· นักวิเคราะห์จาก Commerzbank ระบุว่า ค่าเงินยูโรมีภาวะ Upside จำกัด หากหลุดต่ำกว่า 1.1508 ดอลลาร์/ยูโร โดยค่าเงินยูโรอ่อนตัวจากระดับแนวต้าน 1.1745-1.1750 ดอลลาร์/ยูโร และระดับสูงสุดที่ทำไว้ล่าสุดที่ 1.1790 ดอลลาร์/ยูโร ทั้งนี้ หากราคากลับใกล้เป้าหมายหรือสามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้อีกครั้ง ก็จะกระตุ้นราคาปรับขึ้นไปแถวระดับสูงสุดเมื่อช่วงกลางเดือนมิ.ย. ที่ 1.1853 ดอลลาร์/ยูโรได้ และอาจขึ้นไปถึงระดับเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 55 สัปดาห์ที่ 1.1917 ดอลลาร์/ยูโรได้
อย่างไรก็ดี แนวรับแรกของค่าเงินยูโรจะอยู่บริเวณเส้น MA ราย 20 วัน ที่ระดับ 1.1542.2 เหรียญ และหากหลุดลงมามีโอกาสร่วงลงไปท่ี่ 1.1508 ดอลลาร์/ยูโร
.png)
· นักวิเคราะห์จาก Commerzbank ระบุว่า ค่าเงินยูโรมีภาวะ Upside จำกัด หากหลุดต่ำกว่า 1.1508 ดอลลาร์/ยูโร โดยค่าเงินยูโรอ่อนตัวจากระดับแนวต้าน 1.1745-1.1750 ดอลลาร์/ยูโร และระดับสูงสุดที่ทำไว้ล่าสุดที่ 1.1790 ดอลลาร์/ยูโร ทั้งนี้ หากราคากลับใกล้เป้าหมายหรือสามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้อีกครั้ง ก็จะกระตุ้นราคาปรับขึ้นไปแถวระดับสูงสุดเมื่อช่วงกลางเดือนมิ.ย. ที่ 1.1853 ดอลลาร์/ยูโรได้ และอาจขึ้นไปถึงระดับเส้นค่าเฉลี่ย MA ราย 55 สัปดาห์ที่ 1.1917 ดอลลาร์/ยูโรได้
อย่างไรก็ดี แนวรับแรกของค่าเงินยูโรจะอยู่บริเวณเส้น MA ราย 20 วัน ที่ระดับ 1.1542.2 เหรียญ และหากหลุดลงมามีโอกาสร่วงลงไปท่ี่ 1.1508 ดอลลาร์/ยูโร
.png)
· นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินเยนปรับอ่อนค่ามาทำระดับสูงสุดที่ 111.83 เยน/ดอลลาร์ แต่ภาพรวมรายสัปดาห์ค่าเงินเยนจะเป็นทิศทางอ่อนค่าได้นั้นจำเป็นต้องปิดให้ได้เหนือ 111.49 เยน/ดอลลาร์ เพราะจะเป็นระดับสำคัญที่ยืนยันทิศทางอ่อนค่าของค่าเงินเยน
อย่างไรก็ดี ค่าเงินเยนก็ยังมีความเสี่ยงจะปรับแข็งค่าได้อยู่เสมอเพื่อถูกใช้เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากความตึงเครียดเรื่องของ Trade War ระหว่างสหรัฐฯ-จีน และความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินในประเทศอิตาลี ซึ่งจะเห็นว่าค่าเงินเยนมีการปรับแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ จึงอาจฉุดให้ค่าเงินเยนไม่อาจเป็นทิศทางอ่อนค่าได้
ภาพรวมค่าเงินเยนยังคงมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างดีเหนือระดับเส้น Trendline ขาลงที่วัดจากระดับสูงสุดเมื่อช่วงเดือนส.ค. ปี 2015 จนถึงระดับสูงสุดของเดือนธ.ค. ปี 2015 แต่ราคาก็ยังไม่สามารถยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยราย 200 วันของเดือนก.ค. จึงทำให้เราเห็นราคายังล้มเหลวในการปิดสูงกว่า 111.49 เยน/ดอลลาร์ แม้จะมีสัญญาณปรับอ่อนค่าก็ตา
· รายงานผลประกอบการล่าสุดจาก 4 ธนาคารยักษ์ใหญ่ของจีนแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้ามากขึ้นของระบบการเงิน แม้ว่านักลงทุนจะมีความกังวลว่าอาจส่งผลลบต่อธนาคารปล่อยกู้รายใหญ่ของจีนได้
ความกังวลดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ธนาคารกลางจีน (PBoC) มีความเคลื่อนไหวที่หลากหลายต่อเงื่อไขการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ท่ามกลางการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัว และภาวะตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนดูจะเลวร้ายลง และนั่นทำให้นักลงทุนกังวลว่า แผนการของกลุ่มผู้กำหนดนโยบายต่างๆของจีนอาจต้องยกเลิกเพื่อลดผลกระทบต่อระดับหนี้ ที่อาจส่งผลเสียต่อภาคอุตสาหกรรมธนาคารด้วย
· นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยืนยันจะดำเนินการขึ้นภาษียอดขายภายในปี 2019 ตามแผนการดำเนินงาน พร้อมจะมีการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากอัตราภาษีที่สูงขึ้นสำหรับกลุ่มผู้บริโภค
ทั้งนี้ พรรคของนายอาเบะได้ชนะการเลือกตั้งเมื่อปีผ่านมา เนื่องจากการให้สัญญาว่าจะทำการขึ้นภาษียอดขายเพื่อนำไปสนับสนุนภาคสวัสดิการสังคมให้มั่นคงยิ่งขึ้น
· รายงาจาก CNN ระบุว่า อาร์เจนตินามีการยุบกระทรวงของรัฐบาลครึ่งหนึ่ง รวมทั้งมีการปรับขึ้นภาษีส่งออกสินค้า เพื่อพยุงค่าเงินเปโซที่อ่อนค่าลงอย่างหนัก
นายมอริซิโอ มาร์ซี ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา ประกาศใช้มาตรการรัดเข็มขัดเมื่อวานนี้ หลังจากที่ได้เข้าพบกับเจ้าหน้าที่จากไอเอ็มเอฟ โดยทางอาร์เจนตินากำลังพยายามเร่งดำเนินการเพื่อให้ได้เงินช่วยเหลือจำนวน 5 หมื่นล้านเหรียญ
· ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น โดยสามารถทะลุผ่านระดับ 70 เหรียญ/บาร์เรล หลังจากที่โรงกลั่นน้ำมันอ่าวเม็กซิโก 2 แห่งถูกอพยพเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเกิดพายุเฮอริเคน
โดยปิโตรเลียมคอร์ป ระบุว่า ได้อพยพและปิดการผลิตที่โรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่งในภาคเหนือของอ่าวเม็กซิโก
ก่อนที่จะเข้าใกล้กอร์ดอนซึ่งคาดว่าจะเกิดพายุเฮอริเคน
ทั้งนี้ น้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 45 เซนต์ ที่ระดับ 70.25 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ Brent ลดลง 6 เซนต์ ที่ระดับ 78.09 เหรียญ/บาร์เรล