• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2562

    22 สิงหาคม 2562 | Economic News


· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนและค่าเงินสวิสฟรังก์ ท่ามกลางความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้น อันจะเห็นได้จากการปรับขึ้นของตลาดหุ้นทั่วโลก และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับขึ้นได้ก่อนทราบถ้อยแถลงประธานเฟด ณ เมืองแจ็กสัน โฮล ในสัปดาห์นี้ ประกอบกับตลาดรอดูรายงานประชุมเฟดและการประชุม G7 ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อรับมือกับการปรับตัวลงของเศรษฐกิจทั่วโลก


ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นจากระดับ 98.145 จุดในช่วงต้นตลาด มาที่ 98.295 จุด ขณะที่เงินเยนอ่อนค่าลง 0.2% ที่ระดับ 106.43 เยน/ดอลลาร์ โดยอ่อนค่าลงต่อเนื่อง 4 วันในรอบ 5 วันทำการ ด้านค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงแตะ 1.1096 ดอลลาร์/ยูโร และมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยหลังทราบการประกาศลาออกของนายกรัฐมนตรีอิตาลี


รายงานจา CNBC ระบุว่า ดอลลาร์ยังมีแรงสนับสนุนจากการที่ทีมบริหารของนายทรัมป์ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะปรับลดภาษีค่าจ้าง ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า การลาออกของนายกรัฐมนตรีอิตาลีมีแนวโน้มจะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไป และอาจเห็นยูโรกลับแข็งค่าขึ้นมาได้แถว 1.12 ดอลลาร์/ยูโรในเดือนก.ย.นี้ ท่ามกลางอีซีบีที่มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม ขณะที่เยอรมนีจะมีการสนับสนุค่าใช้จ่าย ท่ามกลางภาวะอ่อนตัวที่เกิดขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ดูทั้งหมดนี้จะเป็นปัจจัยบวกต่อยูโร




· การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯระหว่างอายุ 10 ปี และ 2 ปี กลับสู่ภาวะ Negative เป็นครั้งที่ 2 ในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ และสัญญาณเตือนล่าสุดสะท้อนถึงภาวะถดถอยอีกครั้ง ก่อนที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีจะกลับมาเคลื่อนไหวสูงกว่าผลตอบแทนระยะสั้นอีกครั้ง โดยปรับขึ้นมา 0.018% ที่ 1.587% สูงต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น 2 ปี ที่อยู่ที่ระดับ 1.569% ขณะที่รายงานประชุมเฟดสะท้อนว่าการปรับลดดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการปรับนโยบายช่วงกลางวัฎจักรเท่านั้น


อย่างไรก็ดี รายงานจาก CNBC สะท้อนว่า แม้เฟดจะดำเนินนโยบายกลางๆ แต่หลังจากทราบรายงานประชุมเฟดก็เห็นถึงสารที่ส่งมามีความชัดเจนขึ้น และทำให้ตลาดเกิดความกังวลว่าเฟดอาจดำเนินการด้านการปรับลดดอกเบี้ยได้ไม่มากพอที่จะช่วยเหลือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และจะเห็นได้ว่าตั้งแต่ที่เฟดดำเนินนโยบายในการประชุมเดือนที่แล้ว ก็เห็นการปรับลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมาโดยตลอด โดยราคามีการปรับลงหรือดิ่งสู่แดนลบมากขึ้น


หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Barclays มองว่า หากประธานเฟดไม่กล่าวย้ำเรื่องการปรับนโยบายช่วงกลางวัฏจักร ในการประชุมเมืองแจ็กสัน โฮล ก็อาจทำให้ตลาดตีความว่ามีโอกาสที่จะเกิดการปรับลดดอกเบี้ยอีก 2 – 3 ครั้งได้ต่อ



· รายงานประชุมเฟดเดือนก.ค. ที่ผ่านมา เผยให้เห็นถึงการที่บรรดาสมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยต่อการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% แต่การปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวยังไม่อาจเปลี่ยนท่าทีการดำเนินนโยบายหรือการปรับนโยบายเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ขณะที่สมาชิกบางส่วนดูจะเห็นด้วยกับการที่เฟดควรลดดอกเบี้ย 0.50% ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการดำเนินการที่หนักแน่นกว่านี้ เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อชะลอตัว

ทั้งนี้ ประธานเฟด ระบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นการป้องกันความเสี่ยงในช่วงขาลงเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและเพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อ โดยเฟดมองว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงการปรับเปลี่ยนนโยบายในช่วงกลางวัฏจักร ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ต่อเป้าหมายทั้งหมดของเฟด


ขณะที่สมาชิกเฟดอีกหลายรายก็ยังคงเห็นชอบกับระดับดอกเบี้ยปัจจุบัน เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากความเป็นจริงทางเศรษฐกิจยังเห็นได้ถึงการขยายตัวเป็นอย่างดี


ความแตกต่างของมุมมองสมาชิกเฟดเดือนที่แล้วดูจะลดสัญญาณต่อว่าเฟดจะดำเนินการอย่างไรในเดือนก.ย. แต่กลุ่มนักลงทุนก็ยังคาดว่าจะเห็นเฟดเดินหน้าลดดอกเบี้ยต่อเพื่อรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากความตึงเครียดทางการค้าและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก

· นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก IMF กล่าวเตือนหลายๆประเทศที่ดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินต่อตัวเองในความพยายามที่จะประคองเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัวและเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้หลายๆธนาคารหันมาใช้วิธีปรับลดดอกเบี้ย แม้กระทั่งอีซีบีที่ถูกคาดว่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยหนุนความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนและภาคธุรกิจเพื่อการลงทุน

แต่การดำเนินการเหล่านั้นก็ทำให้ IMF กังวลว่าอาจกลายเป็นสงครามค่าเงินได้ หรือที่เรียกว่า “Begger-thy-neighbor” ที่หมายถึงการดำเนินนโยบายการค้าทั่วโลกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจของตนและทำลายการเติบโตของประเทศเพื่อนบ้านหรือคู่ค้าอื่นๆ



· ธนาคารกลางจีนจะทำการกำหนดนโยบายดอกเบี้ยครั้งใหม่เพื่อสนับสนุนการกู้ยืมของภาคเอกชนในประเทศและกลุ่มธุรกิจรายย่อย แต่ทั้งหมดนี้ก็อาจไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้ โดยการชะลอตัวของจีนที่เกิดขึ้นอยุ่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น โดยปราศจากปัญหาที่ยังคงมีอยู่เกี่ยวกับระดับหนี้สินจำนวนมากหรือราคาในภาคที่อยู่อาศัย

· นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวยกย่องตัวเองว่าเป็น “ผู้ที่ถูกเลือก” ในกรณีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน พร้อมกล่าวโทษประธานาธิบดีคนก่อนๆที่เพิกเฉยและปล่อยให้จีนเอาเปรียบสหรัฐฯ ดังนั้น “จึงต้องมีใครสักคนที่เข้ามาจัดการปัญหาดังกล่าว และผมก็คือคนที่ถูกเลือก”

· กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ในเดือน ส.ค. ท่ามกลางยอดส่งออกที่ลดลงด้วยอัตราที่มากขึ้น ขณะที่ภาคบริหารยังขยายตัวได้ด้วยอัตราที่มากที่สุดในรอบ 2 ปี บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังมีปริมาณอุปสงค์ที่แข็งแกร่ง จึงชดเชยผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยภาคนอกประเทศได้

ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นประกาศออกมาที่ 49.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 49.4 จุด แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุด ซึ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม

· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับทรงตัวหลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯเผยสต็อกน้ำมันดิบออกมาลดลง แต่ปริมาณการกลั่นน้ำมันยังคงพเมขึ้น ขณะเดียวกันตลาดก็ยังมีความกังวลเรื่องการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก

น้ำมันดิบ Brent ปิด +0.42% ที่ระดับ 60.28 เหรียญ/บาร์เรล หลังไปทำ High ที่ 61.41 เหรียญ/บาร์เรล ทางด้านน้ำมันดิบ WTI ปิด -0.8% ที่ระดับ 55.71 เหรียญ/บาร์เรล หลังไปทำสูงสุดที่ 57.13 เหรียญ/บาร์เรล

EIA เผยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ลดลง 2.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเห็นน้ำมันดิบลดลงประมาณ 1.9 ล้านบาร์เรล




บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com