• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 4 กันยายน 2560

    4 กันยายน 2560 | Economic News


 

·         รายงานจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯชะลอตัวลงเกินคาดในเดือนส.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ปรับตัวขึ้นได้อย่างมากในช่วง 2 เดือน แต่ข้อมูลล่าสุดก็ยังถือเป็นระดับการขยายตัวได้อย่างเพียงพอที่จะให้เฟดประกาศแผนการเริ่มต้นปรับลดยอดงบดุลในพอร์ตการลงทุน หลังจากที่เข้าซื้อไว้เพื่อหนุนเศรษฐกิจ

·         เครื่องมือ FedWatch ของ CME Group ล่าสุด แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนมองโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.นี้ไว้ที่ประมาณ 39หลังจากที่ทราบรายงานการจ้างงานคืนวันศุกร์

·         ผลการประกาศการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯขยายตัวได้เพียง 156,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. ขณะที่เดือนก่อนหน้าถูกปรับทบทวนให้ลดลงมาสู่ระดับ 189,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานออกมาแย่กว่าที่คาดแตะระดับ 4.4%จากเดิม 4.3%

·         ข้อมูลอัตราค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงของสหรัฐฯปรับตัวขึ้นได้เพียง 3 เซนต์ หรือคิดเป็ฯ 0.1ในเดือนส.ค. โดยลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ 0.3% จึงทำให้ภาพรวมรายปีของค่าแรงมีการขยายตัวได้ เพียง 2.5ตลอดช่วง 5 เดือน และอัตราเฉลี่ยการทำงานรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 34.4 ชั่วโมง จากระดับ 34.5 ชั่วโมงในเดือนก.ค.

·         ค่าเงินดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้นได้เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ หลังจากที่ข้อมูลการจ้างงานโดยภาพรวมยังแข็งแกร่งเพียงพอที่จะสนับสนุนโอกาสความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้  โดยดัชนีดอลลาร์ปรับขึ้นได้ 0.1ที่ระดับ 92.801 จุด หลังจากในช่วงต้นที่ทราบข้อมูลร่วงลงไปประมาณ 0.5%

ขณะที่ค่าเงินยูโรปรับอ่อนค่าลงประมาณ 0.4% ที่ระดับ 1.1866 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ระหว่างวันขึ้นไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดบริเวณ 1.1979 ดอลลาร์/ยูโร

ค่าเงินเยนปรับอ่อนค่าขึ้นแตะ 110.21 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่แข็งค่าลงไปแตะ 109.57 เยน/ดอลลาร์ หลังทราบข้อมูลภาคแรงงานสหรัฐฯ

·         นักลงทุนเพิ่มระดับการป้องกันการถือครองเงินสดและการเข้าซื้อพันธบัตร จากปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับระดับเพดานหนี้สินของสหรัฐฯ โดยที่ทางกระทรวงการคลังกำหนดให้วันที่ 29 ก.ย. เป็นกำหนดเส้นตายในการเพิ่มระดับเพดานหนี้ โดยต้องอนุมัติกฎหมายเพื่อจำกัดการอนุมัตการกู้ยืมของภาครัฐบาลสหรัฐฯ

ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงขึ้นที่รัฐบาลสหรัฐฯจะเผชิญกับปัญหาเพดานหนี้ที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ จึงส่งผลให้บรรดาผู้จัดการกองทุนกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนในปี 2011 ที่เกิดความยืดเยื้อในการเพิ่มวงเงินกู้ของภาครัฐบาล และตามมาด้วยการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ และส่งผลให้ดัชนี S&P500 ร่วงลงกว่า 15%

ดังนั้น ความล้มเหลวในการเพิ่มเพดานหนี้อาจส่งผลให้เศรษฐกิจเผชิญกับภาวะซบเซา และอาจทำให้เป็นครั้งแรกที่เกิดแรงเทขายครั้งใหญ่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทรัมป์ ซึ่งไม่เพียงแต่ที่ดัชนี S&P500 จะร่วงประมาณ 5หรือมากกว่านี้เมื่อเทียบรายปีแล้ว อาจเห็นดัชนีร่วงลงมากที่สุดในรอบกว่า 20 ปี ได้

·         นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เห็นพ้องกับ นายมุน แจ-อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในการแก้ไขสนธิสัญญาการจำกัดการพัฒนาขีปนาวุธของเกาหลีใต้ ท่ามกลางความตึงเครียดจากการทดลองนิวเคลียร์และมิสไซน์ของเกาหลีเหนือ

·         รายงานจาก CNBC ระบุว่า ทางเกาหลีเหนือกล่าวในช่วงบ่ายเมื่อวานนี้ว่า ทางเกาหลีเหนือประสบความสำเร็จในการทดสอบขีปนาวุธหัวระเบิดไฮโดรเจนได้สำเร็จ

·         รายงานจากรอยเตอร์ ระบุว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเกาหลีเหนือมีการทดลองอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 6 โดยเป็นหัวรบที่บรรจุระเบิดไฮโดรเจนในขีปนาวุธพิสัยระยะยาว พร้อมขู่ว่าจะดำเนินการทางทหารครั้งใหญ่เพื่อตอบโต้การคุกคามของสหรัฐฯและชาติพันธมิตร

โดยรายงานข่าวข้างต้น เกิดขึ้นหลังจากที่ทำเนียบขาวเผยว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้เข้าประชุมกับทีมความมั่นคง เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับความพร้อมของทางเลือกต่างๆในการดำเนินการทางทหารทั้งหมด

·         สัญญาแก๊สโซลีนปิดอ่อนตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เกิดพายุเฮอริเคนฮาวีย์ ที่สร้างผลกระทบต่อศูนย์กลางอุตสาหกรรมน้ำมันของสหรํฐฯ  ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันบางส่วนเริ่มกลับมาเปิดทำการ แต่ภาพรวมของราคาน้ำมันดิบก็ยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันและทำให้วันศุกร์ที่ผ่านมายังปิดทรงๆตัว

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดลดลง 11 เซนต์ ที่ระดับ 52.75 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิดปรับขึ้น 6 เซนต์ ที่ระดับ 47.29 เหรียญ/บาร์เรล

โดยภาพรวมสัปดาห์ที่แล้ว ราคาน้ำมันดิบ Brent ปิดปรับตัวขึ้นได้ 0.65ขณะที่น้ำมันดิบลดลง 1.25%

·         สำนักงานป้องกันด้านการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ระบุว่า ประมาณ 5.5% ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันในสหรัฐฯยังคงปิดทำการ เพราะได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนฮาวีย์ 

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com