• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 29 เมษายน 2562

    29 เมษายน 2562 | Economic News

· ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวในวันนี้ ท่ามกลางตลาดญี่ปุ่นที่เข้าศู่ช่วงวันหยุดยาว ประกอบกับการที่ตลาดกำลังจับตาการประชุมเฟด และการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญภายในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะเงินเฟ้อและการจ้างงานของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ จีนก็จะเข้าสู่วันหยุดยาวในช่วงของวันแรงงานตั้งแต่วันพุธสัปดาห์นี้ จนถึงวันศุกร์

ตลาดกำลังจับตาการประชุมเฟด เพื่อดูว่าเฟดจะมีการตอบรับอย่างไรก็กับการประกาศ GDP ไตรมาส 1 ของสหรัฐฯที่ออกมาสูงขึ้นที่ 3.2%

· สำหรับคืนนี้ จะมีการประกาศดัชนี Core PCE Price Index ที่เป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดใช้เป็นเครื่องมือหลักในการประเมินภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดว่าอาจออกมาชะลอตัวลงสู่ระดับ 1.6% หรือจนกระทั่ง 1.5%

· นักวิเคราะห์จาก JPMorgan ระบุว่า ปัจจัยหลักที่ตลาดให้ความสนใจในช่วงนี้ คืออัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯจะชะลอตัวลงพอที่จะสนับสนุนให้เฟดพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ โดยหากดัชนี Core PCE ชะลอตัวลงสู่ระดับ 1.5% จริง โอกาสที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก็จะมีสูงขึ้นอย่างแน่นอน

ความกังวลดังกล่าวเป็นปัจจัยที่กดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง แม้การประกาศ GDP จะออกมาสดใสก็ตาม โดยดัชนีดอลลาร์วันนี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่บริเวณ 97.970 จุด หลังจากอ่อนค่าลงมาจากระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีที่ 98.330 จุด

· ด้านค่าเงินเยนทรงตัวที่บริเวณ 111.60 เยน/ดอลลาร์ หลังจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำระดับสูงสุดไปที่ 112.39 เยน/ดอลลาร์ ส่วนแนวรับของค่าเงินเยนมองไว้ที่ 111.37 และ 110.83 เยน/ดอลลาร์


· ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยบริเวณ 1.1157 ดอลลาร์/ยูโร แต่ยังเคลื่อนไหวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปีที่ 1.1110 ดอลลาร์/ยูโร

· ค่าเงินยูโรปรับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบเกือบ 2 ปี ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่เลือกเข้าซื้อค่าเงินดอลลาร์จากภาวะตึงเครียดทางการเมืองและข้อมูลเศรษฐกิจระดับมหพภาคที่อ่อนแอไปทั่ว ขณะที่ตลาดรอคอยผลการประชุมเฟดที่จะเกิดขึ้นในวันพุธนี้ หลังทราบการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจ อันได้แก่ Core PCE Inflation ซึ่งเป็นข้อมูลที่บรรดาสมาชิกเฟดชอบนำมาใช้เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ รวมทั้งการประกาศข้อมูลค่าใช้จ่ายผู้บริโภคเดือนก.พ. ที่จะประกาศในคืนนี้ สำหรับวันพุธจะมีตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯที่คาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 180,000 ราย และแรงกดดันค่าแรงที่เพิ่มขึ้น


สำหรับประมาณการณ์จีดีพีไตรมาสแรกของอียูก็จะมีการเปิดเผยข้อมูลในวันพรุ่งนี้ รวมทั้งการประกาศข้อมูล PMI ขั้นสุดท้ายในเดือนเม.ย. ด้วย

· ในทางเทคนิคนักวิเคราะห์จาก FXStreet กล่าวว่า ค่าเงินยูโรมีโอกาสทดสอบ 1.1000 ดอลลาร์/ยูโร โดยภาพหลักยังเป็นทิศทางอ่อนค่า และมีโอกาสมากถึง 79% ในระยะสั้น โดยจะมีค่าเฉลี่ยอยู่บริเวณ 1.1065 ดอลลาร์/ยูโร อย่างไรก็ดี ตลาดดูจะยังไม่พร้อมที่จะหลุดต่ำกว่า 1.1000 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับแนวรับสำคัญทางจิตวิทยาได้



จากกราฟราคาจะค่อนข้างจะแน่ชัดว่าความเชื่อมั่นในตลาดส่วนใหญ่สะท้อนถึงเส้นค่าเฉลี่ย MA อยู่ในสภาวะขาลงระยะสั้นๆ และมีโอกาสเห็นราคาปรับใกล้ 1.0900 - 1.1000 ดอลลาร์/ยูโร โดยมีภาวะการปรับแข็งค่าขึ้นอย่างจำกัด และมีความเสี่ยงเป็นขาลงมากกว่า


USD/JPY: Mildly bid above 200-day MA, focus on treasury yields



· นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ค่าเงินเยนกลับลงมาเคลื่อนไหวแถวเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันแถว 111.5 เยน/ดอลลาร์ หรือกลับลงมาเป็นวันที่ 3 ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวลงตอบรับความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ

ในทางเทคนิคค่าเงินเยนล้มเหลวในการ Break อ่อนค่ากลับขึ้นไป และยิ่งเพิ่มแรงกดดันที่จะเห็นค่าเงินกลับแข็งค่าลงมาต่อได้ ซึ่งในภาพระดับวันจะเห็นได้ถึงการที่ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับเส้นค่าเฉลี่ย DMA-200 เมื่อวันพฤหัสบดี และไม่สามารถกลับมาได้



· สัญญาณการชะลอตัวของเงินเฟ้อดูจะเป็นปัจจัยลบที่บดบังข้อมูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และอาจเป็นประเด็นที่ทำให้เฟดนำไปหารือเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยว่าการดำเนินการครั้งต่อไปอาจจำเป็นที่จะต้องปรับลดลงมากกว่าขึ้น

ทั้งนี้ นายเจอโรม โพเวลล์ ประธานเฟดดูจะมีแนวโน้มคงนโยบายดอกเบี้ยที่ระดับ 2.25-2.5% ในการประชุมช่วงสองวันนี้ (วันอังคารและวันพุธ) อันประกอบไปด้วยข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการฟื้นตัว หลังจากที่หดตัวในช่วงเริ่มต้นปี และความเสี่ยงที่เศรษฐกิจต่างประเทศจะชะลอตัวลง ส่งผลให้นักวิเคราะห์หลายๆราย ยังคงเชื่อมั่นว่า เฟดจะยังคงดอกเบี้ยระดับปัจจุบันไปจนถึงช่วงปลายปี

สมาชิกเฟดบางราย อาทิ นายชาร์ล อีวานส์ ประธานเฟดสาขาชิคาโก ยังคงเปิดกว้างต่อการหารือเรื่องที่ว่าเฟดจะทำการปรับลดดอกเบี้ยลงหรือไม่ หากเงินเฟ้อยังคงออกมาน่าผิดหวังต่อไป หรือการขยายตัวที่ไม่คาดคิดและกลับสู่ภาวะชะลอตัว ด้านนายริชาร์ด คลาริด้า รองประธานเฟด ระบุในเดือนนี้กับทาง CNBC โดยระบุว่า ในปี 1995 และ ปี 1998 เฟดอาจมีการปรับลดดอกเบี้ยได้ เว้นแต่ว่าภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจจะไม่ปรากฎขึ้น

· รายงานจาก New York Times ระบุว่า นายสตีเว่น มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังแห่งสหรัฐฯ ได้ให้สัมภาษณ์ในระหว่างการประชุมสถาบัน Milken Institute Global Conference ว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนกำลังอยู่ในช่วง “โค้งสุดท้าย”

ซึ่งหมายความว่าการเจรจาอยู่ในช่วงที่จะสามารถสรุปข้อตกลงได้ทุกเมื่อ หรืออาจจะจบลงโดยที่ไม่มีข้อตกลงเลยก็เป็นไปได้เช่นกัน

ทั้งนี้ นายมนูชิน พร้อมกับนายโรเบิร์ต ไรท์ไฮเซอร์ ตัวแทนการค้าแห่งสหรัฐฯ มีกำหนดการเดินไปร่วมการประชุมการค้ากับจีน ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันที่ 30 เม.ย. นี้

· รายงานจาก IMF ล่าสุด บ่งชี้ว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลกและการยกระดับความตึงเครียดทางการค้า รวมทั้งภาวะทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสำหรับประเทศในแถบตะวันออกกลาง และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจโลกกำลังสะท้อนถึงแนวโน้มของปีนี้ อันที่มีการชะลอตัวด้านการเติบโต โดยเฉพาะประเด็นทางการค้า และความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ควบคู่ไปกับ เงื่อนไขทางการเงินทั่วโลก ที่ดูจะส่งผลต่อประเทศเศรษฐกิจในโลก

· ทีมตัวแทนการเจรจาการค้าจากสหรัฐฯจะเดินทางไปยังประเทศจีน เพื่อร่วมการเจรจาในวันอังคารที่ 30 เม.ย. นี้ โดยมีเป้าหมายที่จะหยุดยั้งความขัดแย้งทางการค้าให้สำเร็จภายในการประชุมครั้งนี้ และการประชุมครั้งถัดไปที่จะตามมาในวันที่ 8 พ.ค.

ไม่ว่าการเจรจาจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ทิศทางของเศรษฐกิจโลกก็จะเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในปีนี้และปีต่อๆไป

· นายฌ็อง-คอล์ด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการอียู กล่าวว่า โปแลนด์ไม่มีแนวโน้มที่จะออกจากอียู ยกเว้นแต่การเลือกตั้งของโปแลนด์ในปีนี้ พรรค PiS จะได้รับชัยชนะ แต่ภาพรวมไม่คิดว่าโปแลนด์จะก่อให้เกิดกรณี Polexit

· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้กลุ่มโอเปกทำการเพิ่มผลผลิตเพื่อลดผลกระทบจากการคว่ำบาตรอิหร่านต่อสหรัฐฯ

โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ร่วงลง 0.7% ที่ระดับ 71.66 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่งงลง 0.7% เช่นเดียวกัน ที่ระดับ 62.87 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งราคาน้ำมันดิบทั้งสองชนิดปรับลดลงประมาณ 3% ในช่วงก่อนหน้านี้

นักวิเคราะห์จาก ANZ Bank ระบุว่า ราคาน้ำมันได้รับผลกระทบหลังจากนายทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้เจรจากับผู้ผลิตกลุ่มโอเปก ในการที่จะให้กลุ่มโอเปกปรับเพิ่มปริมาณการผลิต เพื่อให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com