• สรุปข่าวตลาดหุ้น (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2563

    5 มิถุนายน 2563 | SET News
 

· ดัชนี S&P500 ร่วงหลังขึ้นต่อเนื่อง 4 วันทำการ

ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงท่ามกลางกลุ่มนักลงทุนที่ทำการเทขายทำกำไรก่อนทราบการประกาศข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯคืนนี้ โดยตลาดปรับลงหลังจากที่ขึ้นไปต่อเนื่อง 4 วันทำการ ขณะที่ดัชนี Nasdaq เองก็เคลื่อนไหวแดนลบ

ดัชนีดาวโจนส์ปิด +11.93 จุด หรือ +0.05% ที่ 26,281.82 จุด ด้าน S&P500 ปิดปรับลง -0.34% ที่ 3,112.35 จุด ด้าน Nasdaq ปิด -0.69% ที่ 9,615.81 จุด

ข้อมูลเศรษฐกิจสะท้อนถึงภาวะผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐฯที่ปรับตัวลงต่ำกว่า 2 ล้านรายเป็นครั้งแรก แต่ยอดขาดดุลการค้าสหรัฐฯกลับขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ตลาดรอดูการประชุมเฟดในสัปดาห์หน้า

· ปอมเปโอ เรียกร้องให้ตลาดหุ้นทั่วโลกใช้ข้อบังคับเข้มงวดต่อบริษัทจีน

นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวเตือนว่า นักลงทุนชาวสหรัฐฯถูกหลอกลวงจากกลุ่มบริษัทในจีน และทำให้ล่าสุดดัชนี Nasdaq ตัดสินใจเพิ่มกฎที่เข้มงวดแก่นักลงทุน ดังนั้น จึงขอให้ตลาดแลกเปลี่ยนทุกๆประเทศทั่วโลกมีรูปแบบไปในทางเดียวกัน

ถ้อยแถลงของนายปอมเปโอมีขึ้นหลังจากที่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและจีนตึงเครียดอันเนื่องจากทางการค้าและการระบาดของไวรัสโคโรนา ควบคู่กับข้อขัดแย้งกรณีฮ่องกง

ขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวว่า ทีมบริหารของเขาจะเริ่มต้นกระบวนการถอดถอนสถานะพิเศษฮ่องกง ตลอดจนบทลงโทษจีน

· ยุโรปปิดแดนลบแม้อีซีบีจะขยายวงเงินซื้อพันธบัตรเยียวยาวิกฤต

ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลดลงหลังจากที่อีซีบีประกาศจะขยายการเข้าซื้อพันธบัตรมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยดัชี Stoxx600 ปิดปรับตัวลงเกือบ 0.8%

· หุ้นเอเชียเปิดผสมผสานตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดผสมผสานในเช้านี้ หลังจากที่หุ้นส่วนใหญ่ของสหรัฐฯเคลื่อนไหวผันผวนเมื่อคืนนี้ โดยดัชนีนิกเกอิเปิด -0.31% ในเช้านี้ ขณะที่ Topix เปิด -0.17% และ Kospi ของเกาหลีใต้เปิด +0.11%

ด้านดัชนี S&P/ASX200 เปิด -0.21% ขณะที่ภาพรวมดัชนี MSCI ที่ไม่รวมญี่ปุ่นเปิด -0.05%


· อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เงินบาทยังมีโอกาสแข็งค่าไปอยู่ในกรอบ 31.00-31.50 บาท/ดอลลาร์ฯ ได้ในช่วงที่เหลือของปี 2563 ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ของเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยเน้นการดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผิดไปจากปัจจัยพื้นฐาน เพื่อเลี่ยงผลกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

ทั้งนี้ จากสัญญาณล่าสุด สะท้อนว่า ธปท.น่าจะอยู่ระหว่างการติดตามธุรกรรมทางการเงินที่อาจจะมีผลต่อความผันผวนของเงินบาทใน 2 ส่วน ได้แก่ 1.ธุรกรรมของกลุ่มผู้ค้าทองคำ โดยเฉพาะในช่วงที่ปริมาณการส่งออกทองคำยังอยู่ในระดับสูง และ 2. การทยอยกลับเข้าซื้อพันธบัตรระยะต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งสะท้อนการกลับเข้ามาพักเงินระยะสั้นอีกครั้งของนักลงทุนต่างชาติ และอาจพิจารณามาตรการเพิ่มเติมเพื่อลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า


- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค.63 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.44% ถือเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี 10 เดือน นับตั้งแต่เดือนส.ค.52 โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แม้จะมีการปรับเพิ่มขึ้นหลายครั้งในเดือนนี้ แต่ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาน้ำมันในเดือนพ.ค.นี้ ลดลงไปถึง 27% รวมทั้งมีมาตรการช่วยเหลือด้านค่าครองชีพจากภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา นอกจากนั้นราคาอาหารสด เช่น ผักสดในปีก่อนมีราคาสูง ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วจึงทำให้ราคาผักสดปีนี้ลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปีทั้งนี้ ถือว่าเข้าสู่ภาวะเงินฝืดทางเทคนิค เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของไทยติดลบต่อเนื่องกัน 3 เดือนแล้ว

- ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของไทย ยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน แม้ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี 10 เดือน และเป็นการติดลบต่อเนื่องกัน 3 เดือน

- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2563เมื่อวันที่ 20 พ.ค.63 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 63 มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิมตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกซึ่งภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมีผลกระทบต่อการจ้างงานและความเปราะบางด้านเสถียรภาพระบบการเงินมากขึ้น

- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค. 63ฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือน หลังจากเริ่มผ่อนคลายธุรกิจบางส่วนได้ แต่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์จึงคาดว่าผู้บริโภคยังชะลอการใช้จ่ายไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือนนับจากนี้ไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดจะคลายตัวลง และมีการเปิดร้านค้า/กิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจอย่างกว้างขวางขณะเดียวกัน มองว่าเศรษฐกิจไทยได้ถึงจุดต่ำสุดแล้วในช่วงพ.ค. และคาดว่าในช่วงไตรมาส 2/63 เศรษฐกิจไทยมีความ เป็นไปได้ที่จะหดตัวถึง-10%แต่คงจะไม่ทรุดตัวต่อเนื่องมากไปกว่านี้แล้ว เพราะสถานการณ์ในภาพรวมเริ่มดีขึ้น ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อใน ประเทศที่ลดลงอย่างมาก การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ที่ทำให้ร้านค้า/กิจกรรมต่างๆ สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้มากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ บริโภคมองว่าความเชื่อมั่นจะเริ่มดีขึ้น เพราะมองว่าสถานการณ์ในอนาคตจะไม่แย่ไปมากกว่านี้

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com