• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562

    21 กุมภาพันธ์ 2562 | Economic News

·         ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น หลังรายงานการประชุมเฟดบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่เฟดอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเรียอ่อนค่าลงจากกระแสคาดการร์ว่า ธนาคารกลางออสเตรเรียจะผ่อนคลายนโยบายการเงิน รวมถึงการที่จีนประกาศแบนการนำเข้าถ่านหินจากออสเตรเรีย

โดยค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโร ภายหลังจากที่ตลาดรับทราบถึงรายงานการประชุมเฟด ที่ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯและตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง จึงส่งผลให้เกิดกระแสคาดการณ์ว่า เฟดจะยังปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกอย่างน่อย 1 ครั้งในปีนี้ 

ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น 0.17% ที่บริเวณ 96.614 จุด แข็งค่าขึ้นจากระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 96.286 จุด

·         นักวิเคราะห์จาก Mizuho Bank ระบุว่า ค่าเงินดอลลาร์ได้รับแรงหนุนจากบรรดานักลงทุนที่ยังยึดติดอยู่กับโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ แต่ในภาพรวมของรายงานประชุม ยังคงสอดคล้องกับถ้อยแถลงของเฟดในเดือน ม.ค. ที่ระบุว่าจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ดังนั้น จุดสนใจของตลาดจะเปลี่ยนกลับไปยังประเด็นการเจรจาการค้า ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่า เดดไลน์ของการเจรจาอาจถูกเลื่อนออกไป ซึ่งอาจทำให้ยุโรปและญี่ปุ่นประสบกับปัญหาทางการค้าแทน

โดยนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ ได้กล่าวว่า สหรัฐฯจะทำการขึ้นภาษีรถยนต์นำเข้าจากยุโรป หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าร่วมกับยุโรปได้

ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินเยนที่บริเวณ 110.735 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ปรับแข็งค่าขึ้นได้ 0.25% เมื่อคืนนี้

·         ค่าเงินยูโรทรงตัวที่บริเวณ 1.1331 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากอ่อนค่าหลุดระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 1.1371 ดอลลาร์/ยูโร ลงมาเมื่อคืนนี้

·         ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลง 0.15% ที่บริเวณ 1.3031 ดอลลาร์/ปอนด์ โดยอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่ 1.3109 ดอลลาร์/ปอนด์ ที่ขึ้นไปเมื่อวานนี้

ค่าเงินปอนด์เผชิญแรงกดดันหลังรายงานข่าวที่ว่า ส.ส. จำนวน 3 คน ได้ลาออกจากพรรคอนุรักษ์นิยมของนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งอาจเป็นการทำให้การดำเนินนโยบาย Brexit เป็นได้ยากลำบากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เงินปอนด์ยังถูกกดดันลงจากการที่สถาบันจัดอันดับ Fitch Ratings พิจารณาอาจปรับลดระดับความสามารถในการชำระหนี้ของอังกฤษลงจากระดับ “AA” เนื่องจากความไม่แน่นอนของ Brexit

·         ค่าเงินเยนปัจจุบันเคลื่อนไหวแถว 110.73 เยน/ดอลลาร์  โดยมีการแกว่งขึ้นทำ High และทำ Low ของวันในช่วงเช้าที่ 110.86 – 110.59 เยน/ดอลลาร์

กิจกรรมภาคการผลิตของญี่ปุ่นหดตัวลงในเดือนก.พ. เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 ท่ามกลางอุปสงค์ภายในประเทศและยอดส่งออกที่กำลังหดตัวลง

อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยนดูจะถูกกดดันเพิ่มขึ้น หากดัชนีหุ้นมีการปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งขณะที่นักวิเคราะห์ของ FXStreet เขียนวิเคราะห์นี้ ดัชนี S&P500 เคลื่อนไหวทรงตัว ท่ามกลางหุ้นเอเชียที่เคลื่อนไหวผสมผสานกัน

ในทางเทคนิค ค่าเงินเยนยังมีทิศทางแข็งค่า โดยยังเคลื่อนไหวแถวเส้นค่าเฉลี่ย MA 5 วันและ 10 วัน โดยมีระดับแนวรับสำคัญเส้น MA 5 วัน ที่ 110.65 เยน/ดอลลาร์

แนวต้าน: 111.02,  111.2  และ 111.44  เยน/ดอลลาร์

แนวรับ:  110.6,  110.36  และ 110.18  เยน/ดอลลลาร์

·       ·         รายงานจาก CNBC ระบุว่า บรรดาตัวแทนการเจรจาการค้าจากสหรัฐฯและจีน เริ่มมีการร่างเค้าโครงของข้อตกลงการค้าที่จะเข้ามายุติข้อพิพาททางการค้าของทั้ง 2 ประเทศ ในการเจรจาระดับสูง ณ กรุงวอชิงตัน ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความคืบหน้าครั้งสำคัญล่าสุดของการเจรจา

โดยทั้งสองฝ่ายได้เริ่มต้นร่าง MOU หรือหนังสือบันทึกข้อตกลงที่เข้าใจตรงกัน ซึ่งคลอบคลุมไปยังประเด็นความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น การบังคับถ่ายทอดเทคโนโลยี การโจรกรรมทางไซเบอร์ การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา การบริหาร การแลกเปลี่ยนค่าเงิน การเกษตร และกำแพงการค้าที่ไม่ใช่ภาษี 

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีการตรวจสอบรายชื่อสินค้าทั้ง 10 รายการ ที่จีนจะสามารถเพิ่มการเข้าซื้อเพื่อลดยอดขาดดุลทางการค้าร่วมกับสหรัฐฯได้ โดยรายการสินค้าดังกล่าวขะคลอบคลุมไปยังสินค้าในกลุ่มการเกษตร พลังงาน และกลุ่มอื่นๆ เช่น เซมิคอนดัคเตอร์ เป็นต้น

·       ·         นักวิเคราะห์จาก FX Street ระบุว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องการอะไรแน่จากการเจรจาการค้ากับประเทศจีน ซึ่งอาจสร้างความปวดหัวให้กับนายโรเบิร์ต ไรท์ไฮเซอร์ ตัวแทนการค้าสหรัฐฯ ประกอบกับหลังจากที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯถูกเทขายอย่างหนักในเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา เป็นการทำให้นายทรัมป์เริ่มรู้สึกตัวแล้วว่า การดำเนินนโยบายของตนมีความผิดพลาด จึงทำให้ทรัมป์เปลี่ยนท่าทีในการเจรจาการค้ากับจีน ในจังหวะที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่จะเกิดขึ้นได้ ขณะที่ทางจีนอาจมองว่าทรัมป์เริ่มหมดความอดทน เนื่องจากเขาไม่ได้รับสิ่งที่เขาต้องการ จึงทำให้จีนเริ่มเสนอข้อตกลงที่มีมูลค่าน้อยลง ประกอบกับการที่นายทรัมป์ดูจะไม่มีการประสานงานที่เหมาะสมร่วมกับนายไรท์ไฮเซอร์ จึงเป็นไปได้ที่สหรัฐฯอาจได้รับข้อตกลงการค้าที่ตนเป็นฝ่ายไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ และนั่นก็จะเป็นผลเสียต่อค่าเงินดอลลาร์


·         ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ขยับขึ้นได้เกิือบ 50 ปิ๊ปส์ ทำระดับแข็งค่ามากที่สุดของวันที่ 0.7206 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในตลาดเอเชียเช้านี้ อันเป็นผลจากข้อมูลจ้างงานออสเตรเลียออกมาดีขึ้นเกินคาด

·         รายงานจาก FXStreet เผยว่า โฆษกรัฐมนตรีกระทรวงการต่าปงระเทศของจีน กล่าวว่า จะไม่ทำการปรับลดค่าเงินหยวนเพื่อการแข่งขันทางการค้า หลังจากมีรายงานว่าสหรัฐฯกำลังกดดันให้จีนสร้างเสถียรภาพในค่าเงินหยวน อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงทางการค้า

·         แบบสำรวจโดย Reuters พบว่า ธนาคารกลางแห่งประเทศจีนยังไม่มีความพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงแต่อย่างใด แม้ว่าเศรษฐกิจจะเผชิญกับการชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้อและค่าเงินหยวนที่แข็งค่าก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารกลางมีแนวโน้มจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในด้านอื่น เช่น การขยายเพดานถือครองทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์ (RRR) เพื่อกระตุ้นการกู้ยืมและการขยายตัวของเครดิต เป็นต้น

ขณะที่แบบสำรวจยังคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการอาจประกาศออกมาที่ระดับ 6.3% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 29 ปี ขณะที่บางส่วนเชื่อว่าอัตราการเติบโตที่แท้จริงของเศรษฐกิจ อาจอ่อนแอกว่าที่แบบสำรวจคาดการณ์ไว้ก็เป็นได้

·         ปีเตอร์ พลาเอท หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของอีซีบี ระบุว่า คณะกรรมการอีซีบีจะมีการเจรจาเกี่ยวกับแผนปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารพาณิชย์รอบใหม่ (TLTRO) อย่างเร็วที่สุดภายในการประชุมของอีซีบีวันที่ 7 มี.ค. แต่อาจจะยังไม่มีการตัดสินใจใดๆออกมาจากการประชุมดังกล่าว

ทั้งนี้ แผนปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารพาณิชย์รอบที่ผ่านมา กำลังเข้าใกล้วันชำระหนี้ในช่วงปี 2020 – 2021 โดยเฉพาะในอิตาลีและสเปนที่มีมูลค่ากู้ยืมสูงถึง 7.39 แสนล้านยูโร (8.3913 แสนล้านเหรียญ)

·         แบบสำรวจโดย Reuters พบว่า มีนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่ง ที่แม้จำนวนจะยังน้อยแต่เริ่มมีมากขึ้น มองว่า การดำเนินนโยบายในขั้นต่อไปของบีโอเจ มีแนวโน้มที่จะเป็นการผ่อนคลายนโยบายการเงินที่มีความผ่อนคลายมากอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ท่ามกลางความกังวลของบีโอเจว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าของบีโอเจ

โดยนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 9 คน จากเดิมที่ 5 คนในแบบสำรวจก่อน มองว่าบีโอเจจะออก

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยอาจเป็นการเข้าซื้อทรัพย์สินเพื่อนำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบการเงินมากขึ้น รวมถึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในการชี้นำตลาด

·         หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์จาก JPMorgan Securities Japan 1 ใน 9 นักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า หากมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากขึ้นเท่าใด บีโอเจก็จะมีการออกมาตรการเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นเท่านั้น

·         ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ 29 คนจากทั้งหมด 38 คน ยังมองว่า ขั้นตอนต่อไปของบีโอเจจะเป็นจะทยอยลดความผ่อนคลายของนโยบายการเงินให้เข้าสู่ระดับปกติลง ซึ่งบางส่วนมองว่าน่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2020 หรือหลังจากนั้น

·         หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจญี่ปุ่นจากสถาบัน Oxford Economics ระบุว่า บีโอเจพลาดโอกาสที่จะปรับนโยบายการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากผลกระทบของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเดือน ต.ค. ปีนี้

นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ 33 คน จากทั้งหมด 36 คน ไม่เห็นด้วยกับถ้อยคำของบีโอเจที่กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังคงทิศทางการเติบโต และจะขยายตัวถึงเป้าหมาย 2% ของบีโอเจได้

·         ราคาน้ำมันดิบปิดเหนือระดับสูงสุดในปี 2019 โดยได้รับปรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก และการคว่ำบาตรเวเนซุเอลาและอิหร่านโดยสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ราคายังถูกกดดันจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก

โดยราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.4% ที่ะรดับ 57.39 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.2% ที่ะรดับ 67.20 เหรียญ/บาร์เรล

เหล่านักลงทุน ระบุว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นเกินระดับสูงสุดในสัปดาห์นี้

ขณะที่ โบรกเกอร์ Phillip Futures ระบุว่า การชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจจะนำไปสู่ความอ่อนแอในการบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com