• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 5 ตุลาคม 2561

    5 ตุลาคม 2561 | Economic News

·       ค่าเงินดอลลาร์ค่อนข้างทรงตัว ท่ามกลางเหล่านักลงทุนที่เฝ้ารอการประกาศตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯในคืนนี้ รวมถึงกำลังประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตลาดหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี หลังการจ้างงานภาคเอกชนในสหรัฐฯประกาศออกมาแข็งแกร่งเกินคาด

โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินเยนทรงตัวที่บริเวณ 113.93 เยน/ดอลลาร์ หลังขึ้นไปทำระดับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 11 เดือน ที่ระดับ 114.55 เยน/ดอลลาร์ ในช่วงตลาดก่อนหน้า

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯเคลื่อนไหวแถวบริเวณ 3.1949% ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรญี่ปุ่นอายุ 10 ปีทรงตัวบริเวณ 0.150% ใกล้ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. ปี 2016

ดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่า 0.1% บริเวณ 95.833 จุด ขณะที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.05% ยริเวณ 1.1507 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่อ่อนค่าทำระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ที่ระดับ 1.1463 ดอลลาร์/ยูโรในช่วงตลาดก่อนหน้า โดยค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงไปกว่า 0.8% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในภาพรวมรายเดือน

·       US Dollar Index tests above 96.00 levels.

นักวิเคราะห์จาก Trading View มองว่า ดัชนีดอลลาร์มีการปรับขึ้นไปทดสอบระดับแนวต้าน 96 จุด และดูเหมือนว่าหลังจากทดสอบบริเวณแนวดังกล่าวจะมีการเคลื่อนไหวแถว 96.10 จุดได้ โดยนักลงทุนต้องรอดูสัญญาณที่แนวต้านเส้น Fibonacci  61.8% เนื่องจากมีการปรับตัวลงหลุดลงมา ซึ่งใครสนใจจะทำการ Short ให้รอสัญญาณของกราฟแท่งเที่ยนดีๆอีกครั้งเพื่อยืนยันถึงภาวะขาลง  ซึ่งการจะเข้า Shortควรรอจนกว่าดัชนีจะปรับลงหลุดต่ำกว่า 95.3 จุด ที่เป็นระดับแนวรับแรก เพราะจะทำให้ภาพของแนวโน้มระยะกลางนั้นกลับมาเป็นขาลง

·       J.P. Morgan เริ่มมีมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจจีนมากขึ้น หลังสหรัฐฯประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนอีกครั้ง เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา

โดย Pedro Martins Junior นักกลยุทธ์ตลาดเกิดใหม่ประจำ J.P. Morgan คาดการณ์ว่า สงครามการค้าอย่างเต็มรูปแบบระหว่างสหรัฐฯและจีน จะเกิดขึ้นภายในปี 2019 โดยยังคงไม่มีสัญญาณว่าความขัดแย้งระหว่างทั้ง 2 ประเทศจะสามารถยุติลงได้ในระยะสั้นๆนี้

·       ตลาดแรงงานสหรัฐฯมีแนวโน้มจะผลิตตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่น้อยลงในเดือน ก.ย. ขณะที่อัตราว่างงานถูกคาดว่าจะลดน้อยลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 18 ปี ที่ 3.8% ซึ่งจะเป็นสัญญาณว่าตลาดแรงงานยังคงมีการจ้างงานที่หนาแน่นยิ่งขึ้น

ขณะที่การจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ (U.S. Nonfarm payrolls) ถูกคาดว่าจะมีตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น 185,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา หลังจากที่มีตำแหน่งงานเพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่งในเดือน ส.ค.

ทั้งนี้ จำนวนตำแหน่งงานนอกภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย. แม้จะชะลอตัวลง แต่ยังคงสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ที่ระบุว่าตลาดแรงงานต้องผลิตตำแหน่งงานให้ได้อย่างน้อย 120,000 ตำแหน่ง เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรวัยทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น

·       ยอดขาดดุลทางการค้าของฝรั่งเศสปรับตัวขึ้นเกินคาดในเดือนส.ค. ที่ระดับ 5.6 พันล้านยูโร (6.45 พันล้านเหรียญ) ซึ่งเป็นยอดขาดดุลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากที่ขึ้นมาแตะ 3.4 พันล้านยูโรในเดือนก.ค. ท่ามกลางยอดส่งออกอะไหล่เครื่องบินปรับตัวลง ประกอบกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น

·       รายงานจากสำนักข่าวจากอิตาลี ระบุว่า นายมาริโอ ดรากี้ ประธาน ECB ได้เข้าพบกับนายเซอจิโอ มัตตาเรลลา ประธานาธิบดีอิตาลี เพื่อเจรจาเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากมุมมองเชิงลบของตลาด ที่มีต่อร่างงบประมาณของรัฐบาลฉบับล่าสุด อย่างไรก็ตาม ยังคงไม่มีรายงานว่าผลการเจรจาเป็นเช่นไร

·       ยอดคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีประจำเดือนส.ค.ที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้น โดยฟื้นตัวจากการร่วงลงช่วงซัมเมอร์และสัญญาณว่าเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง แม้จะมีปัจจัยกดดันจากความผันผวนของมุมมองเศรษฐกิจโลกก็ตาม

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า สินค้า 'Made in Germany' เพิ่มขึ้น 2.0% หลังจากร่วงลง 0.9% ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่โพลล์สำรวจนักวิเคราะห์จาก Reuters ระบุว่า เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนส.ค.

·       แหล่งข่าวจาก 2 ฝ่ายในการเจรจาออกจาก Brexit ของอีียู ระบุว่า การเจรจากับอังกฤษกรณี Brexit ว่าเข้าใกล้ความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายกำลังผลักดันข้อตกลงการออกจากกันสำหรับความสัมพันธ์ Post-Brexit  โดยทั้งสองฝ่ายจะเจรจาระหว่างผู้นำอีกครั้งในวันที่ 17 - 18 ต.ค. และ 17 - 18 พ.ย.

·       การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในญี่ปุ่นในเดือน ส.ค. ขยายตัวได้ 2.8% จากปีก่อนหน้า ติดต่อเป็นเดือนที่ 2 และยังเป็นอัตราที่มากที่สุดในรอบ 3 ปี จึงช่วยหนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศได้อย่างแข็งแกร่ง และช่วยบรรเทาความกังวลว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้า

·       รายงานจากญี่ปุ่นระบุว่า ญี่ปุ่นและสหรัฐฯจะจัดการเจรจาทางการค้าขึ้นเป็นรอบที่ 3 ระหว่างการเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนายไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ช่วงกลางเดือน พ.ย.

โดยนายเพนซ์จะเข้าเจรจากับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายทาโร่ อาโซะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ภายใต้หัวข้อเกี่ยวกับการค้า นโยบายเศรษฐกิจ รวมถึงเกาหลีเหนือ

·       วิเคราะห์ราคาน้ำมัน WTI ทางเทคนิค: น้ำมันย่อตัวลงมาบริเวณ $74.00 ก่อนขึ้นทดสอบระดับ $76.00 อีกครั้ง

ราคาน้ำมัน WTI มีการย่อตัวลงเมื่อคืนที่ผ่านมา แต่ภาพรวมยังคงเป็นทิศทางขาขึ้น

โดย FX Street ระบุว่า ราคาน้ำมันย่อตัวลงมาใกล้เส้นค่าเฉลี่ยราย 50 วัน หรือที่ระดับ $74.00 ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยราย 50100 และ 200 วัน ยังคงเคลื่อนไหวขาขึ้นและต่างแยกห่างออกจากกัน บ่งชี้ถึงทิศทางขาขึ้นที่แข็งแกร่ง

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าราคาน้ำมัน WTI มีแนวโน้มจะทรงตัวเหนือระดับ $74.00 ก่อนปรับสูงขึ้นทดสอบระดับ $75.88

แนวโน้มหลัก:     ขาขึ้น

แนวต้าน:           75.2475.8877.00

แนวรับ:             74.0072.0071.45

·       แม้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงแต่นักวิเคราะห์จาก DailyFX ก็มองว่าจากแพทเทิร์นกราฟมีโอกาสแตะแนวต้านที่ 75.00 - 77.31 เหรียญ/บาร์เรล แต่หากราคาหลุดลงต่ำกว่า 72.88 - 72.73 เหรียญ/บาร์เรล ก็มีโอกาสจะกลับไปทดสอบ 70.26 - 70.05 เหรียญ/บาร์เรล

·       ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ท่ามกลางเหล่านักลงทุนคาดว่าตลาดจะตึงตัวมากขึ้นเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯซึ่งจะเริ่มในเดือนหน้า

ท้ั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้น 0.5% ที่ระดับ 84.98 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 0.6% ที่ระดับ 74.80 เหรียญ/บาร์เรล

ธนาคารเจฟเวอรีสหรัฐฯ ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบ Brent เพิ่มขึ้น 6% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาการส่งออกของอิหร่านอาจลดลงต่ำกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนพ.ย.

ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯจะเริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านในวันที่ 4 พ.ย.นี้ และกดดันบริษัท ต่างๆทั่วโลก ขณะที่ตอนนี้ดูเหมือนว่าจะมีแค่จีนและตุรกีที่ดูจะเต็มใจทำธุรกรรมร่วมกับอิหร่าน


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com