• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2561

    3 สิงหาคม 2561 | Economic News
• ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่และไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับค่าเงินหยวนในรอบ 14 เดือน ท่ามกลางตลาดที่กังวลต่อภาวะตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน หลังล่าสุดเมื่อวานนี้ จีนกล่าวจะทำการตอบโต้หากสหรัฐฯยังคงคุกคามด้วยการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน โดยนายทรัมป์มีเป้าหมายจะขึ้นภาษีจาก 10% มาที่ 25% คิดเป็นมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญ

• ค่าเงินหยวนอ่อนค่าไปทำระดับสูงสุดนับตั้งแต่ 15 พ.ค. ปีที่แล้วบริเวณ 6.8975 หยวน/ดอลลาร์ ก่อนจะอ่อนตัวลงมาทรงตัวที่ 6.8888 หยวน/ดอลลาร์

ภาวะตึงเครียดทางการค้าได้หนุนอุปสงค์ในค่าเงินดอลลาร์ โดยจะเห็นได้ว่าดัชนีดอลลาร์ปรับแข็งค่าใกล้ระดับสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ที่ทำไว้เมื่อคืนนี้ที่ 95.209 จุด

• ขณะที่ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงมาที่ 1.1584 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่เมื่อวานนี้ปิดอ่อนค่าลงมา 0.6% โดยความเสี่ยงจากภาวะฟองสบู่ในอิตาลี ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลีปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดรอบ 2 สัปดาห์ หลังจากมีรายงานว่า รัฐบาลมีการประชุมเกี่ยวกับการฟื้นฟูงบประมาณ ขณะที่ตลาดกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดที่จะเกิดขึ้นจากตัดสินใจของรัฐบาล

• ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าเล็กน้อยประมาณ 0.1% ที่ระดับ 111.73 เยน/ดอลลาร์ ขณะที่ภาพรวมสัปดาห์นี้อยู่ในทิศทางแข็งค่า 0.6%
• ตลาดการเงินให้ความสำคัญไปกับรายงานการจ้างงานภาครัฐบาลเดือนก.ค.ของสหรัฐฯที่จะประกาศในคืนนี้

• ประเด็นความตึงเครียดทางการค้าได้ฉุดให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับลงมา 2.995% จากที่ไปทำระดับสูงสุดรอบ 10 สัปดาห์ในช่วงกลางสัปดาห์เหนือ 3%

• นักวิเคราะห์จาก FX Street ประเมินว่า ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ (EUR/USD) มีโอกาสที่จะสามารถรีบาวน์กลับไปบริเวณ $1.16-1.1620 ได้ก่อนที่จะปรับอ่อนค่าต่อ โดยในกราฟราย 1 ชั่วโมงจะเห็นถึงสัญญาณของการกลับตัวในระยะสั้นๆผ่านเส้น RSI

อย่างไรก็ตาม การรีบาวน์นี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นๆเท่านั้น ก่อนที่จะค่าเงินจะอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากภาพรวมหลักยังคงเป้นทิศทางขาลงเพื่อพิจารณาจากเส้น Bollinger bands ที่บ่งชึ้ถึงทิศทางขาลงอย่างชัดเจน

• รายงานจาก Nikkei Daily ระบุว่า ทางการญี่ปุ่นกำลังตัดสินใจสร้างกองทุนเพื่อความมั่งคงเพื่อลงทุนในโปรเจ็คโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯและญี่ปุ่นมีแผนร่วมกัน เพื่อหาทางเจรจาทางการค้า 2 วิธีในสัปดาห์ ท่ามกลางสหรัฐฯที่ดูจะสร้างแรงกดดันทางการค้าเสรี (FTZ) ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์

• ธนาคารกลางเม็กซิโกคงดอกเบี้ยที่ระดับ 7.75% ซึ่งเป็นระดับที่ทรงตัวมาอย่างยาวนาน 9 ปี และหั่นแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ลงไป พร้อมกล่าวว่าจะเดินหน้าใช้นโยบายด้วยความรอบคอบท่ามกลางความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ

โดยธนาคารกลางเม็กซิโก ระบุว่า ความเสี่ยงทางการขยายตัวทงาเศรษฐกิจน่าจะส่งผลให้ปีนี้เติบโตได้เพียง 2-2.5% ลดลงจากประมาณการณ์ก่อนหน้าที่ระดับ 2-3%

• เจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงจากจีน กล่าวว่า จีนต้องสร้างสมดุลการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีน และขจัดความเสี่ยงท่ามกลางความไม่แ่นนอนที่เพิ่มขึ้น โดยที่จีนต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นสำหรับการใช้จ่ายด้านการ "ส่งผ่าน" ของนโยบายการเงิน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวที่แท้จริงทางเศรษฐกิจ

• ภาวะ Trade War ของสหรัฐฯอาจทำให้ภาคบริษัทมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะล้มละลาย หรือเผชิญกับอุปสรรคจากการอ่อนค่าของค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ เนื่องจากTrade War อาจบั่นทอนให้เศรษฐกิจจีนชะลอตั

• รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า พรรครีพับลิกันและเดโมแครตมีการหารือกันถึงตัวบทกฎหมายในการคว่ำบาตรรัสเซียครั้่งใหม่ เพื่อตอบโต้การโจมตีทางไซเบอร์ โดยความพยายามล่าสุดมาจากการลงโทษรัสเซียสำหรับการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ และกิจกรรมต่างๆในซีเรียและยูเครน

• ภาคบริษัทต่างๆของสหรัฐฯมีแนวโน้มจะมีทิศทางการจ้างงานที่แข็งแกร่งในเดือนก.ค. จึงยังสะท้อนถึงภาวะแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่อาจช่วยพยุงตลาดแรงงานท่ามกลางภาวะตึงเครียดทางการค้า รวมทั้งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เฟดสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ต่อในการประชุมเดือนก.ย.

หัวหน้านักวิเคราะห์จาก Barclays กล่าวว่า ยังคงจับตาสัญญาณของนโยบายกีดกันทางการค้า เพราะอาจส่งผลให้ภาคการจ้างงานที่ทีมบริหารทรัมป์วางไว้ชะลอตัวลงได้ แต่ขณะนี้ก็ยังเห็นได้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดอยู่

อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์หลายราย กล่าวเตือนว่า การโต้ตอบกันไปมาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนสร้างความผันผวนให้แก่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และอาจบั่นทอนภาคการผลิตของสหรัฐฯ ตลอดจนเป็นอุปสรรคต่อภาวะห่วงโซ่อุปทาน ที่อาจกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค้าอาจทำลายความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจด้วยและอาจทำให้ภาคบริษัทต้องกมีการหั่นค่าใช้จ่ายและปรับลดการจ้างงานลง แต่งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 1.5 ล้านล้านเหรียญ อาจช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 4.1% ในไตรมาสที่ 2/18 แม้จะมีผลกระทบจากภาวะตึงเครียดทางการค้าอยู่ก็ตาม

• ราคาน้ำมันดิบทรงตัวในวันนี้ โดยได้รับแรงหนุนจากเหล่าเทรดเดอร์ที่ป้องกันความเสี่ยงในตลาดฟิวเจอร์ส โดยคาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯจะปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดี ถูกกดดันจากภาวะอุปทานโลกที่เพิ่มสูงขึ้น

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลง 9 เซนต์ ท่ะรดับ 68.87 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวลง 5 เซนต์ ที่ระดับ 73.40 เหรียญ/บาร์เรล

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com