• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564

    3 กุมภาพันธ์ 2564 | Gold News


ทองคำอ่อนตัวแตะระดับเส้นค่าเฉลี่ย EMA ราย 200 วัน

ตลาดทองคำอ่อนตัวลงกลับร่วงลงมาประมาณ 1.5% กลับทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย EMA ราย 200 วันบริเวณแนวรับ

นักวิเคราะห์จาก FXEmpire แนะนำให้นักลงทุนลงทุนด้วยความระมัดระวังและจับตาในค่าเงินดอลลาร์ เนื่องด้วยดัชนีดอลลาร์ยังมีสัญญาณที่จะแข็งค่าได้อีก และอาจกดดดันทองคำ โดยทองคำจะมีแนวรับสำคัญที่ 1,800 เหรียญ หากหลุดลงมามีโอกาสเห็น 1,750 เหรียญ และอาจถูกแรงเทขายกดดันให้ปรับตัวลดลงต่อได้อีก

อย่างไรก็ดี ภาพรวมเชื่อว่าทองคำจะสามารถ Break ไปยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA ราย 50 วัน ที่ 1,900 เหรียญได้ เพราะหากผ่านระดับนี้ไปได้มีโอกาสแตะ 1,960 เหรียญตามมาได้

·         ราคาทองคำตลาดโลกปิด -1.4ที่ 1,835.11 เหรียญ

·         สัญญาทองคำส่งมอบเดือนเม.ย. ปิด 1.6% ที่ 1,833.40 เหรียญ

 

·         SPDR เมื่อวานนี้ไม่ได้ทำอะไรเพิ่ม โดยปัจจุบันถือครองที่ 1,157.5 ตัน

 

·         นักวิเคราะห์จาก HSBC กล่าวว่า  ซิลเวอร์อาจอ่อนตัวลงได้อีกครั้งหากทองคำไม่สามารถปรับขึ้น ได้ และค่า Ratio ระหว่างทองคำ/ซิลเวอร์ ยังมีค่าเฉลี่ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

 

·         ซิลเวอร์ร่วงหลังนักลงทุนรายย่อยปิดทำกำไรหลังราคาฟื้นตัวแถวระดับสูงสุดรอบ 8 ปีวานนี้



ราคาซิลเวอร์ปิด -8.2ที่ระดับ 26.59 เหรียญ หลังจากที่วันจันทร์ปิด +7.3ทำสูงสุดตั้งแต่ก.พ. ปี 2013

จากแรงเทขายที่เกิดขึ้นส่งผลให้ตลาด CME Group มีการปรับเพิ่ม Margins ในซิลเวอร์ฟิวเจอร์สประมาณ 17.9% เมื่อวันจันทร์ เพื่อจัดการกับภาวะความผันผวนอย่างผิดปกติในตลาด อันเนื่องจากการปั่นกระทู้ในเว็บบอร์ด WallStreetBets ของทาง Reddit ที่ทำให้นักลงทุนรายย่อยแห่เข้าสู่ตลาดซิลเวอร์

กองทุน iShares Silver Trust มีการเพิ่มการถือครองซิลเวอร์ 20 ล้านออนซ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังวันศุกร์เพิ่มการถือครองสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 34 ล้านออนซ์

·         แพลทินัมปิด -3.5ที่ 1,088.59 เหรียญ

·         พลาเดียมปิด -0.2% ที่ 2,241.14 เหรียญ

 

·         การผลิตทองคำทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 5.5% ในปีนี้ หลัง Covid-19 ทำพิษในปี 2020

หลังจากที่การผลิตทองคำมีการปรับตัวลดลงในปี 2019 ก็จะเห็นได้ว่าการผลิตทองคำทั่วโลกดูจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ตามมาในปี 2020 ที่ลามไปสู่คนงานที่ลดลงในกลุ่มเหมือง  และข้อมูลจาก GlobalData วิเคราะห์ภาพรวมการผลิตทั่วโลกลดลง 5.2% แตะ 108 ล้านออนซ์ในปีที่ผ่านมา

ขณะที่ปี 2021 ถูกคาดว่าจะมีการผลิตทองคำเพิ่มขึ้นราว 5.5% ที่ 113.9 ล้านออนซ์ และจะโตต่อแตะ 124.1 ล้านออนซ์ หรือคิดเป็น 2.9% ของอัตราการเติบโต  CAGR

ทั้งนี้ สหรัฐฯอาจเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเติบโตต่อ ขณะที่หลายๆประเทศก็ถูกคาดว่าจะมีกำลังการผลิตในเหมืองทองเพิ่มสูงขึ้นแตะ 20.1 ล้านออนซ์โดยประมาณในปี 2021 และแตะ 25.3 ล้านออนซ์ได้ในปี 2024

 

·         U.S. Mint เผย ความต้องการเหรียญทองคำ-ซิลเวอร์พุ่งในปี 2020 ที่ผ่านมาจนถึงเดือนม.ค.

โดยยอดขายเหรียญทองคำในสหรัฐฯพุ่งขึ้น 258% ในปี 2020 และความต้องการซิลเวอร์เพิ่มขึ้น 28%

ขณะที่แรงขับเคลื่อนจากทาง Social Media ถือเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ความต้องการเข้าซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส ที่เห็นได้ชัดถึงการปรับขึ้นทำสูงสุดรอบ 8 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

American Eagle Gold มียอดขายเหรียญทองคำในเดือนม.ค. 220,500 ชิ้น หรือเพิ่มขึ้น 290เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีก่อนที่ขายได้ 56,000 ชิ้น

 

·         นายชัค ชูมเมอร์ส ผู้นำวุฒิสภา เผย ไบเดน ระบุว่า ข้อเสนอวงเงิน 6 แสนล้านเหรียญของรีพับลิกันเป็น “วงเงินที่น้อยเกินไป”

 

·         เดโมแครตเตรียมดันก้าวแรกในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อผลักดันแพ็คเกจไบเดนวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ

นายชัค ชูเมอร์ส ผู้นำเสียงข้างมากของวุฒิสภาจากพรรคเดโมแครต และ นางแนนซี เพโลซี โฆษกสภาผู้แทนราษฎร ต่างให้การสนับสนุนแผนแก้ไขงบประมาณในวันจันทร์หน้า และนี่ถือเป็นก้าวแรกในการใช้กระบวนการประนีประนอมเพื่อให้เกิดการผ่านมติจากสภาคองเกรสได้

 

·         เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีการคลังสหรัฐฯ สนับสนุนอย่างเต็มที่ถึงความจำเป็นที่คองเกรสจำเป็นต้องเกิดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

 

·         นายโรเบิร์ต เคพแลนด์ ประธานเฟดสาขาดัลลัส กล่าว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯจำเป็นต้องได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ประธานเฟดคนดังกล่าวสนับสนุนต่อแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของนายไบเดนที่วงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญ มากกว่าข้อเสนอของรีพับลิกันในวงเงิน 6.18 แสนล้านเหรียญในการลดการจ่ายเงินตรงแก่ภาคครัวเรือนและการไม่มีงบประมาณให้แก่มลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น เนื่องจากสหรัฐฯจำเป็นต้องมีเงินที่มากพอสำหรับการฉีดวัคซีนและทดสอบหาเชื้อ  และจำเป็นต้องมีเงินเพียงพอต่อการเปิดภาคเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนา รวมถึงการผลักดันการภาคแรงงานที่เป็นส่วนหนึ่งของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ดี การฉ๊ดวัคซีนถือเป็นหัวใจสำคัญในการฟื้นคืนเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน

 

·         รายงานจาก Reuters ชี้ว่า เฟดน่าจะคงดอกเบี้ยระดับต่ำต่อไปในปีนี้ท่ามกลางสภาพคล่องของเงินสดสำรองที่เข้าสู่ตลาด

 

·         ไบเดนจะทำการปรับทบทวนนโยบายการเข้าถึงสินค้าของสหรัฐฯที่จำเป็นต้องทำข้อตกลงในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยให้ความสำคัญกับ Supply Chains เป็นหลัก ถึงความมั่นคงทางด้านอุปทานในภาคอุตสาหกรรมของสรหัฐฯในการแข่งขันกับจีน และประเทศอื่นๆ

 

·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุด:



ภาพรวมยอดติดเชื้อทั่วโลกสะสมล่าสุดทะลุ 104 ล้านราย ล่าสุดอยู่ที่ 104.37 ล้านราย โดยยอดติดเชื้อใหม่ทั่วโลกเมื่อวานนี้เพิ่มขึ้น 437,575 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตรวมสะสมอยู่ที่ระดับ 2.26 ล้านราย

สหรัฐฯมียอดติดเชื้อสะสมทะลุ 27 ล้านราย โดยล่าสุดแตะ 27.02 ล้านราย โดยล่าสุดพบยอดติดเชื้อใหม่ 109,746 ราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสม 457,794 ราย


สำหรับประเทศบราซิลพบยอดติดเชื้อสะสมแตะ 
9.28 ล้านราย ทางด้านรัสเซียพุ่งแตะ 3.88 ล้านราย ตามมาด้วยอังกฤษที่มียอดติดเชื้อสะสมรวม 3.85 ล้านราย และล่าสุดฝรั่งเศสยอดติดเชื้อสะสมล่าสุดที่ 3.22 ล้านรายเป็นที่เรียบร้อย

 

สถานการณ์ในฝั่งเอเชีย

ญี่ปุ่นติดเชื้อสะสมล่าสุดที่ 391,626 ราย และมียอดเสียชีวิตรวม 5,794 ราย

จีนพบยอดติดเชื้อรายวันล่าสุดที่ 30 ราย ทำให้ยอดรวมสะสมที่ 89,594 ราย ขณะที่เกาหลีใต้ติดเชื้อสะสมทะลุ 78,844 รายเป็นที่เรียบร้อย


สถานการณ์ไวรัสโคโรนาในไทย

พบยอดติดเชื้อเพิ่ม 836 ราย ทำให้ยอดป่วยสะสมทะลุ 2 หมื่นราย อยู่ที่ 20,454 ราย  และเสียชีวิตเพิ่ม 2 คน ในขณะนี้ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 79 ราย




 

·         ผลทดสอบวัคซีน Sputnik V พบประสิทธิภาพในเฟสสุดท้ายสูงถึง 91.6%

 

·         “เยลเลน” และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังเม็กซิโกจะพบกันเพื่อหารือถึงเรื่องภาษีดิจิทัล

 

·         สหรัฐฯลดท่าทีแข็งกร้าวแต่ก็ไม่ปฏิเสธต่อแผนอิหร่านในการทำข้อตกลงนิวเคลียร์

 

·         ขณะที่ล่าสุดมีรายงาน พบ อิหร่านละเมิดข้อตกลงนิวเคลียร์ ด้วยการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมใต้ดิน

 

·         จีดีพียูโรโซนหดตัวแรง -6.8% เหตุจากมาตรการคุมเข้มสู้ไวรัส

Eurostat เผยข้อมลจีดีพีขั้นต้นประจำปี 2020 โดยพบว่าจีดีพีหดตัวมากถึง -6.8%  ขณะที่จีดีพีไตรมาสที่ 4/2020 ปรับลงมาที่ 0.7% หลังโตได้ 12.4% ในไตรมาสที่ 3/2020 เพราะได้รับผลกระทบหลักจากการใช้มาตรการคุมเข้มของภาครัฐบาลต่างๆเพื่อจำกัดการระบาดระลอกสอง หรือ Second Wave


อย่างไรก็ดี ผลกระทบเชิงลบทางด้านสุขภาพในช่วง เดือนสุดท้ายของปี 2020 ดูจะได้รับผลกระทบจากการที่เยอรมนีและฝรั่งเศสทำการประกาศ Lockdown และใช้มาตรการเข้มงวดทางสังคม จึงกดดันทิศทางเศรษฐกิจภูมิภาคอีกครั้ง

 

·         ประธานาธิบดีอิตาสีเรียกร้องให้ “มาริโอ ดรากี้” อดีตประธานอีซีบี ปกป้องประเทศจากวิกฤต ด้วยการ จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาควบคู่กับการต่อสู้กับวิกฤตเศรษฐกิจที่รุมเร้าประเทศ โดยจะมีการหารือกันในวันนี้  ขณะที่นายดรากี้ถูกเสนอชื่อให้เป็นผู้นำรัฐบาลเพื่อช่วยฟื้นฟูยูโรโซนและวิกฤตไวรัสโคโรนา

 

·         นักการเมืองอาวุโสของอิตาลี ปฏิเสธให้ ดรากี” อดีตประธานธนาคารกลาง เป็นผู้น้ำรัฐบาล

ทั้งนี้พรรคขบวนการ 5 ดาว ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในรัฐสภา จะไม่สนับสนุนรัฐบาลใหม่ที่นำโดยนาย ดรากี อดีตประธานธนาคารกลาง

 

·         ผลประกอบการบริษัท Alphabet โต 23% แต่การดำเนินธุรกิจอาจยังสูญรายได้นับพันล้าน

หุ้นบริษัทพุ่งขึ้นเกือบ 8% โดยยังปรับขึ้นต่อในไตรมาสที่ 4/2020 ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 22.30 เหรียญ สูงกว่าที่คาดไว้ 15.90 เหรียญ ดันผลกำไรบริษัทแตะ 5.69 หมื่นล้านเหรียญ ท่ามกลางธุรกิจการโฆษณาของบริษัทในเครือที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 4/2020 ดังนี้

- Google Cloud โตเกินคาดเล็กน้อยแตะ 3.83 พันล้านเหรียญ

- Youtube ขยายตัวเกินคาดแตะ 6.89 พันล้านเหรียญ

- TAC โตที่ 1.047 หมื่นล้านเหรียญ

 

·         หนึ่งในผู้ใช้งานช่องทาง Reddit ที่มีส่วนหนุนหุ้น GameStop ชี้ขาดทุน 13 ล้าน แต่จะยังเดินหน้าถือครองต่อไป

·         หุ้น GameStop ร่วง 60% และมูลค่าซื้อขายร่วงลงกว่า 70% นับตั้งแต่วันศุกร์

·         บริษัท Robinhood คลายกฎข้อจำกัดซื้อขายหุ้น ส่งผลให้ลูกค้าสามารถซื้อหุ้น GameStop ได้ 100 หุ้นเวลานี้


นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 29.90 - 30.10 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินบาทตลอดทั้งวันเคลื่อนไหวในกรอบแคบ หลังจากที่อ่อนค่าไปบ้าง อย่างไรก็ดี ตลาดรอผลประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.) วันนี้ โดยในเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น คาดว่า กนง.จะคงไว้ในระดับเดิม แต่ต้องติดตามว่าจะมีถ้อยแถลงต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยอย่างไร หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนารอบสองในประเทศ


 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าว Brand inside

นักวิเคราะห์คาด กนง. ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เท่าเดิม มองนโยบายช่วยเหลือเฉพาะเจาะจงมากขึ้น

- นักวิเคราะห์ของ ANZ สถาบันการเงินจากประเทศออสเตรเลีย มองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0.5% โดยมองว่าจะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ที่ทำให้เกิดแรงกดดันทางเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยได้ชะลอตัวลงจากการล็อกดาวน์บางพื้นที่ของประเทศไทย

UOB สถาบันการเงินจากสิงคโปร์มองว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะคงอัตราดอกเบี้ยนนโยบายที่ 0.5% ไปตลอดปี 2021 นี้ แต่ UOB กังวลถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ก่อนที่ไทยจะได้รับวัคซี

- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีมุมมองว่า กนง. จะมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ในการประชุมวันที่ 3 ก.พ. ทั้งนี้การบริโภคภาคเอกชนเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 2.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 4.5% โดยธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานว่าเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวแต่ยังไม่ทั่วถึงและเริ่มเห็นผลกระทบของการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ขณะเดียวกันก็มีมุมมองว่าทางการจะยังคงให้ความสำคัญกับการกระจายสภาพคล่องอย่างตรงจุดเพื่อมุ่งเน้นประสิทธิผลมากกว่าการเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบในลักษณะเหวี่ยงแห

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ตามเดิม เนื่องจากภาครัฐเพิ่งมีการออกมาตรการเพิ่มเติมทั้งในส่วนของนโยบายการเงินและมาตรการการคลัง โดยเม็ดเงินที่ใช้ในมาตรการการคลังในรอบนี้มีขนาด 1.4% ของ GDP ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดกระลอกใหม่ได้พอสมควร อย่างไรก็ดีต้องรอดูผลการประเมินเศรษฐกิจไทยรอบใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเดือนมีนาคมนี้ รวมถึงมาตรการทางการเงินการคลังเพิ่มเติมที่จะออกมา ถ้าหากทิศทางนั้นแย่กว่าคาดก็อาจทำให้ กนง. อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาชาติ

KKP Research ประเมินจีดีพีไทยปี 64 ขยายตัว 2% จากคาดการณ์เดิม 3.5% ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าใช้เวลานาน-ตกหลุมลึก จับตา 3 ปัจจัยเสี่ยงกำหนดชะตา การควบคุมการติดเชื้อ หวั่นคุมไม่อยู่กดจีดีพี -1.2% การกระจายวัคซีนหนุนนโยบายเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว-เดินหน้านโยบายการเงิน-คลังประคองผลกระทบ คาด กนง.ลดดอกเบี้ยอาร์พี-เงินนำส่ง FIDF

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- นายกรัฐมนตรีไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้การหารือส่วนใหญ่เป็นเรื่องการช่วยเหลือเยียวยา

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ทั้งเรื่องวัคซีน การจัดสรรงบประมาณ และเรื่องแรงงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหากฎหมาย โดยได้มอบหมายกระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และสำนักงบประมาณ ไปหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาหามาตรการช่วยเหลือกลุ่มต่างๆที่ยังมีปัญหา โดยจะทยอยออกมามาตรการออกมาเรื่อยๆ

- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ได้ติดตามสถานการณ์รัฐ

ประหารในเมียนมาอย่างใกล้ชิด และพบว่ายังไม่มีลูกค้า EXIM BANK ได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เข้าไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศของเมียนมา

- ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เผยภาวะการส่งออกของไทยในปี 63 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยหดตัวลดลงมาที่ -6.01% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะหดตัวมากถึง -10% แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจต่างประเทศเริ่มฟื้นตัว และแนวโน้มน่าจะดีขึ้นหลังจากสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ออกมาใช้งานได้แล้วช่วยให้สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย โดยการส่งออกของไทยมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com