• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 3 กรกฎาคม 2563

    3 กรกฎาคม 2563 | Economic News

· ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าได้จากผู้ติดเชื้อเพิ่ม หนุนสินทรัพย์ปลอดภัย

ค่าเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นในฐานะ Safe-Haven อีกครั้ง โดยกลุ่มนักลงทุนให้ความสนใจกับเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯเวลานี้ และดูจะจุดประกายความกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯต่อแม้ว่าข้อมูลจ้างงานจะแข็งแกร่งขึ้นก็ตาม

อย่างไรก็ดี ในช่วงต้นตลาดดอลลาร์อ่อนค่าลง หลังทราบข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯที่ยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และข้อมูลล่าสุดในเดือนมิ.ย.นั้นดูจะขยายตัวได้เร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่แล้วมุมมองเชิงบวกต่อข้อมูลเศรษฐกิจก็ลดน้อยลงไปจากรายงานยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯที่ยังปรับตัวสูงขึ้น

รัฐฟลอริดาพบผู้ติดเชื้อไวรัสสูงกว่า 10,000 ราย ซึ่งเป็นระดับการพุ่งขึ้นรายวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่ที่เกิดการเริ่มระบาดในพื้นที่ ขณะที่ภาพรวมการติดเชื้อของสหรัฐฯต่อวันปรับขึ้นเกือบ 50,000 ราย ถือเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่มากที่สุดครั้งที่ 4 ในช่วง 7 วันนี้ และหลายๆรัฐที่อนุญาตให้กลับมาเปิดทำการภาคธุรกิจได้ก็ต้องกลับมาใช้มาตรการ Shutdown เพื่อจำกัดการระบาดอีกครั้ง

จำนวนการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯล่าสุดอยู่ที่ 4.8 ล้านตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ถือเป็นระดับการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ที่ภาครัฐบาลเริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลในปี 1939

ด้านอัตราว่างงานปรับลงไปที่ 11.1% จากเดิมที่ 13.3% ในเดือนพ.ค. และรายงานเหล่านี้ได้กดดันดอลลาร์ที่ถูกถือครองในภาวะ Safe-Haven เวลานี้

ดัชนีดอลลาร์ปิด +0.2% ที่ 97.31 จุด ด้านยูโรอ่อนค่าลงเล็กน้อย 0.2% ที่ 1.1226 ดอลลาร์/ยูโร

ทั้งนี้ ค่าเงินดอลลาร์ปีนี้ยังคงอยู่ในทิศทางอ่อนค่าประมาณ 2.5% และมีการทำอ่อนค่ามากที่สุดไว้ในช่วงต้นเดือนมี.ค.ที่ระดับ 94.6 จุด ด้านผลสำรวจจากรอยเตอร์สเองก็ยังบ่งชี้ว่าดอลลาร์มีทิศทางอ่อนค่าต่อไปอีก 12 เดือนข้างหน้าจากอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอ

ค่าเงินเยนอ่อนค่าเล็กน้อย 0.1% ที่ 107.58 เยน/ดอลลาร์


· ยอดงบดุลเฟดหดตัวต่อเนื่อง และยังไม่มีการปล่อยเงินกู้ภายใต้โครงการ Main Street Lending Program

ข้อมูลจากเฟดล่าสุด เผยว่า ยอดงบดุลเฟดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 โดยลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพ.ค. และเฟดเองก็ยังไม่มีการปล่อยเงินกู้ภายใต้โครงการ Main Street Lending Program เป็นสัปดาห์ที่ 2 จึงสะท้อนว่าอาจมีการขยายสินเชื่อที่ง่ายขึ้นให้แก่ภาคธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยยังไม่มีการชี้แจงต่อกรณีดังกล่าว ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวลงหนักและมีโอกาสก้าวสู่ภาวะถดถอย

ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ก.ค. พบว่ายอดงบดุลของเฟด (Balance Sheet) ปรับตัวลงประมาณ 7.4 หมื่นล้านเหรียญ สู่ระดับ 7.06 ล้านล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับข้อมูลสัปดห์ก่อนหน้าที่ระดับ 7.13 ล้านล้านเหรียญ

นับเป็นสัปดาห์ที่ 5 ที่ยอดงบดุลของเฟดมีการปรับตัวลง และมีสัญญาณการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ร่วมด้วย นอกจากนี้ การซื้อคืนหุ้นก็มีการปรับลงแตะ 6.1 หมื่นล้านเหรียญ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ที่เฟดเริ่มกลับมาแทรกแซงตลาดเงินกู้ระยะสั้นเมื่อเดือนก.ย. ปีที่แล้ว


· ว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวขึ้นมากกว่าที่คาด

ข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นเกินคาดในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิ.ย. ท่ามกลางจำนวนยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นส่งผลกดดันต่อทิศทางเศรษฐกิจ โดยมีผู้ขอรับสวัสดิการเพิ่มขึ้นแตะ 1.427 ล้านราย และนับเป็นสัปดาห์ที่ 15 ที่มีคนว่างงานเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 1 ล้านราย

· จ้างงานเพิ่ม แต่ยอดติดเชื้อที่เพิ่มดูจะกดดันการฟื้นตัว


การจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯล่าสุดอยู่ที่ 4.8 ล้านตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ถือเป็นระดับการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ที่ภาครัฐบาลเริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลในปี 1939

โดยข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมาจากการจ้างงานในกลุ่มร้านอาหาร และบาร์ที่กลับมาเปิดทำการ แต่ชาวอเมริกากว่า 31.5 ล้านรายก็ยังคงมีลิสต์รายชื่อว่างงานอยู่ และนักวิเคราะห์ก็เชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อล่าสุดจะส่งผลให้ตลาดแรงงานยังคงได้รับผลกระทบในเดือนก.ค.

ทั้งนี้ ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในรัฐแอริโซนา และรัฐที่มีประชากรหนาแน่นอย่าง รัฐแคลิฟอร์เนีย, ฟลอริดา และเท็กซัส ที่ดูจะกลับมาชะลอแผนการกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง

นอกจากนี้ ล่าสุดยังมีการพบเจ้าหน้าที่ทางการทหารของสหรัฐฯมียอดติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังกระทรวงกลาโหมคลายมาตรการจำกัดการเดินทาง


· นักเศรษฐศาสตร์จาก Oxford Economics เตือนถึงภาวะชนชั้นกลางญี่ปุ่นลดจำนวนลง ขณะที่คนยากจนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้

นักเศรษฐศาสตร์จาก Oxford Economics กล่าวว่า จำนวนคนยากจนในญี่ปุ่นมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ชนชั้นกลางในประเทศค่อยๆลดจำนวนลง

· ราคาน้ำมันดิบปิดปรับขึ้น 2% ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่ภาพรวมรายสัปดาห์น้ำมันขึ้นต่อเป็นสัปดาห์ที่ 2 ในรอบ 3 สัปดาห์ โดยข้อมูลอัตราว่างงานที่ปรับตัวลง และจำนวนสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ปรับตัวลงเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้วประมาณ 7.2 ล้านบาร์เรล ดูจะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนราคาน้ำมัน แต่จำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศที่ปรับตัวขึ้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์พลังงานได้ และนี่ยังเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันอยู่

น้ำมันดิบ Brent ปิดปรับขึ้น 1.11 เหรียญ หรือ +2.64% ที่ระดับ 43.14 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปิด +83 เซนต์ หรือ +2.08% ที่ระดับ 40.65 เหรียญ/บาร์เรล


· Goldman Sachs คาด อุปสงค์น้ำมันจะกลับมาฟื้นตัวได้ก่อนการระบาดของไวรัสโคโรนาในปี 2022 แต่ยังไม่มีแนวโน้มจะทำจุดพีคในรอบ 10 ปี

นักวิเคราะห์จาก Goldman Sach คาดอุปสงค์น้ำมันโลกจะกลับมาฟื้นตัวได้เหมือนช่วงก่อนเกิดการระบาดของไวรัสโคโรนาในปี 2022 จากความต้องการในภาคขนส่ง และการใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น

โดยคาดอุปสงค์น้ำมันปีนี้จะปรับลงไปประมาณ 8% และจะรีบาวน์กลับได้ 6% ในปี 2021 และน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างเต็มรูปแบบก่อนช่วงเกิดการระบาดภายในปี 2022

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com