• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 31 มกราคม 2562

    31 มกราคม 2562 | Economic News
\
·         ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังเฟดส่งสัญญาณผ่อนคลายทางนโญบายการเงินในการประชุมเมื่อคืนที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินยูโรและดอลลาร์ออสเตรเรียได้รับแรงหนุนจากปริมาณความต้องสินทรัพย์เสี่ยงที่ฟื้นกลับเข้ามาในตลาด

โดยเฟดได้คงอัตราดอกเบี้ยในประชุมเมื่อคืนตามคาด แต่ได้ส่งสัญญาณจะชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจับตาดูท่าทีของเศรษฐกิจไปก่อน

·         นักวิเคราะห์จาก CMC Markets ระบุว่า การตอบสนองที่เหมาะสมของเฟดต่อสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในตลาดกลับมาเข้ามาบางส่วน

ดัชนีดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลง 0.1% ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ที่บริเวณ 95.26 จุด หลังจากอ่อนค่าลงมา 0.43% เมื่อคืน โดยนักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนีจะอ่อนค่าลงมาได้ถึงบริเวณ 93.5 จุด หากดัชนีหลุดแนวรับที่ 95 จุด

·         ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.24% บริเวณ 1.1504 ดอลลาร์/ยูโร โดยสัญญาณการผ่อนคลายทางนโยบายการเงินเฟด ได้บดบังความกังวลที่มีต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน 

·         ขณะที่ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.1% บริเวณ 1.3131 ดอลลาร์/ปอนด์ โดยค่าเงินยังคงเผชิญแรงกดดันจากท่าทีของ Brexit ที่ยังไร้ความชัดเจนของทิศทางในอนาคต

·         FXStreet ระบุว่า แม้ว่าตลาดหุ้นเอเชียจะฟื้นตัวกลับท่ามกลางสภาวะตลาดแบบ Risk-On ขณะที่ค่าเงินเยนกลับแข็งค่าไปทำระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ที่ระดับ 108.85 เยน/ดอลลาร์  ขณะที่ตราสารหนี้ก็มีการปรับอ่อนตัวลง หลังจากที่เฟดส่งสัญญาณผ่อนคลายในการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยอนาคต
·         การเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโรจะเป็นที่จับตาของตลาดอย่างมาก เนื่องจากจะมีการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัวในวันนี้ โดยเฉพาะตัวเลขของอิตาลี ที่มีปัญหาทางด้านงบประมาณมาก่อนหน้านี้ ขณะที่ตัวเลขอื่นๆก็ถูกคาดการร์ว่ามีแนวโน้มที่จะย่ำแย่ลง ท่ามกลางสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจยูโรโซน

นักวิเคราะห์จาก Daily FX คาดการณ์ว่า ในระยะยาวค่าเงินมีโอกาสอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2019 เมื่อพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจ แต่ในระยะสั้น ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ (EUR/USD) ได้ปรับขึ้นเหนือนแนวต้านของเดือน ม.ค. สู่ระดับ $1.1435 และปิดตลาดเหนือระดับ $1.1478 ดังนั้นแนวโน้มระยะสั้นจึงดูน่าดึงดูดสำหรับฝั่งซื้อเป็นอย่างมาก แต่ต้องไม่ลืมว่าภาพรวมระยะยาวยังอยู่ในทิศทางขาลง

·         บรรดา ส.ส. ในรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่านมา ได้เดินหน้าผลักดันร่างนโยบายที่จะมาจำกัดอำนาจในการออกนโยบายภาษีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยให้เหตุผลเพื่อเป็นการรักษาความมั่นคงระหว่างประเทศ

ร่างนโยบายดังกล่าวยังมีแนวโน้มที่ไม่ชัดเจนว่าจะสามารถผ่านการลงมติทั้ง 2 สภาหรือไม่ แต่ร่างนโยบายได้สะท้อนถึงความกังวลของบรรดา ส.ส. ที่มีต่อการปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากประเทศของทีมบริหารประธานาธิบดี โดยเฉพาะกรณีที่ทีมบริหารปรับขึ้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียมนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดเสียงต่อต้านจากบรรดา ส.ส. ที่สนับสนุนการค้าเสรีรวมถึงความไม่พึงพอใจจากประเทศพันธมิตร และยังเป็นการทำให้ต้นทุนการผลิตในประเทศสูงขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ ร่างนโยบายดังกล่าวจะจำกัดอำนาจในการขึ้นภาษีของประธานาธิบดี ด้วยการบังคับให้คำสั่งขึ้นภาษีหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการค้าใดๆ จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสก่อน ถึงจะสามารถผลักดันเป็นกฏหมายบังคับใช้ได้

·         หลังจากที่ค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์มีการเคลื่อนไหวในภาวะสะสมพลังก็ดูจะกลับมาแข็งค่าอีกครั้งหลังจากที่เฟดส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบาย และทำให้เกิดสภาวะ Risk-on ขึ้นในตลาดหุ้นเอเชีย ควบคู่กับข้อมูเศรษฐกิจจีน หรือ PMI ออกมาดีขึ้น และทำให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นใกล้ระดับสูงสุดรอบ 8 สัปดาห์ที่ 0.7270

·         บริษัทจีนกว่า 300 บริษัท มีแนวโน้มที่จะรายงานผลประกอบการรายปีออกมาอ่อนแอลง โดยแต่ละบริษัทอาจสูญเสียผลประกอบการไปมากกว่า 100 ล้านหยวน (15 ล้านเหรียญ) ท่ามกลางแรงกดดันจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจและข้อพิพาททางการค้า

โดยรายงานระบุว่า มีบริษัทกว่า 320 บริษัทที่น่าจะมีผลประกอบการรายปีอ่อนแอลง ขณะที่มี 129 บริษัทในจำนวนดังกล่าว อาจสูญเสียผลประกอบการไปมากกว่า 800 ล้านหยวน

·         รายงานจาก Reuters ระบุว่า บรรดาธนาคารรายใหญ่มองโอกาสที่อังกฤษจะถอนออกจากอียูแบบไม่มีข้อตกลงการค้าใดๆ หรือที่เรียกว่า No-deal Brexit แม้จะยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ก็มีโอกาสสูงขึ้น ขณะที่โอกาสที่อังกฤษจะขยายระยะเวลาของ Brexit ออกไป จากเดิมที่มีกำหนดในวันที่ 29 มี.ค. มีสูงมากขึ้น

สำหรับโอกาสที่จะเกิดกรณี No-deal บรรดาธนาคารมองโอกาสไว้ตามตารางดังต่อไปนี้

สำหรับมุมมองของธนาคารที่น่าจับตามีดังต่อไปนี้

GOLDMAN SACHS มองโอกาสเกิดกรณี No-deal Brexit ไว้ที่ 15% จากเดิมที่ 10% หลังจากลงมติของรัฐสภา ขณะที่มองโอกาสที่จะไม่เกิด Brexitเลยไว้ที่ 35% ลดลงจากเดิมที่ 40% ส่วนโอกาสที่ Brexit จะถูกขยายระยะเวลาออกไป มองไว้ที่ 50%

DEUTSCHE BANK มองโอกาสเกิดกรณี No-deal Brexit ไว้ที่ 15% จากเดิมที่ 5% พร้อมแนะนำให้ปิดสถานะ Long ในค่าเงินปอนด์เพื่อเร่งทำกำไรออกไป อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารฯมองโอกาส 50% ที่ข้อตกลง Brexit ของนายกฯอังกฤษจะได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาในนาทีสุดท้าย จากเดิมที่มองไว้ที่ 30% ขณะที่โอกาสเกิดการลงประชามติรอบสอง มองไว้ที่ 5% จากเดิม 15%

·         กิจกรรมภาคการผลิตของจีนประจำเดือนม.ค. ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ชี้ให้เห็นถึงความกดดันทางเศรษฐกิจที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ความกังวลเกี่ยวกับปริมาณอุปสงค์ของจีนที่ชะลอตัวลงส่งผลต่อตลาดการเงินของโลกและยังกดดันการค้าขายระหว่างประเทศ จะเห็นได้จากยอดขายIphone และเครื่องจักรของ Caterpillar ที่ลดลง

แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ความกังวลก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับประเด็นที่จีนอาจมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวที่รุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ หากสงครามการค้ากับสหรัฐฯกำลังดำเนินไป

ด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนม.ค.ปีที่ผ่านมา ปรับขยับขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 49.5 จากเดิมที่ระดับ 49.4

·         ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ติดต่อกัน 3 วันทำการ โดยถูกกดดันจากปริมาณการนำเข้าสหรัฐฯที่ลดลง ท่ามกลางความพยายามของโอเปคที่คุมปริมาณการผลิตและการที่เวเนซุเอลาพยายามรักษาปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบหลังจากที่สหรัฐฯประกาศคว่ำบาตรบริษัทน้ำมันของรัฐบาลเวเนซุเอลา

โดยราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.4% ที่ระดับ 54.47 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 62.01 เหรียญ/บาร์เรล

นักวิเคราะห์ประจำธนาคาร ANZ ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบมีความแข็งแกร่งหลังจากมีสัญญาณว่าการลดลงของกลุ่มโอเปค ส่งผลกระทบต่อการค้า ขณะที่รายงานประจำสัปดาห์ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) แสดงให้เห็นว่าการนำเข้าน้ำมันดิบสหรัฐฯจากซาอุดิอาระเบียลดลงกว่าครึ่งจากสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 442,000 บาร์เรล/วัน

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com