• ค่าเงินดอลลาร์ปรับอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ท่ามกลางค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์ที่ปรับอ่อนค่าลงไปมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงกลางปี 2016 หลังจากที่เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีที่สุดในรอบ 6 ปี
ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงมาประมาณ 0.1% ที่ระดับ 95.337 จุด หลังจากที่เมื่อวานนี้ไปทำระดับสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ 95.737 จุด
ถึงแม้ค่าเงินออสซี่หรือค่าเงินออสเตรเลียดอลลาร์จะมีภาพรวมเป็นทิศทางอ่อนค่า แต่ก็สามารถปรับแข็งค่าขึ้นมาได้ประมาณ 0.3% ที่ระดับ 0.7196 หลังทราบข้อมูลจีดีพีรายปีขยายตัวเกินคาดแตะ 3.4% ในไตรมาสที่ 2
ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้น 0.16% ที่ระดับ 1.1599 ดอลลาร์/ยูโร ขณะที่ค่าเงินปอนด์แตะปรับแข็งค่าขึ้น 0.1% ที่ระดับ 1.2864 ดอลลาร์/ปอนด์ ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 111.55 เยน/ดอลลาร์
• ค่าเงินในตลาดเกิดใหม่ยังคงได้รับแรงกดดันจากการเทขายทำกำไรในตลาด โดยจะเห็นได้ว่าค่าเงินต่างๆภายในประเทศเกิดใหม่มีการทำระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อาทิ ค่าเงินรูเปียของอินโดนีเซียที่ร่วงลงไปทำระดับต่ำสุดรอบ 2 ทศวรรษ ที่ 14,940 รูเปีย/ดอลลาร์เมื่อวันอังคาร ก่อนที่วันนี้จะแข็งค่ากลับลงมาเล็กน้อยที่ 14,925 รูเปีย/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินเปโซของอาร์เจนตินาทรุดตัวไปประมาณ 3% ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์ที่แล้วอ่อนค่ามากถึง 16% และส่งผลให้ปีนี้มีทิศทางการอ่อนค่าที่แย่มากที่สุดเกือบ 50% เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์
ค่าเงินอินเดียเช้านี้อ่อนค่าลงทำระดับต่ำสุดใหม่ในรอบ 7 วันทำการที่ 71.78 รูปี ขณะที่ค่าเงินลีราของตุรกีอ่อนค่าต่อ และค่าเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้ทรุดตัวประมาณ 3% จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
• ภาพรวมดัชนีชี้วัดค่าเงิน MSCI Emerging Markets Currency Index ปรับตัวลงไป 0.46% เมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดในช่วง 2 สัปดาห์ และนับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้จะเห็นได้ว่าดัชนีมีการปรับลงไปแล้วกว่า 5.53%
• นักวิเคราะห์บางส่วน กล่าวว่า แม้จะมีความตึงเครียดในตลาดเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่กลุ่มนักลงทุนก็ไม่ควร Panic หรือตระนกมากเกินไปต่อความเชื่อมั่นเชิงลบ
• ออสเตรเลียดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น ทำจุดสูงสุดที่ระดับ 0.7219 หลังจากที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) เผยจีดีพีไตรมาส 2/2561 ขยายตัว 0.9% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับ 0.7%
• รายงานจาก CNBC ระบุว่า เศรษฐกิจของออสเตรเลียขยายตัวได้เกินคาดจากอุปสงค์บ้านและโครงสร้างพื้นฐานของประชาชนภายในประเทศ ขณะที่การใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคกำลังเผชิญกับผลกระทบของอัตราค่าแรงที่ชะลอตัวลง
• DailyFX รายงานว่า ข้อมูลเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคแล้ว (เมื่อเทียบรายไตรมาสมีอัตราการขยายตัวลดลง) และยังถูกคาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวได้ในไตรมาสที่ 2 อันมาจากภาษีการขายที่ปรับตัวสูงขึ้น, การเพิ่มขึ้นของราคาพลังลาน และการอ่อนค่าอย่างหนักของค่าเงินแรนด์
• รัฐบาลอาร์เจนตินา แสดงความคาดหวังว่า กองทุนไอเอ็มเอฟจะเห็นพ้องสำหรับข้อตกลงในการอนุมัติการช่วยเหลือช่วงกลางเดือนก.ย.นี้ เพื่อให้ประเทศมีเงินสนับสนุนทางการเงินเพิ่มขึ้นสำหรับปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
• รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอียิปต์ กล่าวว่า แม้ตลาดเกิดใหม่จะเผชิญกับความผันผวน แต่เศรษฐกิจของอียิปต์จะสามารถรับมือได้แม้ประเทศอื่นๆจะเผชิญกับวิกฤตต่างๆ
• นายอิลเดฟอนโซ กัวจาร์โด รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของเม็กซิโกได้ออกมาแสดงความหวังว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐและแคนาดาจะสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ภายในวันศุกร์นี้ เพื่อเปิดทางสู่การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ซึ่งประกอบไปด้วยสหรัฐ เม็กซิโก และแคนาดา
• รายงานจากเจ้าหน้าที่กำกับดูแลของ ECB กล่าวว่า วิกฤตต่อไปของยุโรปอาจเป็นผลมาจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ และบรรดาธนาคารควรเตรียมรับมือ ท่ามกลางระดับดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ แต่ราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นมีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงทำให้เจ้าหน้าที่ของอีซีบีมีการกล่าวเตือนว่าการใช้นโยบายผ่อนคลายเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์และนั่นจะเป็นวิกฤตต่อไปที่ยุโรปเผชิญ
• หนังสือพิมพ์ The Times รายงานว่า นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะทำการกล่าวถ้อยแถลงฉุกเฉินต่อรัฐสภาในวันนี้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงภายในปรเทศ
• รายงานจากสถาบัน McKinsey Global Institute ระบบ A.I. หรือระบบอัจฉริยะ Artificial Intelligence มีบทบาททางเศรษฐกิจมากขึ้นเนื่องจากจะช่วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีให้ขยายตัวเพิ่ม 1.2% อย่างน้อยในอีก 10ปีข้างหน้า โดยระบบ A.I. จะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกมีเม็ดเงินเพิ่มถึง 13 ล้านล้านเหรียญภายในปี 2030 และรูปแบบดังกล่าวจะถูกใช้ในบริษัทมากถึง 70% ภายในปี 2030 ที่ภาคบริษัทรายใหญ่ๆจะนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งหรือใช้อย่างเต็มรูปแบบ
• ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในวันนี้ ท่ามกลางภัยพิบัติจากพายุโซนร้อน จึงส่งผลกระทบต่อโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ และส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้อยกว่าที่คาดไว้ตอนต้น
โดยราคาปรับตัวสูงขึ้นในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากมีน้ำมันดิบและก๊าซในอ่าวเม็กซิโกถูกปิดไว้เพื่อรับความเสียหายจากพายุโซนร้อนกอร์ดอน
อย่างไรก็ตามพายุได้ขยับไปทางทิศตะวันออกและอ่อนกำลังลงลดภัยคุกคามต่อผู้ผลิตทางฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ WTI ลดลง 1% ที่ระดับ 69.14 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ลดลง 0.8% ที่ระดับ 77.57 เหรียญ/บาร์เรล
• ซาอุดิอาระเบียต้องการให้ราคาน้ำ
มันทรงตัวระหว่าง 70 – 80 เหรียญ/บาร์เรลสำหรับขณะนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพระหว่
างผลกำไรระดับสูงกับการจำกั
ดราคาน้ำมันจนกว่าที่สหรัฐฯจะมี
การเลือกตั้งทั่วไป
