• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2563

    5 มิถุนายน 2563 | Economic News

· ยูโรแข็งค่าได้รับแรงหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของอีซีบี

ค่าเงินยูโรปรับแข็งค่าขึ้นทำระดับสูงสุดรอบ 3 เดือน หลังจากที่อีซีบีมีการขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มกว่าที่ตลาดคาดหวังไว้ ท่ามกลางคาดการณ์ที่จะเห็นเศรษฐกิจถดถอยมากที่สุดนับตั้งแต่ที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

การเคลื่อนไหวของอีซีบีได้ช่วยสนับสนุนค่าเงิน และออสเตรเลียดอลลาร์ให้ขึ้นไปทำระดับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 5 เดือน ท่ามกลางเงินปอนด์ที่ยืนเหนือสูงสุดในรอบ 2 เดือน โดยค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.25% ที่ 1.1367 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับแข็งค่ามากที่สุดรอบเกือบ 3 เดือน และสัปดาห์นี้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้แล้วกว่า 2.4% ถือเป็นการแข็งค่าต่อเนื่องสัปดาห์ที่ 3

ความเชื่อมั่นของกลุ่มนักลงทุนดูจะสดใสขึ้นหลังจากที่ในเดือนที่แล้วเยอรมนีให้การสนับสนุนสหภาพยุโรปในการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟู ให้แก่เศรษฐกิจในภูมิภาค

ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 บริเวณ 96.510 จุด ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบเกือบ 3 เดือน ขณะที่ค่าเงินเยนทรงตัวที่ 109.33 เยน/ดอลลาร์ ถือเป็นระดับอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 2 เดือน

ความผันผวนในค่าเงินสกุลสินทรัพย์ปลอดภัยสะท้อนถึงมุมมองเชิงบวกของตลาดการเงิน ท่ามกลางการผ่อนคลายมาตรการ SOcial Distancing ในการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรํฐฯออกมาต่ำกว่า 2 ล้านรายเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กลางเดือนมี.ค. แม้ว่าจะยังเป็นการขอรับสวัสดิการว่างงานที่มากขึ้นตั้งแต่ช่วงยุควิกฤตทางการเงิน

สำหรับคาดการณ์การประกาศตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯที่ออกมาที่ -8 ล้านตำแหน่งในเดือนนี้ ก็ดูจะดีขึ้นหลังจากที่ไปทำสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ -20.54 ล้านรายในเดือนเม.ย.

ในส่วนของอัตราว่างงานถูกคาดว่าจะพุ่งไปแตะ 19.8% ซึ่งมากที่สุดหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และน่าจะเพิ่มขึ้นจากเม.ย. ที่มีอัตราว่างงานจาก 14.7%

· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นก่อนหน้าการประกาศข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯคืนนี้ โดยปรับขึ้นมาที่ 0.8418% ด้านผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับขึ้นแตะ 1.6480%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเริ่มปรับตัวขึ้นหลังจากที่อีซีบีมีการประกาศวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรที่มากขึ้นกว่าที่คาดการณ์ แต่ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของรัฐบาลสหรัฐฯคืนนี้ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญ รวมไปถึงเรื่องอัตราว่างงานด้วยในช่วงเวลาประมาณ 19.30น.


· นักเศรษฐศาสตร์จาก Morgan Stanley กล่าวว่า สหรัฐฯไม่มีแนวโน้มจะต้องการทำลายข้อตกลง “เฟสแรก” ที่ได้ลงนามกับจีนไว้ แม้ว่าความตึงเครียดระหว่างสองประเทศจะทวีความรุนแรงแรงมากขึ้น

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวไว้ในดือนที่แล้วว่าเขาค่อนข้างจะมีความคิดถึงเรื่องการฉีกข้อตกลงเฟสแรกทิ้งดีหรือไม่ และถ้อยแถลงดังกล่าวของเขาก็ดูจะยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนและนักวิเคราะห์ที่คาดอาจเห็นการกลับมาขึ้นภาษีการค้าระหว่างกันและจะถือเป็นปัจจัยบั่นทอนหรือทำลายเศรษฐกิจโลก

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Mogan Stanley กล่าวว่า ในมุมมองของเขา เศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ ตราบเท่าที่ข้อตกลงการค้าเฟสแรกยังคงดำเนินไป ก็ดูจะไม่เห็นถึงความตึงเครียดในเรื่องภาษีครั้งใหม่ ดังนั้น สิ่งที่ทีมทรัมป์ให้ความสนใจน่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจและน่าจะไม่ต้องการทำลายข้อตกลงการค้าเฟสแรก และความเสี่ยงของการเกิด Trade War ครั้งใหม่ก็น่าจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกมากขึ้นไปอีก ซึ่งทั้งหมดนี้จึงไม่น่าจะมีเกิดขึ้น

· อัตราว่างงานสหรัฐฯส่อแววแตะ 20% ท่ามกลางการระบาดของไวรัสบั่นทอนตลาดแรงงานเดือนพ.ค.

อัตราว่างงานสหรัฐฯมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นใกล้ 20% ในเดือนพ.ค. ซึ่งจะถือเป็นอัตราการว่างงานระดับสูงครั้งใหม่นับตั้งแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่ามกลางประชาชนนับล้านรายที่สูญเสียตำแหน่งงานจากวิกฤตไวรัสโคโรนา

กระทรวงแรงงานสหรัฐฯให้ความสำคัญใกล้ชิดกับรายงานการจ้างงานรายเดือนในคืนนี้ที่อาจออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ และถ้าเป็นเช่นนั้นอาจต้องใช้เวลาหลายปีในการกลับมากู้คืนเศรษฐกิจที่อ่อนแอ แต่การคลายมาตรการ Lockdown ในเดือนนี้ก็ดูเหมือนจะทำให้ธุรกิจกลับมาเปิดทำการได้มากขึ้นหลังจากที่ปิดตัวไปตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค.

ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ภาคการผลิต และอุตสาหกรรมการบริการดูจะมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังจากที่ลงไปทำระดับต่ำสุดท่ามกลางความหวังที่ว่าวิกฤตในครั้งนี้จะจบสิ้นลง

· โพลล์สำรวจจาก Reuters ระบุว่า ยอดการส่งออกของจีนประจำเดือนพ.ค. มีแนวโน้มร่วงลง หลังจากที่ดีดตัวขึ้นอย่างมากในเดือนที่แล้ว อย่างไรก็ดี ยอดการนำมีสัญญาณที่ดีขึ้น เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตจีนกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้ง

โดยยอดการส่งออกคาดว่าจะหดตัว 7% จากปีก่อนหน้า เมื่อเทียบกับการที่ขยายตัวได้ 3.5% ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ยอดการนำเข้ามีแนวโน้มลดลง 9.7% ในปีนี้ ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร่วงลงไปที่ระดับ 14.2% จากเดือนก่อนหน้า ท่ามกลางการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบทั่วโลก หลังจากที่ลงไปทำจุดต่ำสุดเมื่อปีที่แล้ว รวมทั้งการกลับมาเปิดทำการอีกครั้งในกลุ่มภาคการผลิต


· บุนเดสแบงก์ ชี้ เยอรมนีอาจจำเป็นต้องใช้เวลา 2ปี เพื่อก้าวออกจากเศรษฐกิจถดถอย

รายงานจากธนาคารกลางเยอรมนี เผยว่า เศรษฐกิจเยอรมนีจะหดตัวลงในปีนี้และอาจใช้เวลากว่า 2 ปีในการกลับมาฟื้นตัว โดยการฟื้นตัวจะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไปท่ามกลางการระบาดของไวรัสโคโรนาที่คุกคามให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

เศรษฐกิจยูโรโซนเองก็ถูกคาดว่าจะหดตัวลงประมาณ -7.1% ในปีนี้ ซึ่งเป็นการประเมินหลังจากที่อีซีบีทำการเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อคืนนี้

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญจากภาคส่วนรัฐบาลและสภาเศรษฐกิจต่างก็คาดว่าจะเห็นเศรษฐกิจดิ่งลงในกรอบระหว่าง -6% ถึง -7%

เศรษฐกิจเยอรมนีโดยองค์รวมคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา และคาดว่าจะมีการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป


· ราคาน้ำม้ันดิบอ่อนตัวท่ามกลางความไม่แน่นอนของกลุ่มผู้ผลิตในเรื่องข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิต

ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงในวันนี้ ท่ามกลางตลาดที่รอจะเห็นบรรดาผู้ผลิตรายใหญ่ที่จะขยายการปรับลดกำลังการผลิตเป็นประวัติการณ์เพื่อสนับสนุนราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับลง 8 เซนต์ หรือ -0.2% ที่ 39.91 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบ WTI ปรับลง 15 เซนต์ หรือ -0.4% ที่ 37.26 เหรียญ/บาร์เรล

อย่างไรก็ดี น้ำมันดิบทั้ง 2 ชนิดยังคงปรับตัวขึ้นได้เป็นสัปดาห์ที่ 6 โดยตลาดยังมีแรงหนุนจากสัญญาณที่อาจเห็นข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่ม และอุปสงค์น้ำมันที่น่าจะเพิ่มขึ้นหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา

· รัสเซียเผย ประชุม OPEC+ จะเริ่มต้นวันเสาร์นี้

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานรัสเซีย กล่าวว่า การประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์กับสมาชิกผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในนาม OPEC+ จะเริ่มต้นในวันพรุ่งนี้เวลาประมาณ 21.00น. พรุ่งนี้ และคาดจะสิ้นสุดช่วง 23.00น. (ตามเวลาประเทศไทย)

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com