• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 20 เมษายน 2564

    20 เมษายน 2564 | Gold News


อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับขึ้นแถว 1.6% กดทองลงจากสูงสุดรอบ 7 สัปดาห์

 

·         ทองคำปรับตัวลดลงจากสูงสุดรอบ 7 สัปดาห์ บริเวณ 1,789.77 เหรียญ ที่เป็นสูงสุดตั้งแต่ 25 ก.พ. ส่งผลให้ราคาทองคำตลาดโลกปิด -0.3% บริเวณ 1,770.97 เหรียญอีกครั้ง

 

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนมิ.ย. ปิด -0.5% ที่ 1,770.60 เหรียญ

 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นมาบริเวณ 1.604% โดยช่วงต้นตลาดทำสูงสุดที่ 1.617%

 

·         ภาพรวมทองคำปี 2021 ปรับตัวลงมาแล้วประมาณ 6% ส่วนใหญ่ถูกกดดันหลักๆจาก การปรับขึ้นของอัตราผลจอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

อย่างไรก็ดี การปรับลงของทองคำก็ยังจำกัดจากดอลลาร์อ่อนค่าทำต่ำสุดในรอบกว่า 6 สัปดาห์ และเช้านี้ดอลลาร์หลุดต่ำกว่า 91 จุดลงมา


 

·         กองทุนทองคำ SPDR เมื่อวานนี้เข้าซื้อทองคำเพิ่ม 2.04 ตัน ปัจจุบันถือครองที่ 1,021.7 ตัน โดยเข้าซื้อครั้งแรกในรอบ 13 วันทำการ

 


·         นักวิเคราะห์จาก TD Securities ชี้ โอกาสเฟดจะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ย ควบคู่กัยการค่อยๆปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ กดดันราคาทองคำ

 

·         นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered มอง ทองยังมีแรงหนุนได้ดีและไม่น่าหลุดต่ำกว่า 1,700 เหรียญ โดยเฉพาะอุปสงค์จากอินเดียและจีนที่เพิ่มขึ้นจากระดับล่าง และธนาคารกลางต่างๆกลับมามีสถานะเข้าซื้อสุทธิในเดือนก.พ.

 

·         ขณะเดียวกันก็มีรายงานถึงการที่จีนอนุญาตให้ธนาคารในประเทศและต่างประเทศนำเข้าทองคำมาในจีนเพิ่มสูงขึ้นได้

 

·         ซิลเวอร์ปิด -0.6% ที่ 25.80 เหรียญ

 

·         แพลทินัมปิด +0.1% ที่ 1,204 เหรียญ

 

·         พลาเดียมปิด +1.5% ที่ 2,819.21 เหรียญหลังทำสูงสุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2020 บริเวณ 2,845.5 เหรียญได้

 

·         Citi คาด พลาเดียมยังปรับขึ้นได้ต่อจากความต้องการในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ และความเป็นไปได้มากขึ้นของการเปลี่ยนจากการใช้โรเดียมมาเป็นพลาเดียม ประกอบกับอุปสรรคด้านอุปทาน จึงคาดว่าพลาเดียมช่วงระหว่าง เดือนนี้ อาจเห็นราคาไปถึง 3,200 เหรียญได้ จากคาดการณ์เดิม 3,200 เหรียญ


 

·         หุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงหลังทำระดับสูงสุดประวัติการณ์ จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯรีบาวน์


 

·         อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับขึ้นมาบริเวณ 1.6064จากบริเวณ 1.573%


·         สถานการณ์การฉีดวัคซีนทั่วโลกเวลานี้พบ 167 ประเทศเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีน และมีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนแล้วไม่น้อยกว่า 902.59 ล้านโดส

 


·         CDC เผย มีชาวอเมริกาไม่น้อยกว่า 6,000 รายที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสยังคง ติดเชื้อไวรัส Covid-19

 

·         สหรัฐฯพบยอดติดเชื้อใหม่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การรักษาพยาบาลในประเทศเพิ่มต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2

โดยรายงานล่าสุด พบ จำนวนยอดติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น 8% แถวระดับ 49,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว

 

·         อังกฤษเพิ่ม อินเดีย” สู่รายชื่อ RED List เส้นทางเดินทางกรณี Covid-19 ระบาดหนัก

 

·         สถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนาทั่วโลกเวลานี้



ภาพรวมยังมีรายงานจาก 58 ประเทศทั่วโลกที่พบผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง

โดยล่าสุดเมื่อวานนี้มีการพบผู้ติดเชื้อใหม่ทั่วโลกสูงกว่า 654,000 ราย ทำให้ยอดรวมสะสมแตะ 142.68 ล้านราย ยอดเสียชีวิตทั่วโลกรวมสะสมแตะ 3.04 ล้านราย

 

3 อันดับประเทศที่พบผู้ติดเชื้อใหม่รายวันทั่วโลกในระดับสูงสุ

1. อินเดีย พบผู้ติดเชื้อใหม่ 256,947 ราย รวมติดเชื้อสะสม 15.31 ล้านราย
2. ตุรกี พบผู้ติดเชื้อใหม่ 55,149 ราย รวมติดเชื้อสะสม 4.32 ล้านราย
3. สหรัฐฯ พบผู้ติดเชื้อใหม่ 50,350 ราย รวมติดเชื้อสะสม 32.47 ล้านราย

 

3 อันดับที่พบผู้เสียชีวิตรายวันใหม่ทั่วโลกในระดับสูงสุด

1. อินเดีย พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1,757 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 180,550 ราย
2. บราซิล พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1,607 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 357,049 ราย
3. สหรัฐฯ พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 472 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 581,552 ราย

 

สถานการณ์ระบาดในไทยยังหนัก! ไทยพบเสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย พบติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 1,390 ราย

ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 43,742 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 104 ราย
และภายในระยะเวลา 
19 วันของการระบาดระลอกใหม่ มีผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว 14,879 ราย


ขณะที่รายงานมติชน มีการระบุถึง สถานการณ์ในไทยที่น่าเป็นกังวล ที่น่าห่วงพบว่า เนื่องจากการที่ประชาชนจะไปคัดกรองขอตรวจเชื้อโควิด สถานพยาบาลหลายแห่งเริ่มจำกัดคิวการตรวจในแต่ละวัน เท่ากับจำนวนผู้มาตรวจลดน้อยลงตาม ตัวเลขการติดเชื้อก็จะพบน้อยตามไปด้วยเช่นกัน

 

'หมอธีระวัฒน์กังวลวัคซีนใช้ไม่ได้ผลกับ 'โควิด-19สายพันธุ์อินเดีย

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสรตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการกลายพันธุ์ว่า ไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์อังกฤษ ขณะนี้ระบาดไปแล้ว 100 กว่าประเทศทั่วโลก เกือบจะเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ในณะนี้

 

ในขณะเดียวกันข้อมูลที่บ่งชี้ที่ระบุว่าระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 1.7 เท่า ในการตีความข้อมูลเหล่านี้มาจาการสำรวจของคนอังกฤษ ซึ่งในความจริงแล้วเชื้อไวรัสจะแพร่ระบาดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งตอนนี้ก็ยังคงถกเถียงกันว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้แพร่ระบาดเร็วจริงหรือไม่

"แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันเป็นเพียงข้อมูลในหลอดทดลองว่าเมื่อมีการเพาะเข้าไปในเซลล์เพาะเลี้ยงดูว่าจะมีการติดเชื้อได้เร็วกว่าธรรมดา และดูโครงสร้างที่มันผันแปรไปนั้นจะเกราะติดกับเซล์มนุษย์ได้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นไม่อยากให้กังวลกับไวรัสสายพันธุ์อังกฤษมาก เพราะวัคซีนที่ใช้ในขณะนี้สามารถกำราบสายพันธุ์อังกฤษได้ แต่ว่าสิ่งที่เราไม่ชอบ คือไวรัสของอินเดียและฟิลิปปินส์" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

 

รายงานจาก PPTV เผย คนไทยฉีดวัคซีนโควิดครบเกณฑ์ 8.2 หมื่นราย คิดเป็น 0.1% ของประชากรทั้งประเทศ

สำหรับข้อมูล ตัวเลขการฉีดวัคซีน ของประเทศไทย ตั้งแต่ วันที่ 28 ก.พ. - 18 เม.ย. ซึ่งยอดรวมทั้งหมดที่ฉีดไปแล้ว คือ 618,925 โดส  โดยแยกเป็น จำนวนผู้ที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 ไปแล้ว  535,925  ราย และผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ไปแล้ว 82,658 ราย  ซึ่งผู้ได้รับวัคซีนครบเกณฑ์ (2โดส) คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของประชากรทั้งประเทศ

·         บีโอเจฉายแววหั่นเป้าคาดการณ์เงินเฟ้อ

รายงานจาก Nikkei ระบุว่า บีโอเจอาจตัดสินใจปรับลดเป้าหมายเงินเฟ้อในปีงบประมาณปีนี้ ที่จะเผยถึงคาดการณ์รายไตรมาสในการประชุมระหว่าง 26-27 เม.ย. นี้

ทั้งนี้ การปรับลดเป้าหมายดังกล่าวจะเป็นผลสะท้อนของการลดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บโทรศัพท์มือถือ จึงอาจกดดันให้ดัชนี Core CPI อ่อนตัวลงมาแถว 0.2% ขณะที่ปัจจุบันคาดว่าจะโต 0.5%

สำหรับคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2023 คาดบีโอเจจะยังคงเป้าหมายไว้แถวระดับ 1%

 

·      องค์กรสิทธิมนุษยชน เผย การกระทำต่างๆในมณฑลซินเจียงอาจเป็นอาชญากรรมด้านมนุษยชน

 

·         องค์การบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) เตือนสาวการบินที่เดินทางใกล้พรมแดนยูเครน-รัสเซีย ระวังความเสี่ยง” ด้านความปลอดภัย

จากความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น อาจนำไปสู่ความเป็นไปได้ที่ไม่ทันสังเกตจากกิจกรรมทางทหารหรือข้อพิพาทและเหตุปะทะต่างๆ

 

·         ยุโรปประณามรัสเซีย เหตุขับไล่นักการทูตสาธารณรัฐเช็ค 20 ราย

 

·         เจ้าหน้าที่อิหร่าน เผยเจรจานิวเคลียมีความคืบหน้าบางส่วน และอาจเกิดข้อตกลงชั่วคราวกับชาติมหาอำนาจของโลกได้

 

·         อ้างอิงจากกรุงเทพธุรกิจ

'เงินบาทติดท็อปเท็นสกุลเงินได้รับความนิยมสูงสุดของโลก

ที่ประชุมโป๋อ่าว ฟอรัม ฟอร์ เอเชีย (บีเอฟเอ) เผยแพร่รายงานระบุว่า การบูรณาการของตลาดการเงินในเอเชียกำลังมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง และสกุลเงินบาทของไทยอยู่ในกลุ่มสกุลเงิน 10 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับการชำระเงินและตัดบัญชีทั่วโลก

นอกจากนี้ ประเทศในเอเชียได้ส่งเสริมความร่วมมือด้านสกุลเงิน และการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่มูลค่าการทำสว็อปสกุลเงินระดับทวิภาคีพุ่งขึ้นสู่ระดับมากกว่า 2.40 แสนล้านเหรียญ

- ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ มอง เงินบาทแกว่งตัวในกรอบ ตลาดจับตาสถานการณ์โควิด-ส่งออกไทย

ทั้งนี้ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.09-31.27 บาท/ดอลลาร์

สำหรับปัจจัยภายในประเทศ คือ

1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงรุนแรง

ซึ่งสิ่งที่จะกระทบความเชื่อมั่นอย่างมีนัยสำคัญคือแนวทางและความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดหาและกระจายวัคซีนซึ่งควรเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด

2. กระทรวงการคลังสหรัฐประกาศให้ไทยอยู่ในรายชื่อประเทศที่ถูกจับตามองด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Monitoring List)

โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าการที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน monitoring List ของทางการสหรัฐ ในเรื่องการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนนั้น ไม่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจที่มีการค้าการลงทุนกับสหรัฐ ซึ่งภาคเอกชนไทยและสหรัฐยังคงดำเนินธุรกิจกันได้ตามปกติและการประเมินดังกล่าวก็ไม่กระทบต่อบทบาทของ ธปท. ในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินภายในประเทศ และเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจของธนาคารกลางและความเหมาะสมของสถานการณ์

 

·         อ้างอิงจากไทยรัฐ

เศรษฐกิจปีนี้เสี่ยงโตต่ำกว่า 3% ธปท.รับโควิดระลอก 3 รุนแรง-มาเร็วกว่าคาด

 

·         อ้างอิงจากประชาชาติธุรกิจ

- ผู้ว่าธปท. ห่วงโควิดระลอก 3 ทุบเศรษฐกิจ-แรงงานรายได้วูบ หนี้ครัวเรือนกระฉูด

ผู้ว่าการแบงก์ชาติชำแหละปัญหาเศรษฐกิจไทย อาการหนักกว่าเพื่อนบ้าน-ฟื้นตัวช้า ระบาดระลอก 3 เพิ่มความเสี่ยงเศรษฐกิจไม่สิ้นสุด-ฟื้นตัวสะดุด ประเมินสถานการณ์พร้อมออกมาตรการดูแลภาคธุรกิจ-ครัวเรือนเพิ่มเติม พร้อมเดินเครื่องชุดมาตรการ สินเชื่อฟื้นฟู-พักทรัพย์พักหนี้” ต้น พ.ค.นี้ ห่วงปัญหา หนี้ครัวเรือน” พุ่งสูงจนแฮงโอเวอร์ เพราะประชาชนไม่มีรายได้ เร่งหามาตรการดูแล เหตุโครงสร้างแรงงานไทย ผิดเพี้ยน” 50% ไม่มีรายได้ประจำ ชี้ประเทศไทยต้องหา เครื่องยนต์เศรษฐกิจ” ตัวใหม่ หลังเครื่องยนต์ท่องเที่ยวดับ

ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 เป็นเหมือนฝันร้ายที่เข้ามาซ้ำเติมบาดแผลของเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบหนักอยู่แล้ว ให้ฟื้นตัวช้าลงไปอีก เดิมที่ประเทศไทยวางแผนเปิดประเทศในไตรมาส 4/2564 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะกลับมาโตได้ 3% แต่การระบาดระลอก 3 ทำให้เศรษฐกิจไทยที่ ธปท.มองว่าฟื้นตัวช้า ไม่เท่าเทียมและไม่ทั่วถึงอยู่แล้ว ทรุดหนักอีกครั้ง

 

·         อ้างอิงจาก Business  Today

กูรู ชี้มาตรการคุมโควิดรอบสาม กดดัน เศรษฐกิจไทย ไตรมาส อาจไม่สดใส

โดยสรุป มาตรการป้องกันโควิดรอบนี้น่าจะกระทบการบริโภคบางกลุ่ม โดยเฉพาะภาคค้าปลีก และภาคท่องเที่ยว ขณะที่คนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แม้กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มอาจไม่ได้รับผลกระทบแรงเท่ากลุ่มอื่น แต่เนื่องจากคนทำงานที่บ้านมากขึ้น คนเดินทางหรือออกนอกบ้านน้อยลง มีผลให้ยอดขายลดลงตามจำนวนคน กลุ่มที่รับเงินโอนตามมาตรการภาครัฐอาจกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่นเพราะคนเลือกใช้บริการเพื่อลดค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มที่อาจไม่ได้รับผกระทบมากนักแต่ก็ยังกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจึงลดการใช้จ่าย เช่น ข้าราชการ มนุษย์เงินเดือน หรือกลุ่มแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อส่งออก

ในมุมเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สอง หากการระบาดคลี่คลายลงในเดือนพฤษภาคมและสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน ผลกระทบทางการบริโภคในประเทศไม่น่ารุนแรงเท่าการล็อกดาวน์ปีก่อน แต่น่าจะรุนแรงกว่ารอบเดือนมกราคม ปัจจัยสนับสนุนมีเพียงมาตรการรัฐและการส่งออก เราประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะหดตัวเทียบไตรมาสต่อไตรมาสหลังปรับฤดูกาลเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน ที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่าเกิดการถดถอยทางเทคนิค หรือ technical recession แม้เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองจะขยายตัวได้สูงเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนก็ตาม

โดยสำนักฯกำลังปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยว่าอาจขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ที่ 2.6% ซึ่งจะขยายตัวต่ำกว่า 2% หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่ามาตรการป้องกันโควิดนี้

1. ควบคุมการแพร่ระบาดได้รวดเร็ว

2. มีมาตรการชดเชยผู้ขาดรายได้ เช่นเพิ่มเงินโอน และต่ออายุมาตรการที่จะสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม

3. มีมาตรการลดค่าครองชีพอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทางระบบสาธารณะ

4. ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการเพิ่มเติมในการลดภาระดอกเบี้ย เช่น ลดค่าธรรมเนียม FIDF หรือลดดอกเบี้ยกนง.ในรอบการประชุมวันที่ พฤษภาคม พร้อมเร่งอัดฉีดเงินกู้ให้ธุรกิจ อีกทั้งอาจเห็นการต่อมาตรการพักชำระหนี้ ซึ่งทางธนาคารน่าดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ลูกค้าให้รวดเร็วขึ้น

 

·         อ้างอิงจากโพสต์ทูเดย์

ฉีดวัคซีนช้ากระทบเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยหนัก

กรุงศรีคาดเงินบาทซื้อขายในกรอบ 31.10-31.40 มองดอลลาร์ย่ำฐานตามบอนด์ยิลด์

 

สัญญาณความเสี่ยงและความท้าทายต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์เสี่ยง (ดัชนีตลาดหลักทรัพย์)

ช่องว่างความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งที่มากขึ้น

การระบาดและผลกระทบจากการระบาดของโรคเท่าที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า

1) ส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและปานกลางมากกว่าผู้มีรายได้มาก (ไม่ได้หมายความว่าผู้มีรายได้มากไม่ได้รับผลกระทบ) เพราะเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ดีกว่า

2) ภาคการเงิน (นับถึงปัจจุบัน) ได้รับผลกระทบน้อยกว่าภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sectors) โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่ถึงเลิกจ้าง หรือถูกให้ทำงานน้อยลง (ชั่วโมงการทำงานลดลง ไม่มีการทำล่วงเวลา หรือ OT ทำให้มีรายได้ลดลง)

การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของความยากจนและหนี้ครัวเรือน

มูลหนี้ของภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78 ของ GDP เป็นร้อยละ 86 และมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวเป็นกว่าร้อยละ 90 ในสิ้นปีนี้แสดงถึงภาระหนี้สินในภาคครัวเรือนที่ใีเพิ่มขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 บั่นทอนขีดความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ภาคครัวเรือน ความล่าช้าของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาทางเศรษฐกิจที่สามารถเกิดขึ้นได้จากปริมาณหนี้เสียของภาคครัวเรือน ในปี 2564 ปริมาณหนี้เสียภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากประมาณ 7.8 แสนล้านบาท เป็น 1 ล้านล้านบาท จากมูลหนี้ประมาณกว่า 14 ล้านล้านบาท

ฉบับเต็มhttps://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/650782

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกประกาศ 2 ฉบับ เพื่อกำหนดขอบเขตคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจที่สามารถเข้าร่วมโครงการ หลักการ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจภายใต้ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ) ซึ่งประกอบด้วย 2 มาตรการช่วยเหลือ ได้แก่

(1) มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู)

(2) มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้) โดยสถาบันการเงินสามารถยื่นคำขอได้ตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย. 64 เป็นต้นไป

- หอการค้าไทย ร่วมกับผู้บริหารบริษัทเอกชนรายใหญ่ในเครือข่ายประมาณ 40 กว่าบริษัท นัดประชุมระดมความคิดเห็นของภาคเอกชนในการวางแผนการกระจายวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา เนื่องจากเห็นว่าการฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มเสี่ยงในช่วงแรกยังถือว่าล่าช้า

- ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) ประเมินว่าภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 64 การขายยังคงชะลอตัว จากผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบมาต่อเนื่อง ทำให้การตัดสินใจซื้อชะลอตัวลงไป

- อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุว่า การออกภาษีใหม่ๆ ในช่วงนี้ ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม เนื่องจากขณะนี้ เศรษฐกิจไทยยังได้ รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงการคลังและรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการใช้มาตรการภาษีในการเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากกว่า


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com