของนายบอริสลง จากนั้นจะก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น ขอขยายระยะเวลา Brexit จากอียู และประกาศจัดการเลือกตั้งหากได้รับการอนุมัติจากอียู อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะเกิดกรณี No-deal ก็ยังมีอยู่สูงถึง 30%

· รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุว่า ทีมตัวแทนการเจรจาของจีนและสหรัฐฯ กำลังรักษาการเจรจาที่มี “ประสิทธิภาพ” ร่วมกัน

· นายหวัง อี้ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจีน มีกำหนดการจะเดินทางไปยังเกาหลีเหนือภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นการเดินทางเยือนที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทั่วโลกกำลังกังวลกับการกลับทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนืออีกครั้ง

· รัฐบาลญี่ปุ่นคงคาดกาณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศไว้ที่ระดับปานกลางสำหรับเดือน ส.ค. ท่ามกลางภาคส่งออกที่ยังคงอ่อนแอ จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่งอาจผลักดันให้รัฐบาลเร่งพิจารณาเพิ่มการใช้จ่ายเพิ่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีมุมมองว่า กิจกรรมภาคการโยธาได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ลดน้อยลง ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณเชิงบวก และอาจช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้

· รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) มีการคงดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ท่ี่ระดับ 1.5% แต่ก็ยังมีกระแสคาดการณ์เป็นวงกว้างว่าจะเห็นธนาคารกลางกเาหลีใต้ผ่อนคลายทางการเงินในการประชุมเดือนหน้า ท่ามกลางภาวะอ่อนแอทางเศรษฐกิจ โดยผลสำรวจสะท้อนว่าอาจเห็นธนาคารกลางเกาหลีใต้เข้ามร่วมการปรับลดอัตราดอกเบี้ยแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์โดยลดลงมาที่ 1.25% ในการประชุม 16 ต.ค.นี้

· ยอดค้าปลีกเยอรมนีประจำเดือนก.ค.ปรับตัวลงเกินคาดแตะระดับ 2.2% และเป็นสัญญาณล่าสุดท่ี่ยังสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจยุโรปอ่อนแอ ขณะที่ยอดส่งออกที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนประเทศก็ดูจะความต้องการเพิ่มขึ้นได้บ้าง ขณะที่สัญญาณของยอดค้าปลีกที่อ่อนตัวกลับมาเป็นปัจจัยสร้างแรงกดดันตลาดอีกครั้ง

· นางคริสทีน ลาร์การ์ด ว่าที่ประธานอีซีบีคนต่อไป กล่าวว่า ทางอีซีบียังสามารถปรับลดดอกเบี้ยลงได้ หากจำเป็น แต่การทำเช่นนั้นอาจกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อตลาดการเงินได้

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากทีเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ภาพรวมรายสัปดาห์ยังคงปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากการร่วงลงของสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ท่ามกลางพายุเฮอริเคนที่ปรากฏในฟลอริดาและการผ่อนคลายทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.4% ที่ะรดับ 60.85 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.7% ที่ะรดับ 56.31 เหรียญ/บาร์เรล

ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ยังคงได้รับผลกระทบด้านราคาในสัปดาห์นี้ แม้ว่าสต็อกน้ำมันดิบที่ลดลงจะบ่งชี้ว่าตลาดมีความสมดุลก็ตาม

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com