• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561

    22 พฤศจิกายน 2561 | Economic News
·         ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงมาอีกครั้งในตลาดเอเชีย ขณะที่อุปสงค์สำหรับค่าเงินในสกุลสินทรัพย์ปลอดภัยชะลอตัว หลัลงจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการรีบาวน์และค่าเงินยูโรแข็งค่าจากความคาดหวังที่ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหางบประมาณอิตาลีได้

ดัชนีดอลลาร์อ่อนตัวลง 0.1% ที่ระดับ 96.62จุด หลังจากที่เมื่อวานร่วงลงไป 0.13%

นักวิเคราะห์บางส่วนเชื่อว่า ในระยะกลางค่าเงินดอลลาร์จะถูกกำหนดทิศทางจากวัฏจักรการคุมเข้มทางการเงินของเฟด

ขณะที่เฟดถูกคาดว่าจะประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 4 ของปีนี้ในการประชุมเดือนธ.ค. แต่นักลงทุนก็เริ่มมีการตั้งคำถามว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าได้อย่างไรโดยปราศจากความเสี่ยงที่เศรษฐิกจสหรัฐฯจะชะลอตัว อันเป็นอุปสรรคต่อการขึ้นดอกเบี้

·         อ้างอิงผลสำรวจจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ค่ากลางความคิดเห็นของนักวิเคราะห์เชื่อว่ามีโอกาสเห็นเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้จำนวน 3 ครั้งในปีหน้า และสิ้นปีหน้าระดับดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 3.00-3.25% ขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ของปีหน้าอาจต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง

นอกจากนี้ ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ยังมองว่ามีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะเห็นเศรษฐกิจสหรัฐฯเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีก 2 ปี โดยมีโอกาสที่ 35%

·         ค่าเงินเยนทรงตัว 113 เยน/ดอลลาร์ โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่าค่าเงินเยนน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 111.5-114 เยน/ดอลลาร์ ตามการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนสหรัฐฯอายุ 10 ปี

เมื่อพิจารณาจากการที่เฟดใช้มาตรการคุมเข้มทางการเงิน และบีโอเจมีการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินในช่วงที่ภาวะการขยายตัวและเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ  ขณะที่ความแตกต่างของดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯและจีนทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีความน่าสนใจมากกว่าค่าเงินเยน

·         ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.12% ที่ระดับ 1.1397 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่เทรดเดอร์เชื่อว่า หลังจากที่นายกรัฐมนตรีอิตาลีแสดงความกังวลเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลที่มีสัดส่วนของ Spread  และการให้คำมั่นจะเกิดการปฏิรูป

·         ข้อมูลผู้บริโภคจีนกำลังชะลอตัว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้แรงกดดัน ขณะที่เหล่านักวิเคราะห์ ระบุว่า หลายคนกำลังชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคต
โดยหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำ DJ Digits ระบุว่า การบริโภคที่ลดลงเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดเนื่องจากทุกคนทราบถึงการลงทุนที่ลดลง รวมทั้งประเด็นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามทางการค้า 
·         รัฐบาลอิตาลียืนหยัดต่อข้อเสนอแผนงบประมาณครั้งใหม่ แต่อาจมีการดำเนินการมากขึ้นเมื่ออียูกำลังจะใช้มาตรการลงโทษต่อการละเมิดกฎของประเทศ
คณะกรรมาธิการอียู กล่าวว่า ร่างงบประมาณของอิตาลี โดยระบุว่า ร่างงบประมาณอิตาลีปี 2019 ไม่สัมพันธ์กับกฎระเบียบของอียูในการลดระดับหนี้สินของประเทศ ขณะที่นายมัตเตโอ ซัลวินี รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยยังคงมีท่าทีต่อต้านต่อข่าวดังกล่าว และเขาจะหารือกับทางคณะกรรมาธิการอีกครั้ง ซึ่งคาดหวังว่าอิตาลีจะสามารถอธิบายโครงสร้างการปฏิรูปและแผนการลงทุนต่ออียูได้ และคาดหวังว่าอาจหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรจากทางอียูได้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว อาจเป็นการปฏิบัติตนที่ไม่ควรต่อชาวอิตาลี
·         Goldman Sachs และ J.P. Morgan สองธนาคารยักษ์ใหญ่ มองว่า ความน่าสนใจของแผนการปรับลดภาษีในปีนี้ ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯดูจะขยายตัวได้มากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มจะเจือจางออกไปในปีหน้า และเมื่อเศรษฐกิจมีการชะลอตัวก็อาจเห็นภาวะถดถอยกลับเข้ามาได้ และสิ่งหนึ่งที่เป็นเหตุผลหลักต่อการชะลอตัวลงคือตลาดหุ้นที่ปรับตัวลง ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่หันกลับเข้าหาตราสารหนี้และพันธบัตรจึงทำให้อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้น ขณะเดียวกันทาง Goldman Sachs และ J.P. Morganก็มองไปในทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มจะชะลอตัวต่ำกว่า 2% ในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 และในเวลาเดียวกันนั้น เฟดก็น่าจะยังขึ้นดอกเบี้ยได้จำนวน 4 ครั้งในปีหน้า
สำหรับนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการเงินแห่งอื่นๆ ก็เชื่อว่าเฟดน่าจะมีการชะลอแนวทางการขึ้นดอกเบี้ยออกไป
·         รายงานจาก CNBC ระบุว่า บรรดานักเศรษฐศาสตณ์มองว่าปัจจัยที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว ไม่เพียงแต่เฟดขึ้นดอกเบี้ย ยังมีจากผลกระทบจากแผนการขึ้นภาษีสินค้าและ Trade Was ซึ่งหากยังดำเนินต่อไปอนาคตในปีหน้ามีโอกาสเห็นเศรษฐกิจชะลอตัวแน่ และในปี 2020 มีแนวโน้มจะชะลอตัวได้มากขึ้น
·         โพลล์สำรวจจาก Reuters ระบุว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นประจำเดือนต.ค.ฟื้นตัวขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ในไตรมาสนี้ หลังการร่วงลงของเดือนก่อนหน้าเนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ขณะที่ ยอดค้าปลีกอาจขยายตัวได้ดีกว่าเดือนก.ย. ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงตลาดแรงงานที่ตึงตัวและการเติบโตของค่าจ้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป

·         JP Morgan ปรับลดมุมมองราคาน้ำมันในปี 2019 จากคาดการณ์เดิมที่ระดับ 83.50 เหรียญ/บาร์เรล คาดว่าราคาน้ำมันดิบ Brent จะอยู่ที่ระดับ 73 เหรียญ/บาร์เรล 

·         ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง หลังสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯยังคงเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. ปี 2017 ท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่กังวลต่อภาวะอุปทานน้ำมันตลาดโลก แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันอาจลดน้อยลงจากการที่กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่าง OPEC ต้องการขัดขวางเพื่อพยุงราคาน้ำมัน

สัญญาน้ำมันดิบ WIT ยังคงทรงตัวแถว 53.38 เหรียญ/บาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นมา 25 เซนต์ คิดเป็น +0.5% และก็ยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับปิดวานนี้

สัญญาน้ำมันดิบ Brent อ่อนตัวลง 20 เซนต์ คิดเป็น -0.3% ที่ระดับ 63.28 เหรียญ/บาร์เรล

รายงานจากกระทรวง EIA เผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯเพิ่มขึ้นมาประมาณ 4.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 446.91 ล้านบาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ธ.ค. ปีที่แล้ว

ขณะที่ผลผลิตน้ำมันดิบยังคงอยู่รดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 11.7 ล้านบาร์เรล/วัน

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com