• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 16 มกราคม 2562

    16 มกราคม 2562 | Economic News
\
·       ค่าเงินปอนด์ค่อนข้างทรงตัวในวันนี้ หลังตลาดตอบรับกับผลการลงมติ Brexit เมื่อคืนนี้ ที่จบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างราบคาบของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ

โดยค่าเงินปอนด์เคลื่อนไหวบริเวณ 1.2864 ดอลลาร์/ปอนด์ ในวันนี้ หลังจากที่มีความผันผวนอย่างมากเมื่อคืนนี้ โดยเคลื่อนไหวทำระดับต่ำสุดที่1.2670 ดอลลาร์/ปอนด์ และระดับสูงสุดที่ 1.2917 ดอลลาร์/ปอนด์ ภายในคืนเดียว

·       นักวิเคราะห์จาก Daiwa Securities ประเมินว่า แม้ตลาดจะไม่ได้คาดการณ์ว่านายกฯอังกฤษจะพ่ายแพ้ด้วยคะแนนเสียงที่แตกต่างกันอย่างมาก แต่ตลาดก็ได้คาดการณ์เอาไว้เป็นเวลาเนิ่นนานแล้วว่านายกฯอังกฤษจะพ่ายแพ้ และบรรดานักลงทุนก็เริ่มมีการทำ Cover-short ในค่าเงินปอนด์ หลังทราบผลการลงมติ โดยสิ่งที่ตลาดจะจับตาต่อไป คือแนวโน้มที่เดดไลน์ของ Brexit จะถูกขยายออกไปจากเดิมหรือไม่ หากถูกเลื่อนออกไป สิ่งที่จะจับตาต่อไปคือการที่อังกฤษจะถอนตัวแบบ No-deal หรือจะยกเลิกแนวคิดถอนตัวไปเลย

·       ด้านค่าเงินยูโรวันนี้ค่อนข้างทรงตัวบริเวณ 1.1411 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ปรับอ่อนค่าลงถึง 0.5% เมื่อคืนนี้

·       ค่าเงินดอลลาร์ทรงตัวเมื่อเทียบกับเงินเยนที่บริเวณ 108.655 เยน/ดอลลาร์ หลังปรับแข็งค่าขึ้นได้ 0.5% จากการฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนนี้

·       ค่าเงินปอนด์แม้จะมีทิศทางแข็งค่าแต่ก็มีแนวโน้มจะผันผวนได้ตามการลงมติจากทางรัฐสภาอังกฤษต่อ ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญหลายรายมีการกล่าวเตือนว่าค่าเงินปอนด์อาจกลับมาอยู่ภายใต้แรงกดดันต่อในเดือนน้ เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ Brexit ยังคงมีอยู่สูงต่อกรณีที่ว่าอังกฤษจะออกจากอียูเช่นไร

ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงอีกครั้งเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ในทันที หลังจากที่เมื่อวานนี้ทางรัฐสภาอังกฤษโหวตปฏิเธสแผน Brexit ของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ  แต่ค่าเงินก็ดูจะกลับมาแข็งค่าได้อีกครั้งท่ามกลางเหล่าเทรดเดอร์ที่ลดมุมมองเกี่ยวกับการเกิด Hard Brexit

นักกลยุทธ์ค่าเงินจาก Canadian Imperial Bank of Commerce กล่าวว่า ค่าเงินปอนด์ดูจะยังมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก หลังจากเป็นที่แน่ชัดแล้วว่านายกรัฐมนตรีอังกฤษถูกโหวตไม่เห็นชอบต่อข้อตกลงเมื่อวานนี้ แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่กับอีกหลายประเด็น ซึ่งหากเราพิจารณาจากสภาวะแวดล้อมในขณะนี้ การโหวตไม่ไว้วางใจที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็มีแนวโน้มจะนำไปสู่การลงประชามติอีกครั้ง รวมทั้งมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเลือกตั้งทั่วไป และไม่มีใครบอกได้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจหรือค่าเงินที่กำลังเคลื่อนไหวในขณะนี้ ดังนั้นนักลงทุนควรจะระมัดระวังที่จะลงทุนจึงจะเป็นการดีที่สุ

นักเศรษฐศาสตร์จาก UBS Global Wealth Management มองว่า เราไม่ควรทำอะไรในขณะนี้จนกว่าจะทราบความชัดเจนที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในค่าเงินปอนด์หรือสินทรัพย์การลงทุนของอังกฤษ

·       รายงานจาก CNBC ระบุว่า ทั่วโลกต่างกำลังรอคอยว่า นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะมีท่าทีต่อไปเช่นไร หลังจากที่ล้มเหลวในการได้รับเสียงสนับสนุนต่อข้อตกลง Brexit จากทางรัฐสภา และส่งผลให้นักการเมืองบางรายเชื่อว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่น่าจะเห็นการลงประชามติ Brexit ครั้งท่ี่ 2

นายแอนดรู อะโดนิส สมาชิกพรรคแรงงานจากทางรัฐสภา ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคมนาคมและกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวกับสำนักข่าวCNBC โดยระบุว่า ความผันผวนที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มาจากการที่นางเมย์ได้รับเสียงคัดค้้านต่อข้อตกลง และมีแนวโน้มว่าจะเห็นประชาชนชาวอังกฤษทำการลงประชามติเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตนี้อีกครั้ง

อย่างไรก็ดี  พรรคฝ่ายค้านอย่งพรรคแรงงานได้กำหนดให้มีการลงมติไม่ไว้วางใจในตัวนางเมย์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมในคืนนี้ หลังจากที่เมื่อวานนี้เธอได้รับเสียงคัดค้านมากถึง 230 เสียงต่อข้อตกลงถอนตัวออกจากอียู โดยอังกฤษมีกำหนดจะออกจากอียูในช่วงสิ้นเดือนมี.ค.

นายเจเรมี คอร์บลิน ผู้นำพรรคแรงงาน แสดงความคาดหวังว่า นางเมย์ก็จะยังคงพ่ายแพ้ต่อ สำหรับการลงมติไม่ไว้วางใจในคืนนี้ และอาจเป็นการปูทางเลือกไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ที่พรรคแรงงานมีแนวโน้มจะได้รับชัยชนะ แต่นักวิเคราะห์ทางการเมืองหลายคน รวมทั้งสมาชิกพรรคแรงงานบางส่วน ยังเชื่อว่า นางเมย์จะรอดพ้นและได้รับชัยจากการลงมติไม่ไว้วางใจในคืนนี้ ยกเว้นแต่สมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมจะร่วมโหวตไม่ไว้วางใจในตัวเธอด้วยเช่นกัน

·       หากนางเมย์ยังสามารถเอาตัวรอดได้จากการลงมติไม่ไว้วางใจในวันนี้ เธอจะต้องเดินหน้าหาทางเลือกสำหรับกลยุทธ์ Brexit ต่อในสัปดาห์หน้า ซึ่งอาจเป็นหัวข้อในการถกกับทางรัฐสภาอีกครั้ง แต่เนื่องจากยังไม่มีรูปแบบของ Brexit ใดๆที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากทางพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคฝ่ายค้าน นายคอร์บลิน จึงมีไอเดียที่จะให้จัดการลงประชามติครั้งที่ 2 ว่าชาวอังกฤษจะยอมแพ้ต่อการออกจากการเป็นประเทศสมาชิกอียูหรือไม่

และการลงประชามติดูจะมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมาก และดูจะเป็นทางเลือกที่จะได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกในรัฐสภา

อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจคือ หากนางเมย์ได้รับชัยชนะจากการลงมติไม่ไว้วางใจในคืนนี้ ก็เกิดคำถามตามมาว่า นายคอร์บลินจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไปในสัปดาห์หน้าสำหรับเรื่องการลงประชามติ หรือจะรอจนกว่าจะสิ้นสุดเดือนมี.ค. และดูเหมือนการลงประชามติในครั้งที่ 2 นี้ มีแนวโน้มจะยังเห็นอังกฤษอยู่ในอียูมากกว่าที่จะเลือกถอนตัว

·       หลังจากการลงมติข้อตกลง Brexit ในรัฐสภาอังกฤษเมื่อคืนที่ผ่านมา จบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างราบคาบของนายกรัฐมนตรีเทเรซ่า เมย์ พรรคฝ่ายค้านในรัฐสภานำโดยนายเจเรมี โคบลิน ก็ไม่รอช้า เดินหน้าผลักดันการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลโดยทันที

โดยการลงมติจะเริ่มต้นขึ้นภายในคืนนี้ ซึ่งทางหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านจะมีการกล่าวโต้วาทีกับนายกรัฐมนตรี โดยอาจเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเวลา 20.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ไปจนถึงช่วง 02.00 น. ก็จะเริ่มต้นการลงมติจริง ส่วนผลการลงมติน่าจะออกมาอย่างเร็วที่สุดหลังจากนั้นประมาณ 15 นาที

·       นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ พยายามใช้กลยุทธ์ใหม่ในการหาเสียงสนับสนุนเกี่ยวกับการก่อสร้างกำแพงชายแดนสหรัฐฯ ด้วยการเข้าหานางแนนซี่ เปโลซี่ โฆษกประจำสภาผู้แทนราษฎร แต่กลับประสบความล้มเหลว

โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา นายทรัมป์ได้เชิญนางแนนซี่และสมาชิกพรรคเดโมแครตร่วมรับประทานอาหารเที่ยงและพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นก่อสร้างชายแดน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทรัมป์เคยใช้ในสมัยที่นายพอล ไรอัน ยังเป็นโฆษกประจำสภาผู้แทนราษฎร และพรรครีพับลิกันยังครองเสียงข้างมากในสภาล่างอยู่ แต่ครั้งนี้แตกต่างออกไป เนื่องจากเดโมแครตเป็นฝ่ายที่กลับมาครองเสียงข้างมาก และก็ไม่มีผู้ใดเข้าร่วมรับประทานอาหารกับนายทรัมป์แม้แต่คนเดียว

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่าพรรคเดโมแครตมีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับภาวะ Shutdown มากเพียงใด รวมถึงการที่นายทรัมป์สบประมาทความเชื่อมั่นของเดโมแครตที่มีต่อตัวนางแนนซี่

·       ภาวะ Shutdown รัฐบาลสหรัฐฯครั้งนี้ถือเป็นการปิดยาวนานที่สุดเป็นประวัติการณ์ และส่งผลให้ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความเสี่ยงทางด้านความเชื่อมั่นในภาคบริษัทที่ว่าจะได้รับผลกระทบจากข้อขัดแย้งทางการค้า รวมทั้งความผันผวนในตลาดหุ้นด้วย

หัวหน้านักวิเคราะห์จาก Bank of America Merrill Lynch ระบุว่า หากภาวะ Shutdown ยังคงดำเนินไปอีกหลายสัปดาห์จะส่งผลกระทบต่อตลาดต่างๆที่จะกลายเป็นสัญญาณความผิดปกติของตลาดต่างๆในสหรัฐฯ


·       นักวิเคราะห์จาก BofA ระบุว่า ผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมจากภาวะ Shutdown ที่หากดำเนินต่อไปในไตรมาสนี้ จะกระทบกับสัดส่วนการขขยายตัวของจีดีพีมากถึง 1% และอาจทำให้มีการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีรายปีอยู่ที่ 1.2% ขณะทีประธานบริหารจาก JP Morgan Chase มองว่า Shutdown อาจผลักให้จีดีพีรายไตรมาสกลับไปสู่ระดับ 0%


·       สำนักงาน Bureau of Economic Analysis ประเมินว่า โดยส่วนใหญ่แล้วผลกระทบจาก Shutdown จะก่อให้เกิดการว่างงานในหน่วยงานรัฐบาล โดยในปี 2013 จะเห็นได้ว่าบรรดาข้าราชการกว่า 800,000 คน ที่ว่างงานอย่างต่อเนื่อง 17 วัน

และข้อมูลล่าสุดจากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ทำเนียบขาว ชี้ว่า ผลกระทบไม่เพียงแต่จะมีคนว่างงาน 380,000 รายในเวลานี้ แต่จะส่งผลให้สัดส่วนจีดีพีปรับลดลงไปประมาณ 0.08% ในทุกๆสัปดาห์ที่ภาวะ Shutdown ดำเนินไป  นอกจากนี้ ผู้ว่าจ้างหน่วยงานรัฐก็มีแนวโน้มจะลดลงมากขึ้น 0.05% จากกิจกรรมที่ดำเนินงาน

·       นักวิเคราะห์จาก Standard&Poor ระบุว่า ภาวะ Shutdown ที่ขยายเวลาออกไปอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนจะยิ่งส่งสัญญาณกระทบต่อเศรษฐกิจ  และหากภาวะ Shutdown ยิ่งกินเวลานานเท่าใดก็จะยิ่งฉุดการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้ได้รับผลกระทบเคียงคู่กันไปเช่นกัน

ผลกระทบทางอ้อมอาจไม่ได้ส่งผลต่อโมเดลทางเศรษฐกิจมากนัก อันหมายรวมถึง การสูญเสียค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล จากการผิดนัดชำระเช็ค เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ ซึ่งจะเห็นได้จากข้าราชการกว่า 800,000 รายจะไม่ได้รับเช็ค และส่งผลให้ผู้ว่าจ้างหลายหมื่นรายได้รับผลกระทบควบคู่ไปด้วย

·       นักวิเคราะห์จาก BofA ระบุว่า ผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมจากภาวะ Shutdown ที่หากดำเนินต่อไปในไตรมาสนี้ จะกระทบกับสัดส่วนการขขยายตัวของจีดีพีมากถึง 1% และอาจทำให้มีการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีรายปีอยู่ที่ 1.2% ขณะทีประธานบริหารจาก JP Morgan Chase มองว่า Shutdown อาจผลักให้จีดีพีรายไตรมาสกลับไปสู่ระดับ 0%

นอกจากนี้ ยังมีความกังวลไปทั่วว่าภาวะ Shutdown จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพและความามารถในการดำเนินงานของเหล่านักการเมือง ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่เปราะบางมากในเวลานี้สำหรับประวัติศาสตร์สหรัฐฯที่จะกลายมาเป็นอุปสรรคต่อความเชื่อมั่นภาคบริษัทและภาคครัวเรือน อันจะเห็นได้จากความเชื่อมั่นผู้บรฺิโภคร่วงลงมากที่สุดในช่วงปลายปี 2013 หลังจากที่ประสบภาวะ Shutdown ยาวนาน 16 วัน

·       ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์แห่งประเทศจีน กล่าวว่าภาพรวมเศรษฐกิจจีนในปีนี้มีความไม่แน่นอนมากขึ้น หลังเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จีนได้รายงานยอดส่งออกและนำเข้าที่ชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

·       รายงานจากสำนักข่าว Yonhap ระบุว่า ตัวทานทางการทูตจากเกาหลีเหนือจำนวน 3 คน ซึ่งรวมถึงนักการทูตระดับสูง จากเกาหลีเหนือ ได้จองตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางไปยังสหรัฐฯ จึงเกิดกระแสคาดการณ์ว่า สหรัฐฯและเกาหลีเหนือจะมีการเจรจากันเกี่ยวกับการปลดอาวุธนิวเคลียร์

โดยรายงานจากเมื่อวันก่อนระบุว่า นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐฯ และนายคิม ยอง ชอล ที่ปรึกษาคนสนิทของผู้นำเกาหลีเหนือ ถูกคาดการณ์ว่าจะพบกันในวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์นี้ เพื่อเจรจาเกี่ยวกับการกำหนดวัน เวลา และสถานที่ สำหรับจัดการประชุมระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯและผู้นำเกาหลีเหนือเป็นครั้งที่ 2

·       รายงานจาก Reuters ระบุว่า บีโอเจมีแนวโน้มที่จะปรับลดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อลงในการประชุมสัปดาห์หน้า ท่ามกลางสัญญาณราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอย่างหนัก รวมถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังกดดันเป้าหมายเงินเฟ้อของบีโอเจที่ 2%

อย่างไรก็ตาม ทางบีโอเจมมีแนวโน้มที่จะคงมุมมองที่สดใสต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไว้ที่ระดับปานกลางดังเดิม แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกก็ตาม

ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวทรงตัวในวันนี้ ท่ามกลางสัญญาณที่ว่าเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ในขณะที่บรรดากลุ่มผู้นำโอเปกมีการปรับลดอุปทานน้ำมันและกลายเป็นปัจจัยที่ยังหนุนให้ราคาน้ำมันดิบ Brent ยังเคลื่อนไหวเหนือ 60 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 2 เซนต์ มาเคลื่อนไหวแถว 60.66 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ยังทรงตัวแถวระดับปิดวานนี้บริเวณ 52.11 เหรียญ/บาร์เรล

นักวิเคราะห์จาก Swiss bank Julius Baer ระบุว่า ปัจจัยพื้นฐานของตลาด ณ ขณะนี้ ยังไม่สามารถกำหนดทิศทางที่ขัดเจนให้กับราคาน้ำมันได้

·       EIA เปิดเผยคาดการณ์ราคาน้ำมันปี 2020 เป็นครั้งแรก โดยภาพรวมตลาดยังมีความไม่แน่นอนอย่างมากในเรื่องของอุปสงค์น้ำมันและอุปทาน ขณะที่แนวโน้มตลาดน้ำมันตอนนี้ยังมีความไม่ชัดเจน

ผลสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจากรอยเตอร์ส เผยว่า ราคาน้ำมันดิบถูกคาดว่าจะเคลื่อนไหวใกล้ระดับปิดปัจจุบัน โดยราคาน้ำมันดิบ Brent ปีนี้จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 65 เหรียญ/บาร์เรล โดยยังไม่เปลี่ยนแปลงจากผลสำรวจก่อนหน้าในปี 20162017 และ 2018

·       Daily FX ประเมินว่าราคาน้ำมัน WTI มีการเคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัวใกล้แนวต้านที่ระดับ 53.39 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งหากผ่านแนวนี้ไปได้ก็จะมีเป้าหมายถัดไปที่บริเวณ 54.51 – 55.24 เหรียญ/บาร์เรล ตามมาโดยระดับ 59.05 เหรียญ/บาร์เรล ในทางกลับกัน หากราคาวันนี้ปิดต่ำกว่าระดับ 49.41 –50.15 เหรียญ/บาร์เรล ก็มีโอกาสที่ราคาจะลงไปทดสอบบริเวณ 42.05 – 42.55 เหรียญ/บาร์เรลได้อีกครั้ง

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com