• Russell มอง ทองคำปี 2021 อาจได้รับอานิสงส์จากความต้องการทองคำของ“จีน” และ "อินเดีย" แม้การเข้าซื้อ ETF จะอ่อนตัวลงไป

    4 กุมภาพันธ์ 2564 | Gold News

ตลอดช่วงไม่กี่วันมานี้จะเห็นได้ถึงราคาซิลเวอร์ที่พุ่งขึ้นแรงจากการแห่เข้าซื้อของกลุ่มนักลงทุนรายย่อย ขณะที่สภาวะในตลาดทองก็ค่อนข้างเงียบเหงา แม้ว่าจะยังคงมีความน่าสนใจต่อในปี 2021 นี้

ยังมีอีกหลายกรณีที่จะเห็นราคาทองคำปรับขึ้นได้ แม้ที่ไม่สามารถขึ้นต่อหลังฟื้นตัวแข็งแกร่งในปี 2020 ที่ขึ้นไปทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,072.49 เหรียญ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. และ นับตั้งแต่วันนั้นถึง ณ ปัจจุบัน (3 ก.พ.) จะเห็นได้ว่าทองคำลงมาแล้วประมาณ 11.5% ที่ระดับ 1,833.55 เหรียญ

ทั้งนี้ ในปี 2020 ทองคำสามารถปรับขึ้นได้ประมาณ 25และมีแนวโน้มเชิงบวก ขณะที่หลายๆฝ่ายยังเชื่อว่าทองคำน่าจะขึ้นได้ต่อไปบริเวณระดับสำคัญทางจิตวิทยา 2,000 เหรียญ

นับตั้งแต่ที่ราคาทองคำมีการทำ All-Time High ก็เห็นได้ถึง “การค่อยๆปรับตัวลดลง” โดยเฉพาะจากการที่นายทรัมป์ไม่สามารถคว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯได้

 

ปัจจัยบวกต่อทองคำ

หลายๆนักวิเคราะห์ให้ความสนใจไปในเรื่องของ
- อัตราดอกเบี้ย
- คาดการณ์การใช้นโยบายการเงิน
- แนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์   

รายงานจาก WGC สะท้อนว่า ผลจากการระบาดของไวรัสโคโรนาดูจะกดดันให้ความต้องการทองคำในปีที่แล้ว ทั้งในหมวดจิลเวลรีก็ร่วงลงไป 34แตะ 1,411.6 ตัน จากเดิมที่ระดับ 2,122.7 ตันในปี 2019

ขณะที่ความต้องการทองคำในด้านเทคโนโลยี ปรับตัวลง 7แตะ 301.9 ตัน แต่ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 3ที่ระดับ 896.1 ตัน

ปัจจัยลบต่อทองคำ คือ “การลดความต้องการถือครองของธนาคารกลาง” ควบคู่กับความต้องการเข้าซื้อ และการลงทุนในสินค้าประเภททอง่คำที่โดยรวมแล้วลดลงไป 59ในปี 2020 ที่บริเวณ 272.9 ตัน จาก 688.5 ตันในปี 2019

แต่ “ความท้าทายต่างๆ” ส่งผลให้เกิดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจะมีความต้องการทองคำในปี 2021 เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจาก “จีน” และ “อินเดีย”  




สำหรับปี 2020

ความต้องการทองคำในรูปจิลเวลรี

“จีน” ลดลงไป 35แตะ 415.6 ตัน ในปี 2020
“อินเดีย” ลดลง 42
ที่ 315.9 ตัน

ทั้งนี้ การปรับตัวลงที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเรื่องน่าแปลกใจนัก เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาส่งผลให้เกิดการตัดสินใจ “LOCKDOWN” และทำให้เกิดผลเสียต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ก็จะเริ่มเห็นได้ถึงสัญญาณการฟื้นตัวและการระบาดที่ค่อยๆบรรเทาลงไป

 

ความต้องการทองคำจิลเวลรีใน Q4/2020

“จีน” มีความต้องการที่ 145.1 ตัน ซึ่งเป็นระดับความต้องการที่เพิ่มมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วง Q4/2019 และยังเพิ่มขึ้นได้มากถึง 22.4เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

“อินเดีย” มีความต้องการที่ 137.3 ตัน ซึ่งเป็นระดับความต้องการที่เพิ่มมากสุดเช่นกัน นับตั้งแต่ช่วง Q4/2019 และโดยรวมเพิ่มขึ้นมากถึง 125.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

 

กรณีที่จะเห็นแนวโน้มความต้องการทองปี 2021 เป็น “ขาขึ้น” มีดังนี้
- การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก
- ความต้องการของกองทุน
 ETF
การเข้าซื้อทองคำเพิ่มของธนาคารกลาง



ที่มา
: Reuters


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com