• “ประชุมอีซีบี” ท่ามกลางภาวะ Lockdown รอบใหม่ ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค

    21 เมษายน 2564 | Economic News
 

อีซีบีจะมีการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 22 เม.ย.นี้ โดยทุกฝ่ายให้ความสำคัญอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับ “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงไวรัสระบาด”


ขณะที่ภาพรวมดูเหมือนสมาชิกอีซีบี “รอ” ข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ


การประกาศข้อมูลเศรษฐกิจเมื่อไม่นานมานี้ บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และการ Lockdown เพื่อสกัดการระบาดของไวรัสทั่วทุกพื้นที่ในยูโรโซนเวลานี้ ก็ไม่มีแนวโน้มการันตีว่าจะเห็นการดำเนินนโยบายใดๆจากอีซีบี


หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Deutsche Bank กล่าวว่า “ไม่มีแนวโน้มจะเห็นอีซีบีเปลี่ยนแปลงท่าทีในการดำเนินนโยบาย” ซึ่งการตัดสินใจว่าจะถอนหรือคงนโยบายในการเข้าซื้อสินทรัพย์ผ่านโครงการ PEPP ฉบับใหม่ว่ารวดเร็วขึ้นหรือใหม่ อาจต้องขึ้นอยู่กับ


“การประเมินเงื่อนไขทางการเงิน และแนวโน้มเงินเฟ้อจากสภาฝ่ายปกครองของอีซีบี ในวันที่ 10 มิ.ย.นี้”

ดังนั้น จึงไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะมีการอัพเดตข้อมูลใดๆในการประชุมสัปดาห์นี้


การอัดฉีดผ่านโครงการ PEPP

จากการระบาดของไวรัสโคโรนา ได้ส่งผลให้อีซีบีปล่อยโครงการ Pandemic Emergency Purchase Program หรือ PEPP ซึ่งเป็นการเข้าซื้อพันธบัตรในภูมิภาค เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกู้เงินและกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (อีซีบีคงแนวทางการดำเนินนโยบายดังกล่าว ในการประชุมเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา) โดยมีเป้าหมายการเข้าซื้อสินทรัพย์รวม 1.85 ล้านล้านยูโร (2.21 ล้านล้านเหรียญ) ที่มีกำหนดสิ้นสุดในเดือนมี.ค. ปี 2022


อย่างไรก็ดี การตัดสินใจว่าจะ “เร่งเข้าซื้อพันธบัตรรายเดือน” จะเกิดขึ้นเพื่อบรรเทาการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าการรีไฟแนนซ์มีต้นทุนที่สูงขึ้


การเข้าซื้อผ่านโครงการ PEPP ในเดือนมี.ค. วงเงิน 7.4 หมื่นล้านยูโร แสดงให้เห็นว่ามีการเข้าซื้อที่สูงมากขึ้นกว่าระดับ 5.3 หมื่นล้านยูโร ในดือนก.พ. และ 6.0 หมื่นล้านเหรียญในเดือนม.ค.


แต่เมื่อพิจารณารายงานการประชุมของสภาคณะกรรมาธิการฝ่ายปกครองของอีซีบีในเดือนมี.ค. สรุปไว้ว่า
- มีมมุมองที่ค่อนข้างชัดเจนและมองต่างว่าการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไม่ได้เคลื่อนไหวดังที่เคยปรากฎในครั้งแรก

- การตัดสินใจว่าจะปรับการเข้าซื้อพันธบัตรนั้นจะเป็นตัวสะท้อนว่า อีซีบีมีความตั้งใจจะใช้ “ความยืดหยุ่น” ของโครงการนี้ โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงภาพรวมของขอบเขตการเข้าซื้อ หรือระยะเวลาของโครงการ
- วิธีที่ดีที่สุดในการอธิบายการตัดสินใจของอีซีบี คือการรักษา “สมดุล” ระหว่างแนวทางการดำเนินนโยบายแบบ “ผ่อนคลาย” กับ “คุมเข้ม”


การหารือในแนวทาง “คุมเข้ม” ทางการเงิน

มีสัญญาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่องว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และก็ดูจะส่งผลให้สมาชิกอีซีบีบางรายดูจะพร้อมสนับสนุน “การยกเลิกโครงการ PEPP”


Pierre Wunsch และ Klaas Knot สมาชิกอีซีบี ผู้ซึ่งเป็นประธานเฟดสาขาเบลเยียม และประธานเฟดสาขาเนเธอร์แลนด์ ดูจะเริ่มพูดถึงความเป็นไปได้ในการออกจากโครงการ PEPP และมีสัญญาณบ่งชี้ว่าอาจเกิดขึ้นได้เร็วที่สุดช่วงไตรมาสที่ 3/2021 กล่าวโดยสรุปว่า หากเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวตามคาด รวมทั้งเงินเฟ้อดีขึ้น ควบคู่กันในช่วงครึ่งปีหลัง


อีซีบีจะเริ่มทยอยก้าวออกจากโครงการ PEPP เร็วกว่าที่คาดไว้ว่าจะจบลงในเดือนมี.ค. ปี 2022


และการหารือดังกล่าวดูจะมีแนวโน้มเริ่มต้นได้มากขึ้นช่วงพ.ค.นี้

นักวิเคราะห์จาก Societe Generale กล่าวว่า พวกเราไม่แน่ใจว่าตลาดจะประเมินอย่างไร แต่การก้าวออกจากโครงการ PEPP จะเป็นหัวข้อสำคัญของอีซีบีที่มีมุมมองว่า
- เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ในช่วงครึ่งปีหลัง
- เงินเฟ้อปรับขึ้นตามคาด


แต่ก็ยากที่จะระบุว่า การถอนโครงการ PEPP จะเกิดขึ้นก่อนการถอนนโยบายผ่อนคลายของเฟดหรือไม่ แต่ภาพรวม ณ ปัจจุบัน เชื่อว่า การจะถอนมาตรการสนับสนุนใดๆน่าจะเกิดขึ้นได้ช่วงต้นปี 2022


ที่มา: CNBC


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com