• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2563

    5 มิถุนายน 2563 | Economic News

· ยูโรพุ่งอีซีบีกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม

ค่าเงินยูโรปรับตัวขึ้นทำสูงสุดรอบ 12 สัปดาห์เมื่อเทียบดอลลาร์ หลังจากที่อีซีบีมีการประกาศเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยอีซีบีมีการขยายวงเงินโครงการ PEPP สู่ระดับ 1.35 ล้านล้านยูโร (1.52 ล้านล้านเหรียญ) จากระดับ 7.5 แสนล้านยูโร หรือเพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนล้านยูโรตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์กันไว้ พร้อมกับขยายเวลาการเข้าซื้ออกไปจนถึงมิ.ย. ปี 2021 รวมทั้งให้คำมั่นว่าจะหนุนภาคการลงทุนจนกว่าจะถึงสิ้นปี 2020

นักกลยุทธ์จาก J.P. Morgan Asset Management กล่าวว่า ไฮไลท์สำคัญของอีซีบีคือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และดูเหมือนยูโรโซนจะสามารถฟื้นตัวจากไวรัสโคโรนาได้รวดเร็วกว่าประเทศสหรัฐฯและอังกฤษ

ค่าเงินยูโรปิด +0.21% ที่ 1.1256 ดอลลาร์/ยูโร หลังจากที่ไปทำสูงสุดช่วงต้นตลาดบริเวณ 1.1273 ดอลลาร์/ยูโร ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ 12 มี.ค. และเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 8 วันทำการ ด้านดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลงมา 0.18% ที่ 97.144 จุด

ดัชนีดอลลาร์ร่วงลงในช่วงสองสัปดาห์นี้ จากความเชื่อมั่นในสินทรัพย์เสี่ยงที่เพิ่มขึ้น และตลาดหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นจากทิศทางบวกของเศรษฐกิจหลังผ่านพ้นการระบาด

ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุด พบว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 2 ล้านคนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงท่ามกลางบริษัทต่างๆที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เป็นผลการเปลี่ยนแปลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ค่าเงินเยนแข็งค่ามาที่ 108.72 เยน/ดอลลาร์ หลังจากที่ช่วงต้นตลาดอ่อนค่าไปทำระดับสูงสุดตั้งแต่ 7 เม.ย. ที่ 109.16 เยน/ดอลลาร์

· ยุโรปประสานเสียงหนุนเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินครั้งใหม่โดยอีซีบีและเยอรมนี

เมื่อคืนนี้อีซีบีจะทำการเพิ่มการเข้าซื้อพันธบัตรในโปรแกรม PEPP อีก 6 แสนล้านยูโร (6.72 ล้านเหรียญ) ส่งผลให้โครงการนี้จะมีการเข้าซื้อพันธบัตรทั้งสิ้นโดยรวม 1.35 ล้านล้านยูโร (1.5 ล้านล้านเหรียญ) จากเดิมอยู่ที่ 7.5 แสนล้านยูโร

ทั้งนี้ การเพิ่มวงเงินของอีซีบีมีขึ้นตามมาหลังจากที่รัฐบาลเยอรมนีมีการอนุมัติวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม 1.3 แสนล้านยูโร (1.46 แสนล้านเหรียญ) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจเยอรมนีที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา เพื่อชดเชยผลกระทบทางด้านภาษีและการค้าสำหรับกลุ่มรถยนต์ด้วย

นักลงทุนค่อนข้างตอบรับอย่างดีกับการเคลื่อนไหวทั้ง 2 กรณี และทำให้ค่าเงินยูโรระหว่างการซื้อขายแข็งค่าขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางรายก็กล่าวเตือนว่าควรดำเนินการด้วยความจำเป็น เนื่องจากความไม่แน่นอนก็ยังคงมีอยู่

นอกจากนี้ การดำเนินการของอีซีบีก็ดูจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลีอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงหลังจากที่ไปยืนเหนือ 1.56% กลับมาที่ 1.4% รวมทั้งอัตราผลตอบแทนในกรีซ, โปรตุเกส และสเปนด้วย

อย่างไรก็ดี ในส่วนของค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นได้ช่วงสั้นๆก่อนจะอ่อนค่ากลับลงมาจากคาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังออกมาน่าผิดหวัง โดยที่อีซีบีเผยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะหดตัวลงประมาณ -8.7% ในปีนี้ ก่อนจะรีบาวน์กลับได้ 5.2% ในปี 2021 และเติบโตได้ 3.3% ในปี 2022

ขณะที่เงินเฟ้ออีซีบีคาดจะโตได้ที่ 0.3% ในปีนี้ และ 0.8% ในปีหน้า ซึ่งก็ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 2% ที่อีซีบีกำหนด

นางคริสติน ลาการ์ด ประธานอีซีบี กล่าวว่า คาดการณ์ทางเศรษฐกิจนั้นจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการระบาดและประสิทธิภาพของการดำเนินนโยบายในยุโรป ขณะที่อัตราว่างงานยูโรโซนในเดือนเม.ย. พุ่งขึ้นแตะ 7.1% จากการ Lockdownด้านเศรษฐกิจอาจหดตัวได้มากถึง 15% จากวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา

· ที่ปรึกษารัฐบาลเยอรมนีหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้

ที่ปรึกษาประจำรัฐบาลเยอรมนี คาดว่า เศรษฐกิจเยอรมนีจะหดตัวลงไปประมาณ -6% ถึง -7% ในปีนี้ จากการระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งหากภาวะ Lockdown ยังคงอยู่นานเกินไปและการค้าทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบมากกว่าที่คาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ

· จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์สหรัฐฯอยู่ที่ 1.877 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้ว

กระทรวงแรงงานเผย จำนวนผ้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐฯออกมาที่ 1.877 ล้านราย ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจเผชิญกับการปิดชั่วคราว และยังคงสะท้อนว่าการ Shutdown ที่ดำเนินต่อไปมีผลต่อภาวะการจ้างงาน ขณะที่ยอดผู้ขอรับสวัสดิการโดยรวมของสหรัฐฯอยู่ที่ 21.5 ล้านราย

· อัตราว่างงานคาดพุ่งขึ้นแตะ 20% ท่ามกลางคนว่างงานที่ยังอยู่ระดับล้านราย

รายงานการจ้างงานเดือนพ.ค. คาดว่าจะยังมีการจ้างงานลดลงอยู่ประมาณ 8.3 ล้านราย และอัตราว่างงานคาดพุ่งแตะ 20%

บรรดานักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า การว่างงานมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นและยังไม่มีท่าทีสิ้นสุด และหลายๆพื้นที่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ Bank of America มองว่าการจ้างงานเดือนมิ.ย. จึงจะเห็นการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นได้ แต่อัตราว่างงานก็จะยังแตะ 13%

ส่วนของ DOW Jones เผยคาดการณ์อัตราว่างงานที่อาจปรับขึ้นแตะ 19.5% จากระดับ 14.7% ในเดือนเม.ย.

· ผลสำรวจชาวสหรัฐฯส่วนใหญ่คาดจะเผชิญกับ Second Wave

ประชาชนสหรัฐฯกว่า 2 ใน 3 หรือ 69% ของผู้ร่วมตอบแบบสอบถามเชื่อว่าสหรัฐฯจะเผชิญกับการระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกที่ 2 และประชาชน 57% เชื่อว่ารัฐบาลก็จะไม่สามารถทำการช่วยเหลือได้อย่างเพียงพอในการเผชิญกับผลกระทบจากการระบาดในเวลานี้

· ยอดค้าปลีกของอังกฤษดิ่งสู่ระดับ 18 % ต่ำสุดในเดือนพ.ค. จากภาวะ Lockdown

ร้านค้าปลีกของอังกฤษ เผยยอดขายลดลงเป็นครั้งที่ 5 ในเดือนพ.ค. โดยได้รับผลกระทบมาตรการ Lockdown ของรัฐบาล

นักบัญชีและที่ปรึกษาทางธุรกิจบริษัท BDO กล่าวว่าผลสำรวจรายเดือนของ High Street Sales Tracker (HSST) พบยอดค้าปลีกร้านค้าที่ไม่ใช่ร้านค้าออนไลน์ลดลง 18.3% ในเดือนพ.ค. โดยยังคงปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ปรับลงไป 29.6% ขณะที่กลุ่มยอดขายสินค้าแฟชั่นตกลง 22.6%

· ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอังกฤษ แตะระดับต่ำสุดในรอบทศวรรษใหม่ จากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอังกฤษในเดือนพ.ค. ปรับตัวลงทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ที่เกิดวิกฤตทางการเงินในรอบกว่า 10 ปี ท่ามกลางประชาชนที่กังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของอัตราว่างงาน และการปรับตัวลงของราคาบ้านที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนา โดยความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลง -36 จุดในช่วงครึ่งแรกของเดือนพ.ค. และถือเป็นต่ำสุดตั้งแต่ม.ค. ปี 2009 โดยอยู่ไม่ห่างจากต่ำสุดเดิมที่เคยทำไว้ในเดือนก.ค. ปี 2008 ที่ -39 จุด

· นายกรัฐมนตรีโปรตุเกสยอมรับเศรษฐกิจโปรตุเกสหดตัว -6.9% ปีนี้

นายกรัฐมนตรีโปรตุเกส กล่าวว่า เศรษฐกิจโปรตุเกาสจะหดตัวลงไปมากถึง 6.9% ในปีนี้ และอัตราว่างงานมีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้นไปแตะ 9.6% โดยได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

· น้ำมันดิบขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางตลาดจับตาความชัดเจนเรื่องข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิต

ราคาน้ำมันดิบเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนรอการตัดสินใจจากผู้ผลิตน้ำมันดิบหรือกลุ่ม OPEC+ ว่าจะเพิ่มการปรับลดกำลังผลิตที่สูงเป็นประวัติการณ์หรือไม่

ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวสูงขึ้น6 เซนต์ ที่ระดับ 39.85 เหรียญ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวสูงขึ้น 12 เซนต์ ที่ระดับ 37.41 เหรียญ/บาร์เรล

ทั้งนี้ ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกต้องการขยายกำลังการปรับลดการผลิต 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน (bpd) ที่ตกลงกันในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ประธานาธิบดีแอลจีเรียนั้นขอเลื่อนการทำข้อตกลงออกไปก่อน

โดยซาอุดิอาระเบีย, คูเวตและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่ได้วางแผนที่จะขยายการลดการผลิตเพิ่มเติมที่ 1.18 ล้านบาร์เรล/วันหลังจากเดือนมิ.ย. ซึ่งบ่งชี้ว่าอุปทานน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้นในเดือนหน้าโดยไม่คำนึงถึงการตัดสินใจของกลุ่มโอเปก


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com