• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561

    27 พฤศจิกายน 2561 | Economic News
• ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัวท่ามกลางความตึงเครียดจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ช่วยหนุนการเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่ตลาดมีการเคลื่อนไหวที่เบาบางเนื่องจากกำลังจับตารายงานการประชุมเฟดที่จะเปิดเผยในคืนพรุ่งนี้ เพื่อหาทิศทางต่อไปของนโยบายการเงินสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ความในเชื่อมั่นในตลาดสินทรัพย์เสี่ยงเผชิญแรงกดดันอีกครั้ง หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ส่งสัญญาณจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจากจีนจาก 10% เป็น 25% สำหรับสินค้านำเข้าเป็นมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญ

ดัชนีดอลลาร์ทรงตัวที่บริเวณ 97.01 จุด เคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดของวันที่ 15 พ.ย.

• ด้านค่าเงินเยน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ Safe-haven อ่อนค่า 0.12% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ที่บริเวณ 113.43 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ค่าเงินเยนมีโอกาสอ่อนค่าต่อเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เนื่องจากความแตกต่างทางนโยบายการเงินระหว่างธนาคารกลางของทั้ง 2 ประเทศ โดยสหรัฐฯได้ดำเนินการคุมเข้มทางการเงินมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น ยังคงอยู่ในนโยบายผ่อนคลายทางการเงินแบบพิเศษ เนื่องจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ

• ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ที่บริเวณ 1.1335 ดอลลาร์/ยูโร โดยทำระดับสูงสุดรายวันที่ 1.1383 ดอลลาร์/ยูโร หลังมีสัญญาณว่าอิตาลีอาจพิจารณาแก้ไขแผนงบประมาณที่เป็นปัญหากับทางอียู

• CNBC คาดการณ์ว่า ค่าเงินหยวนจีนมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจอ่อนค่าหลุดระดับ 7.00 หยวน/ดอลลาร์ขึ้นไป หากการเจรจาระหว่างผู้นำของทั้ง 2 ประเทศในการประชุม G-20 เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการค้า ไม่ประสบความสำเร็จหรือความขัดแย้งมีแนวโน้มที่จะย่ำแย่ลง ซึ่งนักวิเคราะห์ต่างมีมุมมองค่อนข้างเป็นเชิงลบต่อการเจรจาดังกล่าว ในวันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. นี้

• Goldman Sachs คาดการณ์ว่าราคาสินค้าโภคภันฑ์จะสามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ถึง 17% ภายในเดือนต่อๆไป โดยจะมีปัจจัยสำคัญคือการประชุม G-20 ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์นี้

• รายงานจาก Reuters ระบุว่า ยอดขายสินค้าออนไลน์ในช่วง Cyber Monday มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นถึงระดับ 7.9 พันล้านเหรียญ ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางแรงเข้าซื้อสินค้าออนไลน์ที่ได้รับส่วนลดอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ของเล่น จนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า

• ผลกำไรของภาคอุตสาหกรรมในประเทศจีนชะลอตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ในเดือน ต.ค. ท่ามกลางผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น และยอดขายที่ลดลงจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน

โดยผลกำไรภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 3.6% ในเดือน ต.ค. สู่ระดับ 5.48 แสนล้านหยวน (7.892 หมื่นล้านหยวน) ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน และชะลอตัวต่อเนื่องจากเดิมในเดือน ก.ย. ที่ระดับ 4.1%

ผลกำไรของภาคอุตสาหกรรมในจีนถูกประกาศออกมาภายหลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Wall Street Journal โดยระบุว่ามี “ความเป็นไปได้สูง” ที่เขาจะไม่ตอบรับกับข้อเรียกร้องจากประเทศจีนที่ขอให้สหรัฐฯ ชะลอการปรับขึ้นระดับดอกเบี้ยจาก 10% สู่ระดับ 25% สำหรับภาษีสินค้านำเข้าเป็นมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญ จากเดิมที่วางแผนว่าจะปรับขึ้นในวันที่ 1 ม.ค.

• CNBC คาดการณ์ว่า ค่าเงินหยวนจีนมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจอ่อนค่าหลุดระดับ 7.00 หยวน/ดอลลาร์ขึ้นไป หากการเจรจาระหว่างผู้นำของทั้ง 2 ประเทศในการประชุม G-20 เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางการค้า ไม่ประสบความสำเร็จหรือความขัดแย้งมีแนวโน้มที่จะย่ำแย่ลง ซึ่งนักวิเคราะห์ต่างมีมุมมองค่อนข้างเป็นเชิงลบต่อการเจรจาดังกล่าว ในวันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. นี้

• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง โดยถูกกดดันจากการที่ซาอุดิอาระเบียระดมการผลิตน้ำมันขึ้นสู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ. ย. โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 11.1 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ระดับ 11.3 ล้านบาร์เรล/วันในช่วงเดือนดังกล่าว

แม้ว่ากลุ่มโอเปกจะทำการผลักดันการปรับลดภาวะอุปทานก่อนหน้าการประชุมที่ออสเตรเลียในสัปดาห์หน้านี้ก็ตาม

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.3% ที่ระดับ 60.33 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 0.8% ที่ระดับ 51.24 เหรียญ/บาร์เรล

• นักวิเคราะห์จาก JBC Energy Group คาดการณ์ว่า กลุ่ม OPEC อาจพิจารณาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันลงประมาณ 1 ล้าน – 1.5 ล้านบาเรลล์/วัน ภายในการประชุมสัปดาห์หน้า เพื่อที่จะสามารถควบคุมตลาดที่อยู่ภาวะ Oversupply ได้ ขณะตลาดยังคงเผชิญกับภาวะความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน  

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com