• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 1 กันยายน 2563

    1 กันยายน 2563 | Gold News
 

ทองขึ้นแต่เดือนส.ค. ถือเป็นการปรับลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน

· ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำต่ำสุดรอบ 2 ปี ท่ามกลางการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของเฟด แม้ว่าเดือนส.ค.นี้จะถือเป็นเดือนแรกที่ราคาทองคำปรับตัวลงในรอบ 5 เดือน


· ราคาทองคำตลาดโลกปิด +0.2% ที่ 1,967.68 เหรียญ หลังทำสูงสุดนับตั้งแต่ 19 ส.ค. บริเวณ 1,976.14 เหรียญ


· สำหรับเดือนส.ค. นี้ ราคาทองคำปรับตัวลงไปประมาณ 0.3% หลังจากที่ในวันที่ 7 ส.ค. ทำ All-Time High ที่ 2,072.49 เหรียญ


· สัญญาทองคำส่งมอบเดือนธ.ค. ปิด +0.2% ที่ 1,978.60 เหรียญ


· กองทุนทองคำ SPDR ถือครองทองคำเท่าเดิมที่ 1,251.5 ตัน โดยภาพรวมเดือนส.ค. มีการเข้าซื้อสุทธิ 9.55 ตัน ถือเป็นการเข้าซื้อต่อเนื่อง 8 เดือนติด ขณะที่ภาพรวมตั้งแต่ต้นปีจนถึง 31 ส.ค. มีการเข้าซื้อสุทธิ 358.25 ตัน ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี ทำลายสถิติเดิมที่เคยทำไว้ในปี 2009 ที่มีการซื้อสุทธิที่ระดับ 353.39 ตัน


· ผู้ก่อตั้งสถาบัน Circle Squared Alternative Investment กล่าวว่า การอ่อนค่าของดอลลาร์เป็นสิ่งที่ช่วยให้ทองคำปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย โดยจะเห็นได้จากการที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงทำระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปี ท่ามกลางเฟดที่มีการปรับเป้าหมายเงินเฟ้อเฉลี่ยที่จะส่งผลให้ดอกเบี้ยจะยังอยู่ในระดับต่ำแม้เราจะเห็นเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม แต่ความกังวลจากการฟื้นตัวของตลาดหุ้นก็ดูจะทำให้เกิดแรงเทขายทำกำไรในทองคำบางส่วน


· นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Kitco Metals กล่าวว่า ความต้องการสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดโลกก็ยังไม่ได้สูงนัก ขณะที่บางจังหวะความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยแข็งแกร่งกว่าจึงยังหนุนภาวะขาขึ้นได้อยู่


· ปีนี้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาได้แล้วประมาณ 29% จากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ควบคู่กับการเลือกตั้งประธานิบดีสหรัฐฯที่กำลังจะมาถึง


· ราคาซิลเวอร์ปิด +2.7% ที่ 28.23 เหรียญ และยังปิดปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ในเดือนส.ค. ด้านราคาแพลทินัมปิด -0.3% ที่ 928.36 เหรียญ และราคาพลาเดียมปิด +1.7% ที่ 2,243.17 เหรียญ ซึ่งราคาสินค้าทั้ง 2 ชนิดปิดแดนบวกได้เป็นเดือนที่ 2 ต่อเนื่อง


· สถานการณ์ไวรัสโคโรนา:

image.png

ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกล่าสุดอยู่ที่ 25.62 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 854,235 ราย ในส่วนของสหรัฐฯยังครองอันดับ 1 โดยผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 6.21 ล้านราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตสะสมปรับขึ้นมาที่ 187,721 ราย


ยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นอีกครั้งทั่วเกือบทั้งประเทศสหรัฐฯ

CNBC ระบุว่า จำนวนยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศสหรัฐฯปรับตัวขึ้นเกือบทั่วทั้งประเทศอีกครั้ง แม้ว่าจะมีอัตราการระบาดที่ชะลอตัวลงจากอดีตที่เคยเป็นจุดศูนย์กลางอย่างรัฐแอริโซนา, ฟลอริดา, แคลิฟอร์เนีย และเท็กซัส


ทั้งนี้ อัตรายอดติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5% สำหรับค่าเฉลี่ยในช่วง 7 วัน ใน 26 รัฐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนที่มีเพียง 12 รัฐ โดยรัฐแอริโซนา, ฟลอริดา, แคลิฟอร์เนีย และเท็กซัส พบยอดติดเชื้อลดน้อยลงอย่างมาก ขณะที่รัฐอื่นๆยังคงมียอดติดเชื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 ราย หรือคิดเป็นประมาณ 4 ส่วนของยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯทั้งหมด

อย่างไรก็ดี ตลอดช่วง 7 วันที่ผ่านมาพบว่ายอดติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯจากการทดสอบหาเชื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 5.7% ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่อยู่ที่ 6.1% ซึ่งถือว่ามีสัญญาณเชิงบวกต่อการทดสอบหาเชื้อในสหรัฐฯเวลานี้


ยอดติดเชื้อใหม่ของประเทศบราซิลทะลุ 3.9 ล้านราย ขณะที่ยอดเสียชีวิตสูงกว่า 121,381 ราย


· WHO เตือนการอนุญาตวัคซีนก่อนกำหนด

หัวหน้านักวิทยาศาสตร์จาก WHO กล่าวเตือนถึงการจะทำการอนุมัติวัคซีนไวรัสโคโรนาที่ยังเร็วเกินไป ประกอบกับข้อมูลที่มีเพียงเล็กน้อย อาจสร้างปัญหาที่หลากหลายต่างๆตามมาได้


· นักวิทยาศาสตร์ คาด วัคซีน COVID-19 ที่อยู่ในกระบวนการทดสอบร่วมกันของรัสเซียและจีนอาจยังมีข้อบกพร่อง เนื่องจากวัคซีนมีพื้นฐานมาจากไวรัสไข้หวัดทั่วไปที่หลายคนเคยเป็นซึ่งอาจเป็นการจำกัดประสิทธิภาพของ

รายงานจาก The wall street Journal วัคซีนชื่อ CanSino Biologics’(6185.HK) ถูกพัฒนาเพื่อกองทัพในจีน โดยดัดแปลงมาจากไวรัสอะดีโน ประเภทที่ 5

อย่างไรก็ดี บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อขออนุมัติฉุกเฉินจากหลายประเทศก่อนที่จะทำการทดลองขนาดใหญ่ โดยที่วัคซีนนี้ถูกพัฒนาโดย Moscow’s Gamaleya Institute ซึ่งได้รับการอนุมัติในรัสเซียเมื่อต้นเดือนนี้ โดยมีการทดลองที่จำกัด


· อียูเสนอวงเงิน 400 ล้านยูโร ให้แก่ WHO เพื่อเริ่มพัฒนาวัคซีน Covid-19

คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) จะทำการบริจาคเงินเข้าร่วมการพัฒนาวัคซีน Covid-19 แก่ WHO เป็นมูลค่า 400 ล้านยูโร หรือ 478 ล้านเหรียญ ขณะที่เยอรมนีจะเข้าร่วมการข้อตกลงดังกล่าวระหว่างที่ WHO และอียูมีการเจรจาร่วมกัน


· ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ แนะร่วมมือกันลงทุนในกองทุน Covid-19

นางคริสตาลินา จอร์เจียฟวา ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า รัฐบาลต่างๆจำเป็นต้องร่วมลงทุนในกองทุนการช่วยเหลือทางการเงินมากขึ้นในการต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโคโรนาในระยะยาว


· รองประธานเฟด เผย เฟดจะกลับมาเจรจาถึงแนวทางการดำเนินนโยบายใหม่

นายริชาร์ด แคลริดา รองประธานเฟด กล่าวว่า สำหรับเรื่องกรอบการดำเนินนโยบายใหม่นั้น สมาชิกเฟดจะมีการหารือกันถึงความเป็นไปได้สำหรับแนวทางใหม่ๆในการหาแนวทางต่อสู้ทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยคาดว่าจะมีการพูดคุยถึงแนวทางที่สอดคล้องกับทิศทางนโยบายดอกเบี้ย และการตัดสินใจโดยตรงต่อการจ้างงานเพื่อให้เกิดการจ้างงานที่เต็มที่ รวมทั้ง ความเป็นไปได้ในเรื่องการขยายการเข้าซื้อสินทรัพย์รายเดือนเพื่อนหนุนเศรษฐกิจ


· มนูชินกล่าวกับ Fox News ระบุว่า แมคคอนเนลล์ จับตาร่างมาตรการ Covid-19

นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวว่า ทีมบริหารของนายทรัมป์และวุฒิสภาพรรครีพับลิกันมีการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอถึงความเป็นไปได้ของร่างมาตรการช่วยเหลือ Covid-19 ซี่งนายมิทช์ แมคคอนเนลล์ ผู้นำวุฒิสภาพรรครีพับลิกันคาดหวังว่าจะสามารถเปิดเผยร่างใหม่ได้ภายในสัปดาห์หน้า


· ประธานาธิบดีสหรัฐฯภาษีค่าจ้างวันหยุดจะมีผลในวันที่ 1 ก.ย. นี้ และจะสิ้นสุดนโยบายในช่วงสิ้นปี

โดยเมื่อวันที่ 8 ส.ค. นายทรัมป์มีการลงนามในหนังสือข้อตกลงความเข้าใจของการจ่ายภาษีวันหยุดสำหรับชาวอเมริกันที่มีรายได้ 100,000 เหรียญ/ปี เพื่อช่วยเหลือผู้ให้เช่าและเจ้าของอพาร์ตเมนต์ และหนังสือข้อตกลงความเข้าใจสำหรับการเลื่อนจ่ายเงินกู้ทางการศึกษา

และนโยบายดังกล่าวดูจะทำให้คนงานมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับบ้านลดลงในช่วงต้นปี 2021 ประกอบกับการจ่ายภาษีที่ลดลงครึ่งหนึ่งจาก 12.4% ของกองทุนความมั่นคงทางสังคม และอีก 2.9% จากการจ่ายภาษีสุขภาพ


· สหรัฐฯจำกัดการนำเข้าเหล็กจากเม็กซิโกและบราซิล

ทีมบริหารของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการเพิ่มมาตรการจำกัดการนำเข้าเหล็กจากประเทศบราซิลและเม็กซิโกวานนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตเหล็กของสหรัฐฯและแรงงาน และเพื่อเป็นหนึ่งในการหาเสียงในรัฐเพนซิลเวเนีย, โอไฮโอ และมิชิแกน

โดยสำนักงานกำกับดูแลด้านการค้าของสหรัฐฯ (USTR) เผยถึงการปรับลดโควตาของบราซิลปีนี้ ซึ่งสหรัฐฯจะมีการนำเข้าเหล็กจากบราซิลที่ 60,000 เมตริกตัน จากเดิมที่ 350,000 เมตริกตัน โดยอ้างถึงเงื่อนไขการซื้อของตลาดที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เข้ากระทบกลุ่มผู้ผลิตเหล็ก ด้าน

อย่างไรก็ดี USTR ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆถึงการทำงานของระบบการตรวจสอบ กล่าวแต่เพียงจะจัดการรักษาข้อยกเว้นเหล็กของเม็กซิโกตามมาตรา 232


· ระดับหนี้สาธารณะของบราซิลพุ่งทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 86.5% ของจีดีพี

บราซิลยังคงเผชิญปัญหาทางการเงินอย่างหนักในเดือนก.ค. ท่ามกลางวิกฤต Covid-19 ที่ส่งผลให้ประเทศมีระดับหนี้สาธารณะและยอดดุลการค้าที่เป็นส่วนหนึ่งทางการเติบโตทางเศรษฐกิจต่างทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ โดยระดับหนี้สาธารณะของบราซิลพุ่งแตะ 86.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของจีดีพีในช่วงเดือนก.ค. ที่ผ่านมา ขณะที่ยอดขาดดุลในช่วง 1 ปีถึงเดือนก.ค.ที่ผ่านมานั้นปรับขึ้นสูงถึง 5.37 แสนล้านเรียล จากระดับ 4.59 แสนล้านเรียลในเดือนก่อนหน้า คิดเป็น 7.5%ของจีดีพี จากเดิมที่ 6.4% ของจีดีพีในเดือนมิ.ย. ขณะที่ช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโคโรนา บราซิลมีระดับยอดขาดดุลอยู่ที่ 0.8% ของจีดีพี

หากพิจารณาในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ จะพบว่ายอดขาดดุลเบื้องต้นปรับขึ้นมามากถึง 11.9% ของจีดีพี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่อยู่เพียง 0.2% ของจีดีพี


· ผลสำรวจรอยเตอร์ส ชี้ รัสเซียมีแนวโน้มจะทำการปรับลดดอกเบี้ยในปี 2020 เพื่อหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2021

ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์ส ชี้ว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการหดตัวและออกมาผสมผสานกัน ประกอบกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อดูจะส่งผลให้รัสเซียตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ เพื่อปูทางให้ค่าเงินรูเบิลนั้นแข็งค่าขึ้น และเศรษฐกิจรัสเซียสามารถเติบโตได้ในปี 2021

โดยผลสำรวจนักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ 21 ราย เชื่อว่า ธนาคารกลางรัสเซียจะหั่นดอกเบี้ยลงสู่ระดับ 4% เร็วที่สุดในการประชุมเดือนก.ย.นี้ แม้ว่าบางส่วนจะมองว่าธนาคารกลางรัสเซียอาจเลือกคงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25%


· การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินเดียอาจต้องใช้เวลา หลังเศรษฐกิจไตรมาส 2 หดตัว -24%

เศรษฐกิจอินเดียหดตัวลงอย่างหนักเกินคาดในไตรมาสที่ 2 โดยจีดีพีออกมาที่ -23.9% จากที่คาดการณ์ว่าจะออกมาที่ -18.3% ท่ามกลางการใช้จ่ายในกลุ่มผู้บริโภค, การลงทุนในภาคเอกชน และการส่งออกที่ประสบปัญหาการ Lockdown ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมี.ค. ในการต่อสู้กับวิกฤตไวรัสโคโรนา และทำให้ภาพรวมทิศทางการเติบโตของจีดีพีอินเดียถือเป็นปีแรกที่หดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่งปี 1980

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากกระทรวงการคลังอินเดีย กล่าวว่า เศรษฐกิจอินเดียมีการฟื้นตัวในรูปแบบ V-Shaped ที่อาจมีการค่อยๆฟื้นตัวขึ้นในไตรมาสถัดไป อันเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการขนส่งทางรถไฟ, การอุปโภคบริโภคด้านพลังงาน และการจัดเก็บภาษี


· ธนาคารกลางอินเดียประกาศมาตรการใหม่เพื่อรักษาเสถียรภาพในตลาด

ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ประกาศมาตรการใหม่ในการรักษาเสถียรภาพของตลาดในระบบการเงินในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา ประกอบด้วยการจัดการตลาดพันธบัตรฉบับพิเศษ “Operation Twist” และการเพิ่มค่า Ratio สำหรับความมั่นคงในภาคธนาคารต่างๆเพื่อให้สามารถอยู่ได้จนกว่าจะครบกำหนดตามอัตราส่วนของสภาพคล่องตามกฎหมายหรือการบังคับการถือครองพันธบัตร ที่ทั้งหมดนี้น่าจะช่วยจำกัดการขาดทุนและความผันผวนในตลาดได้


· กองทัพอินเดียพยายามขัดขวางจีนที่ต้องการยึดพื้นที่ที่มีข้อพิพาทกันอยู่

กองกำลังของอินเดียมีการขัดขวางกองกำลังจีนที่พยายามจะยึดครองเนินเขาบนพรมแดนที่ขัดแย้งกันของเทือกเขาหิมาลัยทางฝั่งตะวันตก หลังการปะทะกันครั้งล่าสุดระหว่างสองประเทศ


· ยอดค้าปลีกญี่ปุ่นปรับตัวลง -2.8% เมื่อเทียบรายปี

ข้อมูลจากรัฐบาลญี่ปุ่น สะท้อนถึงการที่ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นร่วงลง -2.8% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปรับตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ว่าจะออกมาที่ -1.7%


· รองรัฐมนตรีกระทรวงการคลังกล่าวว่าเกาหลีใต้พร้อมที่จะสนับสนุนมาตรการใหม่อีกครั้งหากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาแย่ลง

รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเกาหลีใต้กล่าวว่า เกาหลีใต้พร้อมที่จะเพิ่มการสนับสนุนด้านนโยบายเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจที่ถูกทำลายโดยไวรัสโคโรนา หากอัตราการติดเชื้อแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ

นายคิม ยงบีม กล่าวว่า การชะลอตัว (บางส่วน) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในเศรษฐกิจ เนื่องจากมาตรการป้องกันที่เข้มงวดขึ้น

โดยนายคิม ยังกล่าวอีกว่าทางการพร้อมที่จะดำเนินการเพื่อสร้างความเสถียรภาพให้กับตลาดการเงินหากจำเป็

เนื่องจากปัจจัยหลายประการที่อยู่นอกการระบาดของ COVID-19 รวมถึงการเปลี่ยนแปลงผู้นำในญี่ปุ่นและความไม่แน่นอนในสหรัฐฯ ซึ่งอาจเพิ่มความผันผวนของตลาด


· นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 30.90 - 31.15 บาท/ดอลลาร์ โดยมองว่า การปรับกรอบนโยบายของเฟดสนับสนุนการคาดการณ์ของตลาดที่ว่าเฟดจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับใกล้ 0% ต่อไปอีกนานหลายปี อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังตั้งคำถามต่อประเด็นที่ว่าเฟดจะตรึงดอกเบี้ยเป็น เวลานานเพียงใด ขณะที่เฟดไม่ได้ระบุว่าจะปล่อยให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับใด ทั้งนี้ คาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในการ ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟดวันที่ 15-16 ก.ย.นี้

นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายรายการของสหรัฐฯ เช่น ดัชนีภาคบริการ และการจ้างงานนอกภาคเกษตร รวมถึงการชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่ภายในพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) จะเป็นปัจจัยชี้นำตลาดการเงินในสัปดาห์นี้เช่นกัน


· อ้างอิงจากสำนักข่าว Thai PBS

- กสิกรฯ ชี้เศรษฐกิจไทยพื้นตัวแบบ U-Shaped จีดีพีปีนี้หดตัว 10%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยแตะระดับต่ำสุดเมื่อไตรมาส 2 ของปีนี้ คาดว่าปีนี้จีดีพี -10% พร้อมมองว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสฟื้นตัวแบบ U-Shaped ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า โรงแรมและภัตตาคาร ยังน่าห่วง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่ายังเผชิญความไม่แน่นอนสูง จากทั้งสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 การแข็งค่าของเงินบาท รวมถึงประเด็นทางการเมือง ทำให้ต้องปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 63 มาที่ -10% จากเดิมที่ -6%


· อ้างอิงจากสำนักข่าว The Standard

- ธปท. ย้ำ 4 ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทย ก.ค. 63 ลงทุนเอกชน ท่องเที่ยว ส่งออก แรงงานหดตัว

ดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยเดือนก.ค.63 ภาพรวมหดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังมีความเปราะบางจากด้านการลงทุน และต้องจับตามากยิ่งข้ึน

ทั้งนี้การลงทุนภาคเอกชนเดือนก.ค.ที่ผ่านมา หดตัว 12.8% นับว่ายังหดตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวราว 10.2% และทำให้ครึ่งปีแรก 63 การลงทุนภาคเอกชนหดตัว 12.9% ซึ่งเป็นการหดตัวจากหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมถึงกำลังการผลิตส่วนเกินที่เหลืออยู่มาก ขณะที่ความไม่แน่นอนเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน

อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะการลงทุนของไทยอยู่ในระดับต่ำมานาน หากในระยะยาวการลงทุนภาคเอกชนกลับมาไม่ได้ ยิ่งจะทำให้ไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางได้ยาก ขณะเดียวกันมองว่าการลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้น ต้องมาจากการนำของภาครัฐ

ขณะที่ภาคท่องเที่ยวไทยปี 63 นี้ ทาง ธปท. จะมีการปรับประมาณการลดลงจากตัวเลขปัจจุบันที่คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 ล้านคน แต่คาดว่าภายในเดือนก.ย. 63 นี้จะมีการปรับประมาณการลดลงอีกโดยหน่วยงานอื่นๆ เช่น สภาพัฒน์ กระทรวงการคลัง ฯลฯ คาดการณ์ว่าปีนี้ไทยจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.7 ล้านคน ทั้งนี้จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง 1.3 ล้านคนจะมีผลต่อ GDP ไทยราว 0.5%

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องจับตามองคือ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจได้รับผลกระทบไปถึงปี 64 จึงต้องจับตามองว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาไทยหรือไม่ และภาครัฐจะมีนโยบายที่กระตุ้นการท่องเที่ยวโดยสกัดกั้นการแพร่ระบาดได้อย่างไร โดยในปี 64 ทาง ธปท. คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 16 ล้านคน (ขณะที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามองว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ราว 12 ล้านคน)


อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่: www.mtsgold.co.th

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com