• 5 ปัจจัยที่ตลาดต้องจับตาสัปดาห์นี้

    17 กันยายน 2561 | Economic News

สำนักข่าว Reuters นำสรุปปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนและเหล่าเทรดเดอร์รอคอยกันในสัปดาห์นี้

 

1.ราคาน้ำมันดิบที่ 80 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบ Brent แตะระดับ 80 เหรียญ/บาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นข่าวดีกับกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันอย่างประเทศซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย แต่การนำเข้าในบางพื้นที่ก็ยังเป็นไปอย่างจำกัดอย่างประเทศอินเดีย และโดยเฉพาะยอดขาดดุลงบประมาณจำนวนมากอย่างตุรกี ขณะที่ข่าวอิหร่านถูกจำกัดภาวะอุปทานน้ำมันได้ช่วยสร้างความตึงตัวในตลาดน้ำมันขณะนี้

ราคาน้ำมันดิบ Brent ที่ระดับ 80 เหรียญ/บาร์เรลถือเป็นระดับสำคัญทางจิตวิทยาและภาพทางเทคนิค โดยจะเห็นว่าในช่วงเดือนพ.ค. ระดับราคามีการปรับขึ้นเหนือบริเวณดังกล่าวได้แต่ก็ไม่สามารถยืนได้อย่างมั่นคง แต่หากราคาปรับขึ้นได้อีกครั้งจะส่งผลให้ภาพทางเทคนิคมีโอกาสเห็นราคาน้ำมันดิบ Brent  ที่แถวระดับเส้นค่าเฉลี่ย Fibonacci Retracement 61.8% ที่ระดับ 90 เหรียญ/บาร์เรล ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาระหว่างเดือนมิ.ย. 2014 และ ม.ค. 2016 จากการที่ราคาเคลื่อนไหวเหนือ 81 เหรียญ/บาร์เรล

2.การประชุมบีโอเจ

การประชุมบีโอเจสัปดาห์นี้อาจมีการพิจารณาถึงการตัดสินใจเรื่องพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นให้มีความยืดหยุ่นขึ้นจากแถวระดับเป้าหมาย 0% แต่ก็อาจไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก

ถึงแม้ว่า นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจจะมีการประกาศให้พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี มีอัตราขยายตัวได้ประมาณ 0.2% แต่อัตราการเคลื่อนไหวก็ยังคงอยู่แถว 0.1% จึงอาจสะท้อนถึงความยากในการชุบตลาดที่มีสภาพคล่องไม่มากนักอันเป็นผลจากการเข้าซื้อพันธบัตรครั้งใหญ่ที่เคยผ่านมา และประเด็นเรื่องอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของญี่ปุ่นก็เป็นสิ่งที่บรรดาธนาคารต่างจับตามอง

อย่างไรก็ดี เราน่าจะเห็นสมาชิกบีโอเจมีการหารือกันถึงความเสี่ยงจากประเด็นข้อขัดแย้งทางการค้าระดับโลกที่จะส่งผลต่อภาคการส่งออก

3.การประชุมธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางตุรกีได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากถึง 6.25เพื่อช่วยกอบกู้ภาวะวิกฤติทางการเงินของตุรกีที่เงินลีราอ่อนค่าเป็นประวัติการณ์ โดยภายในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะจับตาไปยังธนาคารกลางในตลาดเกิดใหม่หลายแห่งที่กำลังจะมีการประชุมการเงินขึ้น ท่ามกลางภาวะความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเงินเฟ้อและวิกฤติการเงินของตุรกีที่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับค่าเงินของตลาดเกิดใหม่

ยกตัวอย่างเช่น ฮังการี ที่จะมีการประชุมขึ้นในสัปดาห์ โดยถูกคาดการณ์ว่าจะมีมติคงนโยบายไว้ดังเดิม แต่ฮังการีจะมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อในวันที่ 18 ก.ย. ที่ถูกคาดว่าจะขยายตัวขึ้น จึงอาจส่งสัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตของฮังการีได้ แม้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถูกคาดว่าจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงสิ้นไป 2019

สำหรับค่าเงินแรนด์แอฟริกาใต้ที่ปรับร่วงลงมากว่า 16ภายในปีนี้ ก็อาจจะได้รับแรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้เช่นกัน แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว บรรดาธนาคารกลางในแอฟริกาใต้อาจพิจาณาคงนโยบายเอาไว้ก่อน เพื่อจับตาดูสถาการณ์ของตลาดต่อไปอีกสักระยะ

ขณะที่ธนาคารกลางบราซิลก็มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่ 6.5เช่นกัน เนื่องจากค่าเงินเรียลบราซิลยังคงเผชิญแรงเทขายอย่างต่อเนื่อง จนปรับร่วงไปกว่า 21ในปีนี้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับเป้าหมาย ประกอบกับเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ไม่ดีนัก รวมถึงความเสี่ยงจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นภายในเดือนหน้าก็ยังคงมีอยู่สูง ดังนั้น ธนาคารกลางบราซิลจึงมีแนวโน้มที่จะประกาศคงนโยบายเพื่อจับตาสถานการณ์ต่อไป

 

4.ยอดค้าปลีกของอังกฤษ

ภาวะทางเศรษฐกิจของอังกฤษ ณ ปัจจุบัน ถือว่าค่อนข้างย่ำแย่ ท่ามกลางผลประกอบการในไตรมาสที่ 1/2018 ของบรรดาผู้ค้าปลีกได้ถูกหักลบไปจนหมดสิ้น เนื่องจากจำเป็นต้องลดราคาสินค้าลงมาท่ามกลางความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอังกฤษที่อยู่ในระดับต่ำ

ทั้งนี้ การประกาศตัวเลขการค้าปลีกของอังกฤษในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ อาจเป็นการอัพเดทถึงสถานะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษ แม้จะถูกคาดการณ์ว่าจะออกมาไม่สดใสเท่าไหร่นัก โดยนักเศรษฐศาสตร์จาก BAML ประเมินว่า บรรดาผู้ค้าปลีกอาจได้รับผลกระทบทางสภาพอากาศที่ร้อนจัดเมื่อช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ปัญหาที่รัฐบาลอังกฤษยังไม่สามารถหาข้อตกลงทางการค้าร่วมกับสหภาพยุโรปได้ หรือการเจรจาอาจจบลงแบบ No deal ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการส่งออกของอังกฤษ

5.ยอดขายบ้านในสหรัฐฯ

ยอดขายบ้านมือสองในสหรัฐฯยังคงชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และการประกาศตัวเลขในสัปดาห์นี้ก็อาจออกมาชะลอตัวลงในเดือนที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน

นับตั้งแต่วิกฤติทางการเงินของสหรัฐฯที่ผ่านมาแล้วเกือบ 1 ทศวรรษ ยอดขายบ้านมือสองในสหรัฐฯยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 25ของระดับสูงสุดก่อนที่จะเกิดวิกฤติทางการเงิน โดยยอดขายในปัจจุบันได้ปรับร่วงลงมากว่า 7นับตั้งแต่เดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจัยที่กดดันยอดขายบ้านคือปริมาณบ้านที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ติดต่อกันถึง 3 ปี ทำได้ราคาบ้านปรับสูงขึ้นกว่า 5แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันการซื้อบ้านของชาวสหรัฐฯ


ที่มา: Reuters


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com