• ประชุมเฟด 30 เม.ย. – 1 พ.ค. : ผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ย

    26 เมษายน 2562 | Economic News

สรุปใจความสำคัญ

-เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในการประชุมเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา แต่ได้ส่งสัญญาณจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากเศรษฐกิจสหรับฯคงทิศทางการเติบโตที่แข็งแกร่ง

-การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด เป็นการเพิ่มระดับหนี้สินดอกเบี้ยให้กับภาคเอกชน การจ้างงานที่แข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวต่อเนื่อง บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่สูงขึ้นสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด

-การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด นอกจากจะเพิ่มอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรแล้ว ยังเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสำหรับการถือครองสินทรัพย์และรายได้จากการปล่อยกู้ของธนาคาร

-ส่วนแบ่งของภาคธนาคารเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในภาพรวม GDP ของสหรัฐฯ ขณะที่รายได้ของภาคครัวและธุรกิจกลับปรับลดลงในทุกๆการขึ้นดอกเบี้ย

เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.25 – 2.5% เมื่อการประชุมในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา พร้อมยืนยันจะอดทนต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัว


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด?

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคาร

กราฟด้านล่างแสดงให้เห็นระดับหนี้สินของภาคเอกชน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP


ซึ่งจะเห็นได้ว่า ระดับหนี้สินที่สูงสุดเมื่อไม่นานนี้อยู่ในปี 2017 ที่ระดับ 202.8% ต่อ GDP

ส่วนตารางด้านล่างนี้กล่าวถึง ผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยที่มีต่อการกู้ยืมของภาคธนาคารพาณิชย์


(Source: Author calculations based on Trading Economics GDP measure)

ไฮไลท์สีเขียวคือระดับล่าสุด


ทุกๆ 0.25% ของอัตราดอกเบี้ยที่ขยับขึ้น จะไปสู่การเพิ่มขึ้นของกองทุนปล่อยกู้เป็นมูลค่า 1 หมื่นล้านเหรียญ จากนั้นธนาคารพาณิชย์จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของเงินกู้ที่ปล่อยให้กับลูกค้า

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด เปรียบเสมือนการเรียกเก็บภาษีเป็นวงกว้างทั้งจากภาคธนาคารพาณิชย์และภาคเอกชน ทุกครั้งที่เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เม็ดเงินมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ จะถูกย้ายออกจากภาคเอกชนมาสู่ภาครัฐบาล

อัตราผลตอบแทนพันธบัตร

พันธบัตรรัฐบาล (หรือที่เรียกว่าตราสารหนี้ของรัฐ) หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั่วไปจากเฟด อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรก็จะปรับสูงขึ้น เนื่องจากมีการออกพันธบัตรใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ทำให้พันธบัตรเก่าที่ยังคงอยู่ในตลาดมีความต้องการที่ลดน้อยลงไป

ตารางด้านล่างนี้ กล่าวถึงผลกระทบโดยรวมต่อพันธบัตรเมื่อมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย


ไฮไลท์สีเขียวคือระดับล่าสุด

จากตารางจะเห็นได้ว่า ทุกครั้งที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% จะมีเม็ดเงินใหม่เป็นมูลค่าอย่างน้อย 5.5 หมื่นล้านเหรียญ วิ่งออกจากภาครัฐบาลเข้าสู่ภาคเอกชน เท่ากับว่า เมื่อมีเงินดอลลาร์เข้าสู่ตลาดสหรัฐฯมากขึ้น ก็จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ


ที่มา: Seeking Alpha

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com