• วิเคราะห์เศรษฐกิจจีน-สหรัฐฯ แตกต่างกันจากการรับมือไวรัสโคโรนา

    22 ตุลาคม 2563 | Economic News

การรับมือกับการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เข้ากระทบกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯและจีนค่อนข้างมีความหลากหลายและมีวิธีการที่แตกต่างกัน รวมถึงรอยร้าวของทั้งสองประเทศที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลก

เป็นระยะเวลาประมาณ 11 เดือนหลังจากที่เกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาในเมืองอู่ฮั่น จีดีพีจีนที่ประกาศในสัปดาห์นี้ก็ยังไม่ได้สะท้อนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจเท่าที่ควร และโตได้ 4.9% ในช่วงไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ภาพรวมความเชื่อมั่นของจีนในการรับมือกับไวรัสโคโรนาก็ดูจะเพียงพอให้ประชาชนออกไปจับจ่ายใช้สอย ทานอาหาร และใช้บริการด้านความบันเทิง

ทั้งนี้ ยอดรวมการเสียชีวิตสะสมในจีนอยู่ต่ำกว่า 5,000 ราย และยอดติดเชื้อใหม่ก็ไม่ได้เพิ่มมากนัก จากการใช้มาตรการ Lockdown ที่เห็นผล ท่ามกลางผู้ติดเชื้อนับล้านราย ดังนั้นจึงทำให้เราเห็นการรีบาวน์ทางเศรษฐกิจ

อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า ความสำเร็จของจีนในการควบคุมการระบาดของไวรัสดูจะส่งผลให้ “เศรษฐกิจรีบาวน์ได้อย่างรวดเร็ว” เมื่อเทียบกับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ

คาดการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจและข้อมูลจีดีพีแท้จริง

รายได้ในกลุ่มสถานบันเทิง, ร้านอาหาร และการท่องเที่ยวยังมีการปิดทำการหรือเปิดได้บางส่วน ขณะที่ประชาชนนับล้านในสหรัฐฯประสบภาวะตกงาน จึงคาดว่าจีดีพีสหรัฐฯในไตรมาสนี้จะหดตัวลงต่อ ท่ามกลางผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ยังคงจำกัดตั้งแต่ปีที่แล้ว

ความแตกต่างที่แท้จริงระหว่างสหรัฐฯและจีน คือ การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเขตเมืองหลวงว่ามีการเข้ากระตุ้นเศรษฐกิจช้าเกินไปหรือช้าเล็กน้อย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ที่ดูจะเพิ่มมากขึ้นและสร้างความไม่แน่นอนมากขึ้นอันเป็นส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจ

ก่อนลงสมัครเลือกตั้งอีกครั้ง “นายทรัมป์” มีการตำหนิจีนว่าเป็นต้นเหตุในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งหากเป็นเขาจะมีการรับมือที่แตกต่างกว่านี้และไม่เพิ่มให้เกิดจำนวนมากเท่าจีน

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า บรรดาผู้เชี่ยวชาญ ต่างกล่าวย้ำในเรื่องความกังวลในระยะยาวจากแนวโน้มทางเศรษฐกิจจีน ที่รวมถึงหนี้สินในระดับสูงที่จะกระทบกับบริษัทต่างๆภายในประเทศ

ความมั่นใจในการลงทุนที่เป็นตัวนำด้านการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้รับอานิสงส์จากสินเชื่อที่ขยายตัวขึ้น และภาคการก่อสร้าง แม้ว่าปัญหาที่มีอยู่จะสร้างความเสี่ยงต่อระบบการเงินที่มีความอ่อนแออยู่ และอาจลดประสิทธิภาพรวมถึงเสถียรภาพในด้านการเติบโต

บรรดาผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า แต่ความแตกต่างเรื่อง “การรับมือกับไวรัสโคโรนา ในเวลานี้ ดูจะส่งผลกระทบต่อภาวะทางการเมือง และเศรษฐกิจทั้งสองประเทศ ที่ส่งผลกระทบกับประเทศอื่นๆในโลกด้วย

โดยที่เศรษฐกิจจีนปี 2021 มีแนวโน้มจะโตได้ 10% ซึ่งมากกว่าการเติบโตในปี 2019 เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆที่เติบโตได้ช้ากว่า หรือขยายตัวได้เพียงเล็กน้อย

สะท้อนว่า “จีนจะกลายเป็นผู้นำทางด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกต่อไป” แม้ว่าข้อขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและจีน หรือความต้องการแบ่งแยกเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ-จีน จะเป็นอุปสรรคต่อประเทศอื่นๆ และ “ทำให้เศรษฐกิจโลกเติบได้ช้าลง”

ยอดส่งออกจีนแข็งแกร่งขึ้นเกินคาด เพราะไดรับแรงหนุนจากอุปสงค์เครื่องมือทางการแพทย์จากต่างประเทศ

IMF คาดการค้าโลกจะมีปริมาณลดลงประมาณ 10.4% ในปี 2020 แต่ภาพรวามของจีนดูจะช่วยประคองการค้าของเศรษฐกิจโลกได้ และจะเห็นได้ว่าจีนมีประสบการณ์ในการจัดการกับผลประโยชน์และจะเห็นได้ถึง สัญญาณความสำเร็จของจีนในตลาดแลกเปลี่ยนและทิศทางตลาดหุ้น เมื่อประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ อยู่ภายใต้แรงกดดัน

ที่มา: Reuters

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com