• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 29 สิงหาคม 2562

    29 สิงหาคม 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินเยน ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่มีการเทขายค่าเงินเยนบางส่วน หลังจากที่ปรับแข็งค่าตามความกังวลที่เพิ่มขึ้นเรื่องภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกขาลง โดยค่าเงินเยนล่าสุดทรงตัวที่ 105.83 เยน/ดอลลาร์ หรือปรับอ่อนค่าขึ้น 0.1%


อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ปรับขึ้นเหนืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีอีกครั้ง จึงทำให้หลายฝ่ายกังวลถึงสัญญาณภาวะถดถอยที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อันเป็นผลสืบเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนที่อาจฉุดให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว


ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.19% ที่ระดับ 98.186 จุด ขณะที่ค่าเงินหยวนอ่อนค่ามาที่ระดับ 7.1690 หยวน/ดอลลาร์ โดยยังอยู่ไม่ห่างจากระดับอ่นอค่าเป็นประวัติการณ์ที่ทำไว้เมื่อวันจันทร์บริเวณ 7.186 หยวน/ดอลลาร์ ในขณะที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงกว่า 1% จากการที่นายกอังกฤษมีแผนจะเลื่อนประชุมรัฐสภา ที่ดูจะเป็นอุปสรรคต่อแผน Brexit ของเขา


แหล่งข่าวจากรัฐบาลอังกฤษ เผยว่า นายกฯอังกฤษเคยกล่าวไว้ว่าจะออกจากอียูโดยปราศจากข้อตกลงหากจำเป็น ขณะที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงมีพระบรมราชานุญาตในการเสด็จเปิดประชุมรัฐสภาในวันที่ 14 ต.ค. ตามที่นายกฯอังกฤษกราบทูล และนั่นส่งผลให้รัฐสภาอังกฤษจะเริ่มปิดตั้งแต่ช่วงกลางเดือนก.ย. จนถึงกลางเดือนต.ค. และอาจทำให้รัฐสภามีเวลาจำกัดในความพยายามหาข้อตกลงเพื่อไม่ให้เกิด Brexit แบบ No-Deal


เงินปอนด์ปิดอ่อนค่าลง 0.68% ที่ระดับ 1.2204 ดอลลาร์/ปอนด์ ขณะที่เงินยูโรอ่อนค่าลง 0.11% ที่ระดับ 1.1078ดอลลาร์/ยูโร




· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 30 ปีปรับตัวลงทำ All Time Low โดยร่วงลงต่ำกว่า 2% มาทำต่ำสุดที่ 1.907% และถึงแม้จะเคลื่อนไหวแถว 1.943% ก็ยังคงเป็นระดับต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนและ 1 เดือน จึงยิ่งตอกย้ำความกังวลของนักลงทุนให้มั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อจะอ่อนตัวและเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว





สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีก็เคลื่อนไหวต่ำกว่าผลตอบแทนอายุ 2 ปี โดยผลตอบแทน 10 ปี ปรับลงมาที่ 1.469% ขณะที่ 2 ปีอยู่ที่ 1.504% ก็ยังสะท้อนถึงสัญญาณถดถอยทางเศรษฐกิจ

· กลุ่มธุรกิจ “พันธมิตรการค้าเสรีสำหรับชาวอเมริกัน” นับร้อยรายประกอบด้วยกลุ่มภาคการคล้าปลีก, กลุ่มผู้ผลิตเครื่องมือ, สมาคมผู้นำภาคอุตสาหกรรม และสมาคมเทคโนโลยีผู้บริโภค, กลุ่มผู้ผลิตรองเท้า เป็นต้น ได้มีการเรียกร้องให้ทีมบริหารของนายทรัมป์ ทำการยกเลิกการเรียกเก็บภาษีจากจีนที่มีกำหนดในต้นเดือนหน้า เพราะจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ และทำให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น จากการที่สหรัฐฯจะขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนอีก 5% มูลค่า 3 แสนล้านเหรียญ ที่มีผลบังคับใช้ 1 ก.ย. และ 15 ธ.ค. โดยย่อยจะมีการแบ่งการเรียกเก็บสินค้า 15% ในวันที่ 1 ก.ย. ขณะที่กลุ่มสมาร์ทโฟน และโน๊ตบุ๊ค จะถูกเรียกเก็บ 15% ในวันที่ 15 ธ.ค.

· นางแมรี่ ดาร์ลี ประธานเฟดซานฟรานซิสโก กล่าวว่า เธอกำลังทำการ “Watch and See” เพื่อประเมินว่าเฟดควรปรับลดดอกเบี้ยต่อไปอย่างไร ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่ง แต่ก็ยังเผชิญกับความผันผวนและไม่แน่นอนต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยในช่วง 2-3 สัปดาห์ต่อจากนี้เธอจะให้ความสำคัญกับข้อมูลภาคธุรกิจและข้อมูลเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคและการใช้จ่ายผู้บริโภคควบคู่กับข้อมูลเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ดี เธอยังคงให้การสนับสนุนต่อการดำเนินนโยบายผ่อนคลาย เนื่องจากเชื่อว่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่อ่อนตัวและความไม่แน่นอนที่ยังมีอยู่จะยังเป็นปัจจัยที่กดดันเงินเฟ้อ แม้ว่าการจ้างงานที่มีอยู่อย่างเต็มที่จะเป็นปัจจัยที่สะท้อนถึงความเป็นไปได้ในการขยายตัวก็ตาม

· นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวกับสำนักข่าว Bloomberg ว่า สหรัฐฯไม่มีความตั้งใจจะแทรกแทรงตลาดค่าเงิน ขณะที่สถานการณ์ในขณะนี้อาจเปลี่ยนแปลงอนาคตทางเศรษฐกิจ แต่ก็จะไม่มีผลให้เราต้องทำการแทรกแทรงเงินในการดำเนินการของเฟดและชาติพันมิตรสหรัฐฯ

· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้นกว่า 1% หลังจากที่สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับตัวลงเพราะได้รับแรงหนุนจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปสงค์น้ำมันอ่อนตัวลงจากภาวะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน

น้ำมันดิบ Brent ปิด +1.7% ที่ระดับ 60.52 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 1.5% ที่ระดับ 55.75 เหรียญ/บาร์เรล

แม้ว่าราคาน้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดจะปิดปรับขึ้นได้มากที่สุดในรอบ 11 วันทำการเมื่อวานนี้ แต่ภาพรวมเดือนนี้น้ำมันดิบ Brent ก็ร่วงลงไปประมาณ 7% และ WTI ปรับลง 4% เพราะได้รับผลกระทบจากความกังวลของสงครามการค้า

รายงานจาก EIA เผยข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯปรับลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ได้ โดยลดลงประมาณ 10 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่แก๊สโซลีนก็ปิดปรับลง 2.1 ล้านบาร์เรล


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com