• Emerging Markets ไม่สดใส และจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯหรือไม่?

    6 กันยายน 2561 | Economic News

ตลาดหุ้นจีนอยู่ในภาวะตลาดหมีขาลง ขณะที่ค่าเงินตุรกีมีการปรับอ่อนค่า และเศรษฐกิจของประเทศแอฟริกาใต้ประสบภาวะถดถอย ท่ามกลางโครงการช่วยเหลือทางการเงินของไอเอ็มเอฟที่ยังไม่ได้อนุมัติให้แก่ประเทศอาร์เจนตินา

ความผันผวนของค่าเงินที่อ่อนค่า ท่ามกลางเฟดที่ยังคงระดับดอกเบี้ย และนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ดูจะสร้างประเด็นเด่นต่อตลาดการเงิน

ปัญหาทั้งหมดอาจสะท้อนต่อตลาดเกิดใหม่หรือตลาดหุ้นสหรัฐฯด้วยเช่นกัน ซึ่งหัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุนจาก State Street Global Advisors กล่าวว่า ความกังวลดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นรูปแบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 1997-1998 ที่ดูเหมือนจะเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลดลงไปกว่า 4เมื่อวานนี้ ขณะที่ค่าเงินรูปีของอินเดียทรุดลงทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ และค่าเงินเรียลของบราซิลปรับอ่อนค่าลงมาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี มีสัญญาณเพียงเล็กน้อย ที่จะเห็นตลาดหุ้นสหรัฐฯได้รับผลกระทบตาม เนื่องจากยังคงมีอานิสงส์จากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ อันจะเห็นได้จาก ดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับขึ้นได้กว่า 600 จุดเป็นครั้งแรกและเป็นประวัติการณ์ในช่วงปลายเดือนม.ค. ขณะที่ดัชนี S&P500 มีการซื้อขายที่ยังคงมีการทำ All-Time High โดยที่ดัชนีมาตรวัดความผันผวนของตลาดหรือ VIX ยังคงอยู่ระดับต่ำที่ 14 จุด

Conflicting Messages”

เมื่อเปรียบเทียบความผันผวนในตลาดเกิดใหม่ จะเห็นได้ว่า หุ้น iShares MSCI Emerging Markets ETF (EEM) มีการปรับตัวลงไปกว่า 11ในปีนี้ และมีระดับการซื้อขายต่ำสุดในรอบ 14 เดือน ทางด้านดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิตร่วงลง 18% ทางด้านค่าเงินลีราของตุรกีอ่อนค่าลงไปกว่าครึ่งของค่าเงินดอลลาร์ และค่าเงินอาร์เจนตินาที่อ่อนค่าแม้ว่าธนาคารกลางจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่ 60%

ข้อมูลภาคอุตสาหกรรมโลหะมีค่าสะท้อนถึงภาวะอ่อนตัว โดยจะเห็นได้จาก ทองแดง ที่เป็นตัวชี้วัดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจปรับลงไป 1 ใน 5 จามกมูลค่าที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิ.ย.

ประธานฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนจาก BlackRock กล่าวว่า ตลาดการเงินกำลังส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกัน  ขณะที่ความกังวลต่อปัญหาในตุรกี บรรดานักลงทุนให้ความสนใจต่อการขยายตัวของผลกำไรจากบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ หลังจากที่ช่วงไตรมาสที่ 2 ข้อมูลจาก FactSet ชี้ว่า บริษัทในกลุ่มดัชนี S&P500 มีผลประกอบการเพิ่มขึ้น 25ซึ่งเป็นระดับที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เพราะการขยายตัวดังกล่าวไม่เพียงแต่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายปรับลดภาษีนิติบุคคล แต่ยอดขายยังคงขยายตัวได้เร็วที่สุดในรอบเกือบ 7 ปี

ขณะที่ข้อมูลจีดีพีสหรัฐฯล่าสุดสำหรับประมาณการณ์ครั้งที่ 2 ของไตรมาที่ 2 สามารถขยายตัวได้ 4.2และอัตราว่างงานปรับตัวลงแตะ 3.9ในเดือนก.ค.

Trump's trade wars aren't helping

ปัญหาของตลาดกเกิดใหม่ได้รับผลสะท้อนจากหลายๆปัจจัย อาทิ ปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ แต่หนึ่งในปัจจัยหลักจริงๆแล้วมาจากเฟด

โดยเฟดมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยและการปรับลดยอดงบดุลบัญชีเพื่อให้เกิดกระแสเงินไหลกลับสู่สหรัฐฯ จากบรรดาเศรษฐกิจประเทศต่างๆ และนั่นทำให้ค่าเงินดอลลาร์นั้นปรับแข็งค่าขึ้น และการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ก็ได้ทำให้การจ่ายหนี้ของตุรกีต้องเพิ่มขึ้นตาม เนื่องจากใช้เงินดอลลาร์ในการชำระ

ขณะที่ประเด็น Trade War ของนายทรัมป์ ดูจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนมีการชะลอตัว และกระทบไปถึงประเทศเพื่อนบ้านต่างๆด้วย ซึ่งประธานที่ปรึกษาด้านการลงทุนจาก Yardeni Research ระบุว่า ความเสี่ยงจากนโยบายของนายทรัมป์ อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ตลาดกเกิดใหม่เผชิญกับภาวะวิกฤต

รายงานล่าสุดจากกระทรวงการคลังสหรัฐฯ สะท้อนให้เห็นว่า ผลพวงจากการก่อ Trade War ทำให้สหรัฐฯมียอดขาดดุลเพิ่มขึ้นในเดือนก.ค. ซึ่งถือว่ามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015

Will the Fed come to the rescue?

หลายฝ่ายเชื่อว่าเฟดน่าจะเข้าช่วยเหลือจากการค่อยๆชะลอการขึ้นดอกเบี้ย และนั่นอาจลดแรงกระแทกต่อตลาดเกิดใหม่ โดยที่เฟดเองอาจไม่ต้องการเป็นสาเหตุสำหรับวิกฤตของตลาดเกิดใหม่

ที่มา: CNN

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com