• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2562

    8 กรกฎาคม 2562 | Economic News



· ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าทำระดับสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ครึ่ง หลังจ้างงานสหรัฐฯรีบาวน์ในเดือนมิ.ย. โดยดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่ 97.261 จุด เป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ 19 มิ.ย. และปรับขึ้น 0.51%


สำหรับข้อมูลค่าแรงที่เพิ่มขึ้นปานกลาง 0.2% ในเดือนมิ.ย. จาก 0.3% ในเดือนพ.ค. ดูจะเป็นการตอกย้ำหลักฐานทางเศรษฐกิจที่บ่งชี้ถึงการชะลอตัว ขณะที่การเพิ่มขึ้นของการจ้างงานไม่เพียงพอที่จะชดเชยการอ่อนตัวลงไปในเดือนพ.ค.


ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1226 ดอลลาร์/ยูโร โดยยังเคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่ามากที่สุดรอบ 2 สัปดาห์ครึ่งที่ 1.1205 ดอลลาร์/ยูโร ที่ทำไว้ในวันศุกร์ที่ผ่านมา

· ผลสำรวจจาก Atradius ระบุว่า ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นทั่วโลกอันเป็นผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนอาจสร้างความเสียหายทางการค้าในระดับโลกมากถึง 1.5 ล้านล้านเหรียญในช่วงสิ้นปี 2020 ซึ่งโดยภาพรวมยอดส่งออกญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะชะงักงันลงในช่วง 2 ปี ส่วนฮ่อกงจะได้รับผลกระทบ 3 ปี และหากคุณมีบริษัทในสิงคโปร์อาจหมายถึงการส่งออกที่ไม่สดใสในช่วง 4 ปี

อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนในการดำเนินนโยบายทางการค้าอาจทำให้บริษัทหลายแห่งประสบภาวะล้มละลายได้สูงกว่า 2% จากที่คาดการณ์ในปัจจุบัน จึงสะท้อนว่าสงครามการค้ามีแนวโน้มจะบั่นทอนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้


นอกจากนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญก็มองว่า สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนจะส่งผลลบต่อประเทศเศรษฐกิจอื่นๆด้วย โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าที่สำคัญอย่าง ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เวียดนาม และเกาหลีใต้ที่ยอดส่งออกไปจีนอาจลดลงมากถึง 10-20%


· รายงานจาก Financial Times มองว่า สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ดูจะสร้างโอกาสที่ไม่คาดคิดให้แก่ประเทศเวียดนาม และอาจเห็นการส่งอออกของเวียดนามไปสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเกือบ 40% เมื่อเทียบรายปีได้ ขณะที่ยอดนำเข้าจากจีนน่าจะลดลงเช่นเดียวกับปีก่อนที่ 13% ขณะที่สถาบัน Nomuraคาด เวียดนามจะเป็นผู้ได้ผลประโยชน์จากศึกครั้งนี้ โดยอาจเห็นภาคธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 7.9% ของจีดีพี

ทั้งนี้ รายงานจาก IHS Markit เผยว่า ประเทศที่เป็นศูนย์กลางด้านการผลิตในอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม, มาเลเซีย และไทย ที่ดูทั้งหมดนี้จะได้รับผลบวกจากยอดส่งออกที่จะแข็งแกร่งมากขึ้นจากเม็ดเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาโดยตรงในระยะกลาง และจะทำให้เกิดความหลากหลายในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกมากขึ้นจากที่เคยมีจีนเป็นเจ้าใหญ่

· ผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในสมาชิกบอร์ดบริหารของอีซีบี กล่าวว่า การดำเนินนโยบายการเงินอาจไม่สามารถชดเชยผลกระทบของสงครามการค้า และบรรดาผู้นำทางการเมืองที่ดูจะหาวิธีให้เศรษฐกิจของตนเองพ้นจากภัยคุกคามดังกล่าว ซึ่งค่อนข้างแน่ชัดว่า ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทั้งหมดมาจากความตึงเครียดทางการค้าเป็นหลัก และขั้นแรกของการลดความผันผวนนี้คือสิ่งที่ธนาคารกลางจะต้องรับผิดชอบ แต่การดำเนินนโยบายทางการเงินก็ไม่อาจจัดการกับทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งบรรดาผู้นำทางการเมืองนั้นควรจะมีบทบาทในการช่วยลดความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นด้วย

นอกจากนี้ อีซีบีจะเดินหน้าพิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อเป็นตัวชี้วัดการดำเนินนโยบายการเงินครั้งต่อไป ไม่เพียงแต่ความผันผวนของตลาดการเงินเท่านั้น

· บรรดาผู้ประกอบการในประเทศอังกฤษมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะ Brexit มากที่สุดนับตั้งแต่การลงประชามติเมื่อปี 2016 โดยผู้ประกอบการกว่า 83% ที่ร่วมตอบแบบสอบถามของ Deloitte คาดการณ์ว่า Brexit จะทำร้ายเศรษฐกิจอังกฤษในระยะยาว

โดยผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 2 ใน 3 เชื่อว่าอัตราการจ้างงานจะลดลงในช่วง 3 ปีข้างหน้า และอีก 47% มองว่าการใช้จ่ายของภาครัฐจะลดลงในช่วงเวลาเดียวกัน


ขณะที่แบบสอบถามโดยสมาคมผู้แทนภาคอุตสาหกรรมแห่งอังกฤษ (Confederation of British Industry) ประเมินว่า การลงทุนในเศรษฐกิจอังกฤษจะปรับลดลงไป 1.3% ภายในปี 2019 ซึ่งจะเป็นอัตราปรับลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤติทางการเงิน และไม่สำคัญว่าอังกฤษจะห


· นายเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน ประธานาธิบดีตุรกี ประกาศปลดนายมูรัต เซตินคายา ผู้ว่าธนาคารกลางตุรกีออกจากตำแหน่ง พร้อมแต่งตั้งให้รองผู้ว่าขึ้นมารับตำแหน่งแทน ขณะที่ทางรัฐบาลยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเหตุผลของการสั่งปลดครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า รัฐบาลตุรกีกับธนาคารกลางเกิดความขัดแย้งกันขึ้นเกี่ยวกับเรื่องของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทางรัฐบาลต้องการให้ลดดอกเบี้ยลง เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ


ทางธนาคารกลางตุรกี ในการประชุมเดือน ก.ย. ปีที่ผ่านมา ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 17.5% สู่ระดับ 24% โดยอ้างว่าเพื่อกระตุ้นให้ค่าเงินลีราแข็งค่าและรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ

· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้นเพราะได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและอิหร่าน ประกอบกับการตัดสินใจของกลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตรที่ขยายเลาปรับลดกำลังการผลิตออกไปจนถึงปีหน้า แต่ข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนก็ยังคงจำกัดการปรับขึ้นของราคาน้ำมัน

น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 86 เซนต์ หรือ +1.4% ที่ระดับ 64.16 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 17 เซนต์ หรือ +0.3% ที่ระดับ 57.51 เหรียญ/บาร์เรล และหลังจากที่ตลาดปิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาในวันชาติสหรัฐฯ ก็จะเห็นได้ถึงปริมาณการซื้อขาย WTI ที่ยังคงเบาบางต่อในวันศุกร์

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com