• ไวรัสกลายพันธุ์ - สายพันธุ์ใหม่ Covid ที่ต้องรู้!

    13 มกราคม 2564 | Economic News
   

การกลายพันธุ์ของไวรัสไม่ใช่เรื่องแปลก ดังนั้น การระบาดของไวรัส Covid-19 ที่เกิดขึ้นช่วงปลายปี 2019 ที่อุบัติขึ้นในจีนจึงมีการเปลี่ยนแปลงหลากหลายสายพันธุ์ที่อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมากขึ้นได้

สายพันธุ์ใหม่ส่วนใหญ่ที่พบในเวลานี้ คือ ในประเทศแอฟริกาใต้และอังกฤษ ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในเวลานี้ รวมทั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการระบาดของสายพันธุ์ใหม่ในสหรัฐฯ ท่ามกลางทำเนียบขาวที่ออกโรงเตือนในช่วงปีใหม่ ว่าประเทศอาจเผชิญกับสายพันธุ์ใหม่ได้ และอาจยิ่งระบาดหนักขึ้นในสหรัฐฯได้เช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ผ่านมาล่าสุดสถาบันโรคติดต่อญี่ปุ่น เผยการพบเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มาพร้อมกับนักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศบราซิลจำนวน 4 ราย

สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์มีความวิตกกังวลในเวลานี้ คือ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ Spike Protein หรือโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสที่สัมพันธ์กับตัวรับและการเข้าถึงเซลล์ภายในร่างกาย

อย่างไรก็ดี การระบาดของไวรัส อาจไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการระบาดมากยิ่งขึ้น แต่ยังอาจมีผลให้วัคซีนมีประสิทธิภาพลดน้อยลงจากการกลายพันธุ์ของพวกมัน

สายพันธุ์ใหม่ในอังกฤษ ‘UK variant’

- 14 ธ.ค. กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษรายงานการพบอย่างเป็นทางการต่อ WHO

- สายพันธุ์ใหม่รู้จักในนาม VOC 202012/01 (ปี 2020, เดือน 12, รหัสสายพันธุ์ 01)

- สถานที่พบสายพันธุ์ใหม่ในกระเทศอังกฤษที่แรก คือ เมือง Kent ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใน้ของประเทศ

- จากนั้นเกิดการระบาดอย่าง “รวดเร็ว” ไปยังกรุงลอนดอนของประเทศ และทั่วภูมิภาค

- การระบาดอาจเร็วมากขึ้นกว่า 70% เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เก่า

การระบาดในอังกฤษพบว่ายอดติดเชื้อรายวันพุ่งสูงเกินต้านทะลุ 50,000 รายวัน นับตั้งแต่ 28 ธ.ค.

WHO ระบุว่า ต้นกำเนิด SARS-CoV-2 VOC 202012/01 ยังมีความไม่ชัดเจน

นักวิทยาศาสตร์ พิจารณาว่า การระบาดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ประกอบกับการระบาดที่มีระยะเวลายาวนานส่งผลให้เกิดโอกาสที่ทำให้ไวรัสกลายพันธุ์และทำให้แพร่ระบาดได้รวดเร็วขึ้


สายพันธุ์ใหม่ในแอฟริกาใต้ ‘South Africa variant’

- 18 ธ.ค. พบการติดเชื้อด้วยอัตราที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้นในประเทศแถบแอฟริกาใต้ ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกของเมืองเคป (Eastern Cape and Western Cape) รวมไปถึง KwaZulu-Natal

- สายพันธุ์ในประเทศแอฟริกาถูกเรียกว่า 501Y.V2 เนื่องจากมีการกลายพันธุ์มาจาก N501Y

- พบสายพันธุ์นี้ระบาดในประเทศอังกฤษด้วย

- สายพันธุ์นี้ ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่า “วัคซีนอาจเอาไม่อยู่”

นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ คาดหวังถึงวัคซีน แม้ว่าการกลายพันธุ์ และการฉีดวัคซีนอาจมีการปรับตัวรับกับสายพันธุ์ใหม่ของไวรัส คล้ายโรคไข้หวัดได้


สายพันธุ์ใหม่ในเดนมาร์ก ‘Denmark mink variant’

ไวรัสโคโรนาอีกหนึ่งสายพันธ์ที่เกิดการระบาดขึ้นในเดนมาร์กตั้งแต่ช่วงฤดูร้อน หรือราว มิ.ย. - ก.ย. ปีที่แล้ว ที่ถูกพบการระบาดในกลุ่มของฟาร์มเลี้ยงมิงก์

- มิ.ย. ปีที่แล้วมีผู้เสียชีวิตในเดนมาร์กพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่มาจากฟาร์มมิงก์ส่วนใหญ่มากถึง 214 ราย
- สายพันธุ์ใหม่นี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากการพบผู้ติดเชื้อทาง North Jutland ในประเทศเดนมาร์ก โดยเริ่มต้นจากฟาร์มมิงก์ และระบาดจากคนสู่คน

WHO ระบุถึงสายพันธุ์นี้ว่า “Cluster 5” ที่ค่อนข้างน่ากังวล เพราะพบว่าผู้ป่วยจะไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาด้วยแอนตีบอดี้ หรือเมื่อเทียบเท่ากับสายพันธุ์อื่นๆ รวมทั้งอาจทำให้มนุษย์ลดค่ากลางในมนุษย์ หรือการลดการขยายภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อตามธรรมชาติ หรือการได้รับวัคซีน

อย่างไรก็ดี ศูนย์กลางการควบคุมโรคระบาดและโรคติดต่อของสหภาพยุโร และ WHO ระบุว่า นับว่ายังเป็นโชคดีอยู่บ้างที่ยังไม่ปรากฏว่ามีการระบาดด้วยสายพันธุ์จำนวนนี้มากขึ้น ขณะที่รัฐบาลประเทศเดนมาร์กดำเนินการได้ค่อนข้างรวดเร็ว ด้วยการสั่งสังหารมิงก์กว่า 17 ล้านตัวในฟาร์มมิงก์


สายพันธุ์ใหม่ในประเทศจีน ‘Early mutation in China’

- “D614G” เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่กลายพันธุ์มาจาก SARS-CoV-2 ที่ถูกพบในประเทศจีนเมื่อช่วงเดือนมิ.ย. ปี 2020 ก่อนจะกลายมาเป็นการระบาดทีเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก

- WHO ระบุว่า “D614G” เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ปรากฎรในช่วงแรกของการระบาดในประเทศจีน ก่อนที่จะถูกประกาศเป็น Global Pandemic หรือการระบาดระดับโลกในเดือนมี.ค. ปี 2020
- “D614G” เริ่มถูกพบว่ามีการระบาดตั้งแต่ช่วงลปายเดือนม.ค. หรือช่วงต้นก.พ. ปี 2020

- จากการศึกษาระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ และรูปแบบการจำลอง สะท้อนให้เห็นว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดังเดิม “D614G” สามารถติดต่อและแพร่เชื้อได้เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม

- ไม่พบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้น หรือก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อน รวมทั้งกระบวนการรักษาหรือวัคซีน รวมทั้งการใช้มาตรการการป้องกันต่างๆของสาธารณสุข


ไม่มีใครควรถูก “ตำหนิ”

ไม่ว่าจะสายพันธุ์ใหม่ที่ถูกพบในประเทศ “อังกฤษ” หรือ “เดนมาร์ก” ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ก็ระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าต้นกำหนดของไวรัสอย่างนี้เกิดจากอะไร ดังนั้น ประเทศต่างๆที่พบการกลายพันธุ์ของไวรัสจึงไม่ควรถูกตำหนิถึงสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน

กรณีเดียวกันกับที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการวิจารณ์และเรียก Covid-19 ว่าเป็น “ไวรัสจีน” เนื่องจากพบการระบาดต้นกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่นในประเทศจีน

แต่ทั้งนี้ พวกเราก็ยังไม่มีใครทราบว่าต้นกำเนิดจริงๆมาจากที่ใด และขณะนี้ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก WHO ก็กำลังเดินทางไปยังประเทศจีนในสัปดาห์นี้

นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ เชื่อว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาเป็นการระบาดจากสัตว์สู่มนุษย์ และเชื่อว่าความเป็นไปได้นั้นอาจมาจาก “ค้างคาว”

หลายๆประเทศที่ถูกพบถึงสายพันธุ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในประเทศเดนมาร์กหรือแอฟริกาใต้ ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเฝ้าระวังและตรวจพันธุกรรมสายพันธุ์เพื่อสืบค้นถึงการกลายพันธ์ ท่ามกลาง WHO และองค์กรสำคัญต่างๆ อาทิ ศูนย์ควบคุมโรคระบาดและโรคติดต่อของสหรัฐฯ หรือแม้แต่หน่วยงาน ECDC ของยุโรป ที่มีการส่งข้อมูลคืบหน้าให้แก่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ทั่วโลกเพื่อเก็บข้อมูลสายพันธุ์หลักต่างๆทั่วโลก


ที่มา: CNBC    

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com